เลขาธิการ กบข. หรือ ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แม่ทัพใหญ่ ที่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2563 ที่ถูกท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน เผย พร้อมเดินหน้า กบข. ให้เป็นองค์กรที่รับผิดชอบด้าน ESG แก่สังคม
ESG หนึ่งในความท้าทายที่ เลขาธิการ กบข. พร้อมทำเพื่อสังคม
ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข. กล่าวว่า "ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง เลขาธิการ กบข. เมื่อปี 2563 กบข. ได้เดินหน้าด้วยแผนยุทธศาสตร์ 3 ด้านที่ได้สั่งสมมาระหว่างทำงาน "การลงทุน งานสมาชิก และบริหารองค์กร" นำมาพัฒนาต่อยอดยกระดับมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์ "กองทุนบำนาญไทย มาตรฐานกองทุนบำนาญโลก" โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่โดดเด่นและเป็นตัวการขับเคลื่อนสำคัญนั้นก็คือการบริหารกองทุนโดยคำนึกถึงแนวคิด ESG"
ซึ่งเป้าหมายหลักของการเข้ามารับตำแหน่งในครั้งนี้ คือการสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่สมาชิก กบข. แล้ว ภารกิจที่ท้าทายไม่แพ้กันคือ การวางรากฐานอันแข็งแกร่งด้วยการสร้างความเชื่อมั่นจากภายในองค์กร กบข. และสร้างความไว้วางใจให้กับ ผู้ที่มีส่วนร่วมกับผลประโยชน์ของ กบข. ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ สมาชิก รวมถึงสื่อมวลชน ต่างๆ
นอกจากผลประโยชน์ด้านสมาชิก กบข. แล้ว เลขาธิการ กบข. ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ ยังขอนำแนวคิดด้าน ESG มาเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการดำเนินงานอีกด้วย โดย ESG หรือ Environment Social Governance แนวคิดของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลอย่างถูกต้องโปร่งใส โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
E = Environment: หลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงในด้านความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม
S = Social: หลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์ และมีการสื่อสาร กับ ลูกจ้าง, ผู้จัดหาวัตถุดิบ, ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) อย่างไร
G= Governance: หลักการที่ใช้วัดว่าองค์กรมีการจัดการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อให้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย
"การเดินหน้าแนวคิด ESG เลขาธิการ กบข. ได้เล็งเห็นว่า ปัจจุบันนักลงทุนทั้ง นักลงทุนบุคคล (Individual Investor) และนักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) ต่างให้ความสำคัญมากขึ้นในการลงทุนแบบยั่งยืน หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดความยั่งยืน ESG ซึ่งผลของการสำรวจพบว่า พอร์ตการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีการจัดสรรเงินลงทุนไปกับองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG และผู้แนะนำทางการเงิน หรือ Financial Advisor มีการแนะนำนักลงทุนหรือได้ลงทุนด้วยตัวเองในกองทุนแบบ ESG มากขึ้น"
เดินหน้า กบข. เป็น Leader in ESG Investing
ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข. ได้มองเห็นถึงความสำคัญของ ESG อย่างชัดเจน จึงมีความตั้งใจอย่างแนวแน่ว่าจะพัฒนากองทุนให้เป็น Leader in ESG Investing โดยเริ่มต้นจากการหาสมดุลระหว่างการเป็นกองทุนที่ต้องสร้างผลกำไรกับการเป็นกองทุนที่รับผิดชอบด้าน ESG มีการกระตุ้นภายในองค์กร ให้หันมาเข้าใจเรื่อง ESG มากขึ้น ด้วยการร่วมรณรงค์ สร้างพลังที่ยิ่งใหญ่ให้ทุกคนตระหนัก ถึงความสำคัญของแนวคิด ESG ที่ต้องเดินหน้าควบคู่กับกลยุทธิ์แสวงหาผลกำไร ต้องทำควบคู่กันไปด้วย
"จากผลการสำรวจในหลายๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการลงทุนแบบยั่งยืนกำลังมีอิทธิพลในตลาดการลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบันมีองค์กรต่าง ๆ ในการจัดตั้งดัชนีความยั่งยืน (Sustainability Index) เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดว่าบริษัทต่าง ๆ มีการดำเนินการธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG"
โดยบริษัทจำกัดที่ได้รับคะแนนผ่านการประเมินทั้ง 3 มิติจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืนที่สามารถดึงดูดความสนใจในการลงทุนในกลุ่มนักลงทุนได้ นักลงทุนสถาบันให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้นนี้จะส่งผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวต่อตลาดหลักทรัพย์
มิติที่ 1 Environment สิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่นักลงทุนไม่มองข้าม
เลขาธิการ กบข. เผยว่า สิ่งแวดล้อมคือภาวะเริ่งด่วนที่ทุกคนให้ความสนใจ และหันมาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมที่ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น ยังไม่นับรวมการตัดไม้ทำลายป่าและการเกิดไฟป่าที่ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 พุ่งทะยานสูงที่สุดในรอบ 20 ปี
"ซึ่งนานาประเทศรวมถึงประเทศไทยเองก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาด้าน 'สิ่งแวดล้อม มากขึ้น โดยมีไอเดียในการพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น กบข. ต้องเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อม หันมาประหยัดพลังงาน ลดกระบวนการที่ก่อให้เกิดด๊าซเรือนกระจก" เลขาธิการ กบข. ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
มิติที่ 2 Social บุคคลในองค์กร คือทรัพยากรสำคัญ
กบข. ได้มีการจัดการความสัมพันธ์กับบุคคลภายในองค์กรเป็นอย่างดี มีจุดยืนโดยคำนึงถึงประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม โดย กบข. ได้ให้ความสำคัญกับพนักงานในองค์กร ให้เข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ที่ควรจะได้รับได้เป็นอย่างดี มีหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีความเหมาะสม โดยรวมถึงผลการตอบแทนต่าง ๆ ที่สมควรจะได้รับ
ขณะเดียวกัน เลขาธิการ กบข. เผยว่า นอกจากลูกจ้างหรือคนในองค์กรของ กบข. แล้ว กบข. ยังได้จัดการความสัมพันธ์กับ , ผู้จัดหาวัตถุดิบ, ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) โดยมุ่งเน้นความรับผิดชอบ และความเสมอภาคในส่วนต่างๆ อีกด้วย
มิติที่ 3 Governance: ความโปร่งใสขององค์กร คือทางรอด
ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กบข. ได้มุ่งมั่นผลักดัน กบข. ในทุกมิติของหลักการ ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติที่ 3 Governance หรือหลักการที่ใช้วัดว่าองค์กรมีการจัดการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อให้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย
ซึ่ง Governance หรือ ธรรมาภิบาล คือฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในองค์กร ให้มีความโปร่งใสเพียงพอในการตรวจสอบหากมีความผิดปกติ มีการกำกับดูแลกิจการเป็นอย่างดี มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ แน่นอนว่าการจะนำเสนอภาพต่อสาธารณชนว่าองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสังคมจริงๆ อาจจะต้องเริ่มต้นจากโครงสร้างองค์กรที่จะเป็นตัวกำหนดกรอบการดำเนินงานของธุรกิจของ กบข.
สุดท้ายนี้ เลขาธิการ กบข. พร้อมเดินหน้า กบข. ให้เป็นองค์กรที่ครบในทุกมิติของ "ESG" เพราะ ESG ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยสร้างการเติบโตในระยะยาวให้กับธุรกิจเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาชน ได้ลุกขึ้นมาร่วมมือกันยกระดับให้โลกใบนี้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติอีกด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit