หากเปรียบนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเหมือน "เมล็ดพันธุ์ข้าว" ที่รอวันเก็บเกี่ยว และขยายพันธุ์ก่อนส่งออกไป "ต่อลมหายใจ" โลก ปัญหาบุคลากรใหม่สมัครงานเข้ามาได้ไม่นานก็ต้องลาออกไป ทำให้ "สายพานการผลิต" ขององค์กรต้องสะดุด เสียเวลารับสมัครใหม่อยู่เรื่อยๆ จะหมดไป เพียงสร้าง"หัวใจแห่งการสร้างสุข" ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ยังเป็น "ข้าวคอยเคียว"
รองศาสตราจารย์ ดร.จรัมพร โห้ลำยอง อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในเบื้องหลังสำคัญผู้ริเริ่มโครงการ "ยุวทูตสร้างสุข" ให้เกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา ก่อนผลักดันสู่เป้าหมายหลักของ"มหาวิทยาลัยแห่งความสุข" (Happy University) ที่ขยายความร่วมมือออกไปสู่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเช่นปัจจุบันโดยเชื่อมั่นว่าความสุขที่ยั่งยืนขององค์กร สร้างได้ตั้งแต่วัยก่อนเข้าทำงาน
โดยได้นำหลักเศรษฐศาสตร์ "องค์กรเชิงบวก"(Positive Organization) มาเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมให้เกิด "ความคิดเชิงบวก" (Positive Thinking) ในการทำงาน แล้วทำให้ยั่งยืนโดยการสร้างเป็น "ระบบนิเวศ" (Ecosystem)
ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนได้มองเห็น "คุณค่าในตัวเอง" พร้อมริเริ่มสร้างสรรค์ "ทำปัจจุบันเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดียิ่งขึ้นไป" จะทำให้คนรุ่นใหม่มองการทำงานแบบ "เช้าชาม เย็นชาม" ว่าเป็นการใช้ชีวิตที่สูญเปล่าไร้ความหมาย
จัดกิจกรรมโดยให้ดูตัวอย่างจากรุ่นพี่ที่มาบอกเล่าถึงความสำเร็จ พร้อมพาดูงาน ณ องค์กรต้นแบบ เพื่อกลับมาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ พร้อม "วาดภาพแห่งความสุข" ว่าหากได้มีโอกาสทำงานในที่ดังกล่าวจะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร
ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่ได้วางไว้ร่วมกันระหว่างโครงการฯและองค์กรต้นแบบ ตั้งแต่เริ่มต้นจัดโครงการฯ ที่มุ่งผลักดัน"นักสร้างสุข" ในกลุ่มยุวชน เพื่อให้ได้ "เมล็ดพันธุ์คุณภาพ" ไปสร้างความเจริญงอกงามแก่องค์กรหลังสำเร็จการศึกษา
นอกจากนี้ ยังพบว่าการสร้างกรอบการทำงานด้วย "การวางกฎระเบียบควบคุม" แม้ "ได้งานที่ถูกต้อง" แต่ "ไม่ได้ใจ" เท่ากับการ "สร้างแรงจูงใจ" ให้ทำงานโดยมี "ผลสำเร็จของงาน" ที่ส่งประโยชน์ถึงองค์กร และประเทศชาติเป็นรางวัล"เป้าหมายแห่งชีวิต"
ในที่สุดทุกหัวใจจะได้ตระหนักว่า "เงินไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกสิ่ง" และพร้อมปรับตัว จากรั้วการศึกษา สู่การทำงานในชีวิตจริง พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ด้วยความเท่าทัน สู่ Ecosystem ในสถานที่ทำงาน "ส่งต่อความสุข" จากรุ่นสู่รุ่นให้พร้อมรับอนาคตที่ท้าทายต่อไป
.
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (INT) ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม Mahidol Industry Partnership Forum: Empowering SMEs for a Sustainable Tomorrow สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (INT) ร่วมกับ วิทยาลัยนานาชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม Mahidol Industry Partnership Forum: Empowering
สสส. สานพลังภาคี ขจัดเหลื่อมล้ำกิจกรรมทางกาย เผย 5 กลุ่มไร้โอกาส 'ผู้หญิง-เด็ก-ผู้สูงอายุ-คนจน-ไม่มีอาชีพ' เร่งไทยพิชิตเป้า 85% ในปี 73
—
เมื่อเร็วๆ นี้ที...
สสส. นำทีมภาคีจัดงานเสวนาส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ชูพื้นที่สุขภาวะ "ทุกคนต้องเข้าถึงง่าย" หวังให้คนไทยลุกขึ้นมาขยับร่างกาย หลุดพ้นจากกลุ่มโรค NCDs
—
สำนักงานกอง...
ม.มหิดลชูวิจัยแรงงานย้ายถิ่น ทลายกำแพงแห่งความเหลื่อมล้ำประชากรโลก
—
แม้สถานการณ์ประชากรโลกจะมีความ "ผันผวน" ตามอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง แต่ "แรงงานย้ายถิ่...
ม.มหิดลแนะ เกษียณอย่างยั่งยืนเรื่องสุขภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง
—
คงไม่ใช่เรื่องดีหากจะต้องเป็นหนี้การลงทุนที่ชาญฉลาดจะต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง ด้...
ม.มหิดลต้นแบบ 'สร้างสุข' ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ 'องค์กรเชิงบวก'
—
หากเปรียบนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยเหมือน "เมล็ดพันธุ์ข้าว" ที่รอวันเก็บเกี่ยว และขยายพันธุ์...
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว "จำนวนเกิดในประเทศไทยดิ่งต่ำลงจนน่าตกใจ"
—
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทย...
เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการอบรม 3 หลักสูตร ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
—
ขอเชิญผู้สน...
ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง ต้องยกระดับบริการสุขภาพจิตโดยเร่งด่วน
—
รายงานการศึกษาล่าสุดของยูนิเซฟซึ่งเผยแพร่วานนี้ระบ...