กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการด้านการออมและการลงทุนที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้ทุกเดือนนอกเหนือจากที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนเช่นกัน เปรียบเสมือนลูกจ้างได้เงินเพิ่มจากนายจ้างอีกก้อนนอกเหนือจากเงินเดือน กล่าวได้ว่า นายจ้างที่ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการ เป็นนายจ้างที่ปรารถนาดี อยากเห็นลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในวัยชราภายหลังจากสิ้นสุดการเป็นมนุษย์เงินเดือน
หากจะเริ่มนับหนึ่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น นายจ้างต้องเริ่มจากตรงไหน และมีขั้นตอนอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
นับหนึ่ง เช็กความพร้อมของนายจ้างและลูกจ้างก่อนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิดจากการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องมีความพร้อม
นับสอง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน
คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ กรรมการกองทุนฝ่ายนายจ้าง (นายจ้างแต่งตั้ง) และกรรมการกองทุนฝ่ายลูกจ้าง (ลูกจ้างเลือกตั้ง) อย่างน้อยฝ่ายละ 1 คน คณะกรรมการกองทุนมีหน้าที่คัดเลือกและทำสัญญากับบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน และผู้สอบบัญชี รวมทั้งกำหนดข้อบังคับ เช่น อัตราเงินสะสมและเงินสมทบ การจ่ายเงินสมทบ และผลประโยชน์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพ และประสานงานกับบุคคลอื่น
นับสาม คัดเลือกบริษัทจัดการ
คณะกรรมการกองทุนจะคัดเลือกบริษัทจัดการที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาบริหารเงินสะสมและเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เติบโตขึ้นตามเป้าหมายการลงทุน
นับสี่ กำหนดแผนการลงทุน
คณะกรรมการกองทุนจะกำหนดจำนวนและประเภทแผนการลงทุนเพื่อให้สมาชิกเลือกลงทุน (employee's choice) โดยแผนการลงทุนที่ดีควรมีความหลากหลายทั้งด้านความเสี่ยงและประเภทสินทรัพย์ ซึ่งแผนการลงทุนแบบสมดุลตามอายุ (target date หรือ life path) เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกพื้นฐานที่มีการจัดสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนตามความเสี่ยงที่สอดคล้องกับอายุ เพื่อให้สมาชิกเลือกลงทุนตามอายุของตน
นับห้า จัดทำข้อบังคับกองทุน
คณะกรรมการกองทุนจะจัดทำข้อบังคับกองทุนที่กำหนดขอบเขตและแนวทางการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยข้อบังคับกองทุนจะมีผลบังคับใช้เมื่อจดทะเบียนกับนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งคือสำนักงาน ก.ล.ต.
นับหก จดทะเบียนจัดตั้งกองทุน
บริษัทจัดการจะเป็นผู้ยื่นเอกสารขอจัดตั้งกองทุน (กรณีตั้งกองทุนใหม่) หรือเพิ่มนายจ้าง (กรณีมีกองทุนแล้ว และต้องการเพิ่มนายจ้างในกองนั้น) ให้สำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาอนุมัติ
นับเจ็ด ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ลูกจ้าง
ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 7 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการริเริ่มของนายจ้างที่อยากให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการหลักประกันรองรับการเกษียณให้แก่ลูกจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งนั่นคือ การนับหนึ่งถึงเจ็ดจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสำเร็จได้โดยการเริ่มต้นจากนายจ้างใจดีนั่นเอง
หากนายจ้างท่านใดต้องการศึกษารายละเอียดด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งนายจ้างเพิ่มเติม สามารถคลิกได้ที่ https://www.thaipvd.com/Employer/Index
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการด้านการออมและการลงทุนที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้ทุกเดือนนอกเหนือจากที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนเช่นกัน เปรียบเสมือนลูกจ้างได้เงินเพิ่มจากนายจ้างอีกก้อนนอกเหนือจากเงินเดือน กล่าวได้ว่า นายจ้างที่ให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการ เป็นนายจ้างที่ปรารถนาดี อยากเห็นลูกจ้างมีเงินไว้ใช้จ่ายในวัยชราภายหลังจากสิ้นสุดการเป็นมนุษย์เงินเดือน หากจะเริ่มนับหนึ่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น นายจ้างต้องเริ่มจากตรงไหน
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างให้ นายจ้างได้"
—
"กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" หรือที่บางคนรู้จักกันในชื่อ "Provident Fund หรือ PVD" เป็นกองทุนที่นายจ้างแล...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดคลังความรู้ออนไลน์สำหรับมนุษย์เงินเดือน PVD Space by SET สร้างวินัยการออมเพื่อการเกษียณ
—
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชวนมนุษย์เงินเดื...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัว “PVD Space by SET” ช่องทางเรียนรู้ยุคดิจิทัล ชวนมนุษย์เงินเดือนมีเงินใช้ยามเกษียณ
—
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยช่วงวิกฤตโควิด-19 คนเรียนรู...
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอนำส่งข่าวสั้น “ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนร่วมสัมมนาออนไลน์ฟรี 2 หลักสูตร รู้แล้ว…รอด! สู้วิกฤต ด้วยเทคนิคบริหารเงิน”
—
ตลาดหลักทรัพ...
บลจ.กสิกรไทย ออกโปรเอาใจมนุษย์เงินเดือน ลาออกแต่ยังลงทุนต่อได้ผ่าน RMF for PVD
—
นายสุรเดช เกียรติธนากร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิก...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน จัดงาน Mutual Fund Day กระตุ้นมนุษย์เงินเดือนออม-ลงทุน เพื่ออนาคต 5 ส.ค. นี้
—
โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุน...
LHFund เปิดรับโอนเงินจาก 'กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ’ เข้า 'RMF’ ชูผลงานกอง LHTPROPRMF เด่น สร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 30.71% ต่อปี
—
บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือ LHF...
ภาพข่าว: ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าโครงการ “เงินทองต้องวางแผน” ปีที่ 4
—
เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดร. กฤษฎา เสกตระกูล ผู้ช่วยผู้จั...
บลจ.กสิกรไทย ตอกย้ำ Trusted Asset Manager การบินไทย ไว้วางใจให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
—
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่ง...