ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ "อัลลิซิน" ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม สู่เป้าหมายในการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เพื่อประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูลในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์

ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ได้เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย

รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า "เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร "อัลลิซิน" (Allicin) ในกระเทียมหรือไม่ ซึ่งอัลลิซินเป็นสารที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ มีการแปรรูปกระเทียมเป็นอัลลิซินอัดเม็ดหรือบรรจุแคปซูล อุตสาหกรรมจึงต้องการกระเทียมที่ให้ปริมาณอัลลิซินสูง ซึ่งงานวิจัยนี้ต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของอัลลิซินในกระเทียม"

"งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยการเกษตรนานาชาติแห่งออสเตรเลีย (ACIAR) ซึ่งเรื่องกระเทียมและพืชวงศ์มะเขือในออสเตรเลีย โดยที่ออสเตรเลียปลูกกระเทียมเยอะมาก และกระเทียมของออสเตรเลียขึ้นชื่อเรื่องมีปริมาณอัลลิซินสูง โดยอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม และรู้จักกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์ ดีต่อหลอดเลือดหัวใจ และมีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อต่างๆ"

"ซินโครตรอนประเทศไทยสามารถศึกษาธาตุเบาอย่างซัลเฟอร์ได้ และเพื่อนร่วมงานของเราที่มาวิจัยพร้อมกันก็ศึกษาเรื่องฟอสฟอรัส ซึ่งการทำการวิจัยธาตุทั้งสองนี้โดยใช้แสงซินโครตรอนนั้นไม่สามารถทำได้ที่ออสเตรเลีย" รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์กล่าว โดยการเดินทางมาวิจัยที่ประเทศไทยยังสะดวกต่อการเดินทางสำหรับเขา และ ดร.บินห์ เหงียน ด้วย

"สารประกอบอัลลิซินมีความสำคัญต่อกลิ่นของกระเทียม หากใครชอบกระเทียมก็จะอยากได้กระเทียมที่มีกลิ่นฉุน" ดร.บินห์ เหงียน กล่าวและบอกด้วยว่าประทับใจต่อเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนที่มิตร คอยช่วยเหลือ และมีความเชี่ยวชาญ จึงคิดว่าจะกลับมาทำวิจัยที่เมืองไทยอีกและแนะนำเพื่อนๆ ที่เวียดนามให้มาทำวิจัยที่นี่ด้วย


ข่าวมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์+วิทยาศาสตร์วันนี้

AMARC ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ พร้อมอนุมัติจ่ายปันผลอีก 0.02 บาท/หุ้น

รศ.นพ. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMARC (เอมาร์ค) ผู้นำการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ ด้านเกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานสากล และ ดร.ชินดนัย ไชยยอง (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในโอกาสจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติผ่านทุกวาระ พร้อมอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ให้

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตร... ซินโครตรอนไทยช่วยไขปริศนาสารออกฤทธิ์ในกระเทียมจากออสเตรเลีย — นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อว...

เพื่อร่วมพัฒนาวิศวกรไทย-ออสเตรเลีย ป้อนอุ... วิศวะมหิดล - มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ จับมือพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรม 2 ปริญญา — เพื่อร่วมพัฒนาวิศวกรไทย-ออสเตรเลีย ป้อนอุตสาหกรรมโลกยุคใหม่...คณะวิศวกรรมศาสตร์...

ประเทศไทยตั้งเป้าเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำ... มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ร่วมพัฒนาไทยสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬา — ประเทศไทยตั้งเป้าเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sport tourism) และเป็นศูนย...

ภาพข่าว: สพร.สะท้อนปัญหาสังคมผ่านวัฒนธรรมปาตานี

นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) พร้อมด้วย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Dr.Patrick Jory มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ร่วมสัมมนา “สภาวะความเป็นสมัยใหม่อัน...

ภาพข่าว: รพ.สัตว์ทองหล่อจัดสัมมนาวิชาการและ Workshop โรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง

เมื่อเร็วๆนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อได้รับเกียรติจาก สพ.ญ.ชนาธิป ลิมปะวัฒนะ Group Product Manager (Companion Animal) บริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด Dr.Kenneth V.Mason Adjunct Professor มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ สัตว...

NIDA ร่วมกับ mai จัดงาน “การส่งเสริมการเป็นเจ้าของกิจการโดยใช้ธุรกิจเงินร่วมลงทุน”

เนื่องด้วยคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กำหนดจะจัดงาน “การส่งเสริมการเป็นเจ้าของกิจการโดยใช้ธุรกิจเงินร่วมลงทุน” ในวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2550 ระหว่างเวลา...