"คอตตอน ยูเอสเอ" ตอกย้ำความเชื่อมั่นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ภายใต้แนวคิด "Your Partner for Prosperity" ในงาน "คอตตอน เดย์"

08 Nov 2022

ผู้บริหารในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ตัวแทนจากแบรนด์ต่างๆ โรงงานปั่นด้าย โรงงานทอผ้า และโรงงาน ตัดเย็บ กว่า 200 คน เข้าร่วมงาน "คอตตอน เดย์" (Cotton Day) เพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และสนับสนุนการใช้เส้นใยฝ้ายที่ยั่งยืนจากสหรัฐอเมริกา โดยงาน "คอตตอน เดย์" ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Your Partner for Prosperity" โดยเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจประโยชน์ของการใช้ใยฝ้ายและผลิตภัณฑ์จากฝ้ายสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังนำเสนอโปรแกรมต่างๆจาก "คอตตอน ยูเอสเอ" ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) , COTTON USA SOLUTIONS(TM) และ COTTON USA(TM) Licensing Program

"คอตตอน ยูเอสเอ" ตอกย้ำความเชื่อมั่นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ภายใต้แนวคิด "Your Partner for Prosperity" ในงาน "คอตตอน เดย์"

งาน "คอตตอน เดย์" ตอกย้ำจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นแหล่งเส้นใยฝ้ายที่ยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจด้านศักยภาพของการใช้เส้นใยฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อยอดธุรกิจให้กับบริษัทในประเทศไทย โดยในงาน สมาชิกโปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) กว่า 20 รายซึ่งเป็นทั้งโรงงาน และผู้ผลิตได้นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยเส้นใยฝ้ายจากสหรัฐอเมริกามาจัดแสดง ในฐานะสมาชิกของโปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) ซึ่งโรงงานผู้ผลิตเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนที่มีความโปร่งใส และได้รับการยอมรับจากแบรนด์ต่างๆที่ต้องการแหล่งผลิตสินค้าจากเส้นใยฝ้ายสหรัฐอเมริกา

นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ในกลุ่มประเทศอาเซียน กล่าวว่า "สมาชิกของโปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) ต่างก็เชื่อมั่นว่าเส้นใยฝ้ายที่หมุนเวียนอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาได้ผ่านกระบวนการการปลูกอย่างยั่งยืนที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่อสังคม ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่มีเส้นใยฝ้ายที่ยั่งยืนและมีซัพพลายเชนที่มีความโปร่งใสต่อสมาชิกทุกราย"

โปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านการผลิตเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากฝ้ายที่ยั่งยืน โดยมีหัวใจหลักที่มุ่งเน้นด้านความโปร่งใส และการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และนับเป็นโปรแกรมเพียงหนึ่งเดียวที่เน้นเป้าหมาย และการวัดผลเชิงปริมาณที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ การใช้ที่ดิน ระดับคาร์บอนในดิน การจัดการน้ำ การสูญเสียดิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ปัจจุบันโปรแกรม U.S. Cotton Trust Protocol(R) มีสมาชิกกว่า 30 แบรนด์และผู้ค้าปลีกชั้นนำ และอีกกว่า 1,000 โรงงานผู้ผลิตทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยมีสมาชิกที่เข้าร่วมโปรแกรม รวม 30 ราย โดยทั้งหมดเป็นสมาชิกฝั่งโรงงานผู้ผลิต

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ประเทศไทยมีโมเดลที่เรียกว่า "จากเส้นใยสู่เครื่องนุ่งห่ม" ซึ่งเป็นซัพพลายเชนด้านสิ่งทอที่ครอบคลุมครบถ้วน ตั้งแต่การปั่นเส้นใยไปจนถึงการตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป เรามีการใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันมีการเลือกซื้อฝ้ายที่เกรดดีเป็นพิเศษอีกด้วย การที่อุตสาหกรรมฝ้ายสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัวโครงการ U.S. Cotton Trust Protocol(R) ทำให้ซัพพลายเชนมีความโปร่งใส ซึ่งตลาดต้องการข้อมูลเหล่านี้ และผู้บริโภคก็ต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่แบรนด์ต่างๆ ก็ต้องการแหล่งผลิตที่ไว้วางใจได้ และมีความยืดหยุ่น ซึ่งผู้ผลิตของไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน"

นายไกรภพกล่าวทิ้งท้ายว่า มากกว่า 50% ของแบรนด์ที่เป็นคู่ค้าของ คอตตอน ยูเอสเอ มีความตั้งใจที่จะหันมาใช้ฝ้ายที่ยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2568 "เนื่องจากแหล่งผลิตเส้นใยฝ้ายทั่วโลกมีจำนวนลดลง เราประเมินความต้องการซื้อฝ้ายที่ยั่งยืนไว้ที่ 3 ล้านเบล ซึ่งจำนวนดังกล่าวจะเข้าไปอยู่ในระบบ Trust Protocol PCMS ภายในปี พ.ศ. 2566 และอีกจำนวน 5 ล้านเบล ภายในปี พ.ศ. 2568"

HTML::image(