ออมเดียเผยผลสำรวจใหม่ แนะผู้ค้าระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมต้องฟังผู้ใช้งานอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ผู้ค้าประสบกับความท้าทายเชิงวิทยาศาสตร์และเทคนิคที่สำคัญในช่วงทศวรรษต่อจากนี้ ในการนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ทนต่อความขัดข้องมากขึ้นเรื่อย ๆ สู่ตลาด เพื่อแสดงข้อได้เปรียบที่มีนัยสำคัญเหนือคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมสำหรับการประยุกต์ใช้งานที่มีความสำคัญเชิงพาณิชย์ การประสบความสำเร็จจะต้องสอดรับอย่างใกล้ชิดกับความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม ( QC) ที่ขณะนี้ลงทุนในการทดลองและเตรียมพร้อมสำหรับ "ข้อได้เปรียบจากควอนตัม" ที่อาจจะมาถึงใน 5 ถึง วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปีต่อจากนี้ จากการสำรวจสองรายการโดยออมเดีย (Omdia) กับผู้ใช้งานและผู้ค้าตามลำดับ พบว่ามีช่องว่างที่มีนัยสำคัญในการรับรู้และความต้องการระหว่างสองกลุ่มดังกล่าวนี้

ผู้ค้าที่ตอบแบบสำรวจผู้ค้าระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมของออมเดีย (ในอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียและโอเชียเนีย และตะวันออกกลางและแอฟริกา) ระบุว่าผู้ใช้งานมีความสนใจที่สุดใน "การปรับปรุงประสิทธิภาพสูงสุด" (optimization) เป็นกรณีการใช้งานอันดับแรก โดยระบุว่า "คิวเอ็มแอล" (QML) มีความสำคัญเป็นอันดับสาม รองจาก "การจำลองทางกายภาพ" (physical simulation) อย่างไรก็ตาม แบบสำรวจผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมของออมเดีย (ในสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี) พบว่า "คิวเอ็มแอล" ได้รับการจัดเป็นกรณีการใช้งานอันดับแรกโดยมีสัดส่วน 64% เทียบกับ 19% สำหรับ "การจำลองทางกายภาพ" และ 18% สำหรับ "การปรับปรุงประสิทธิภาพสูงสุดที่ซับซ้อน" ความแตกต่างเช่นนี้อาจนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ผิดพลาด และพลาดโอกาสที่จะเข้าหาผู้ใช้งานในแบบที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด

ทั้งผู้ค้าและผู้ใช้งานเห็นตรงกันว่า "ความเชี่ยวชาญภายในที่ไม่เพียงพอ" เป็นความท้าทายอันดับแรกสำหรับผู้ใช้งาน และ "ไม่ล้าสมัยในอนาคตขณะที่เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป" เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันดับหนึ่งของผู้ค้า อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวเลือกอื่น ๆ ในทั้งสองคำถามนี้ ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมาก ผู้ตอบที่เป็นผู้ค้าจัดให้ "จะไม่บูรณาการร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่" อยู่ในอันดับสุดท้ายของการเป็นความท้าทายของผู้ใช้งาน ขณะที่ผู้ตอบที่เป็นผู้ใช้งานจัดให้มีความสำคัญเป็นอันดับสาม การขาดความเชื่อมโยงระหว่างกันเช่นนี้ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการพัฒนาตลาด เมื่อผู้ค้าวางแผนกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ของตน

"ผู้ค้าประสบกับหนทางที่ยากอยู่แล้วในการส่งมอบความสำเร็จตามศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม การทำให้ความสำเร็จเหล่านั้นสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของผู้ใช้งานที่ขณะนี้จ่ายเงินเพื่อทดลองและเรียนรู้ จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ราบรื่นของตลาดนี้ในทศวรรษต่อไป" แซม ลูเซโร ( Sam Lucero) หัวหน้านักวิเคราะห์ด้านระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัม ออมเดีย กล่าว

ลงทะเบียนที่นี่เพื่อพบกับนักวิเคราะห์ของออมเดีย ในงานประชุมสุดยอดด้านปัญญาประดิษฐ์ในนิวยอร์ก ประจำปี 2565 ( The AI Summit New York 2022)

เกี่ยวกับออมเดีย

ออมเดีย (Omdia) เป็นกลุ่มวิจัยและให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีชั้นนำในเครือบริษัทอินฟอร์มา เทค (Informa Tech) โดยความรู้เชิงลึกของเราในด้านตลาดเทคโนโลยีประกอบกับข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริงจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถตัดสินใจในด้านการเติบโตได้อย่างเฉียบคม

ฟาซิฮะห์ ข่าน ( Fasiha Khan) / โทร: +44 7503 666806 / อีเมล: [email protected] / เว็บไซต์: www.omdia.com


ข่าวคอมพิวเตอร์+วิทยาศาสตร์วันนี้

สวทช. โดยเนคเทค โชว์ Pathumma LLM: เทคโนโลยี AI ที่เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมไทย สู่การพัฒนาและการใช้งานที่หลากหลาย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม NSTDA x Press Interviews เรื่อง Pathumma LLM: เทคโนโลยี AI ที่เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมไทย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และทีมวิจัยเนคเทค สวทช. ซึ่ง "Pathumma LLM" (ปทุมมา แอลแอลเอ็ม) เป็นการสร้างเทคโนโลยีเอไอ สัญชาติไทย ที่มี 3 ความสามารถหลัก ได้แก่ Text LLM

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สวทช. จัดอบรมปัญญาประดิษฐ์ด้วยบอร์ดคิดไบร... สวทช. จัดอบรมปัญญาประดิษฐ์ด้วยบอร์ดคิดไบร์ทไมโครเอไอ (KidBright ?AI) — สวทช. จัดอบรมปัญญาประดิษฐ์ด้วยบอร์ดคิดไบร์ทไมโครเอไอ (KidBright ?AI) แก่ 'ครู' โรงเ...

TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการ... TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15 — TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...