ผลการศึกษาระดับโลกเผย ผู้บริโภคจำนวนมากอยากรับข่าวสารเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อเพิ่มขึ้น ท่ามกลางอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแวดวงนักข่าวและบรรณาธิการ

การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก (Global Faith and Media Study) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในระดับโลกได้เปิดตัวแล้วในวันนี้ โดยมุ่งเน้นอธิบายถึงรูปแบบการเผยแพร่ข่าวสารด้านความเชื่อและศาสนาในสื่อต่าง ๆ ผลการศึกษานี้เผยให้เห็นว่า มีผู้ที่ต้องการรับชมการรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อมากขึ้นทั่วโลก แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วนักข่าวและบรรณาธิการไม่ค่อยนิยมที่จะนำเสนอรายงานเกี่ยวกับด้านดังกล่าวมากนัก

ผลการศึกษานี้รวบรวมมุมมองของพลเมืองโลก 9,000 คน ตลอดจนนักข่าวและบรรณาธิการใน 18 ประเทศซึ่งครอบคลุมศาสนาหลักของโลก การวิจัยนี้ได้รับมอบหมายจากเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ (Faith and Media Initiative หรือ FAMI) และดำเนินการโดยแฮร์ริสเอ็กซ์ (HarrisX) บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก

การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกในหมู่ประชากรทั่วไปที่ระบุว่า การรายงานข่าวของสื่ออาจทำให้ภาพลักษณ์แบบเหมารวม (Stereotype) ด้านความเชื่อยังคงอยู่ไปตลอด มากกว่าที่จะเป็นการปกป้อง นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุถึงปัจจัยบางประการที่นักข่าวและบรรณาธิการคิดว่าสามารถนำไปสู่การนำเสนอข่าวที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์แบบเหมารวมทางศาสนาและความเชื่อได้

การศึกษานี้ยังส่งสัญญาณเกี่ยวกับมุมมองของนักข่าวและบรรณาธิการในระดับสากลที่มองว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนานั้นควรมีการยกเครื่องใหม่ โดยได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชุดปัจจัยที่ซับซ้อน ซึ่งสร้างสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และส่งผลต่อการรายงานข่าวสารของบรรณาธิการ

"ข้อมูลเผยให้เห็นว่า ความเชื่อและศาสนาเป็นองค์ประกอบหลักของอัตลักษณ์ส่วนบุคคลทั่วโลก โดย 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ตนเองนั้นมีศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา หรือจิตวิญญาณ" ดริตัน เนโช (Dritan Nesho) ซีอีโอของแฮร์ริสเอ็กซ์ กล่าว "ถึงกระนั้น นักข่าวที่เราคุยด้วยเชื่อว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนานั้นถูกลดความสำคัญลงเรื่อย ๆ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัย ตั้งแต่งบประมาณของห้องข่าว (Newsroom Economics) ไปจนถึงความกังวลที่ว่าจะ 'นำเสนอผิดพลาด'"

"ในท้ายที่สุด การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนการรายงานข่าว การปฏิบัติ และคุณภาพของความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในสื่อสมัยใหม่ทั่วโลก" เนโชกล่าวเสริม

ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญจากการศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก ได้แก่

ผู้คนทั่วโลกเห็นถึงความจำเป็นที่สื่อจะต้องมีบทบาทในการเพิ่มการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนามากขึ้น

  • 63% ของผู้คนทั่วโลกกล่าวว่า จำเป็นต้องมีเนื้อหาคุณภาพสูงเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในประเทศของตน
  • 53% ของคนทั่วโลกเชื่อว่า การรายงานข่าวของสื่อในปัจจุบันไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นศาสนา ในฐานะมิติหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน
  • 59% ของคนทั่วโลกคิดว่า เป็นเรื่องสำคัญที่สื่อจะต้องรายงานข่าวและเขียนเนื้อหาที่สะท้อนมุมมองทางศาสนาที่หลากหลาย
  • 56% ของคนทั่วโลกเห็นพ้องว่า ควรมีการรายงานข่าวที่ละเอียดยิ่งขึ้นในประเด็นทางศาสนาที่ซับซ้อน

ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาเป็นปัญหาที่ทั่วโลกวิตกกังวลเกี่ยวกับการรายงานข่าวด้านความเชื่อและศาสนา

  • 61% ของคนทั่วโลกกล่าวว่า การรายงานข่าวของสื่อมักจะทำให้ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านความเชื่อคงอยู่ไปตลอด มากกว่าที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาและปกป้องศาสนา
  • 53% ของคนทั่วโลกคิดว่า ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาควรได้รับความสนใจในระดับเดียวกับประเด็นการเหมารวมในเรื่องอื่น ๆ ในสื่อ

ต้องการโฆษกที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนที่แตกต่างกันของความเชื่อและศาสนาในการนำเสนอข่าว

  • ผู้คนมากกว่า 80% ทั่วโลกเห็นตรงกันว่า กลุ่มความเชื่อและกลุ่มศาสนาจำเป็นต้องจัดหาโฆษกที่หลากหลายมากกว่าเดิมให้กับสื่อ
  • นักข่าวและบรรณาธิการยอมรับว่า มีปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาในการรายงานข่าว และตั้งข้อสังเกตว่า การขาดแหล่งข่าวและโฆษกขององค์กรด้านความเชื่อที่หลากหลายเป็นประเด็นสำคัญที่พวกเขาเชื่อว่าก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรัง

สื่อเห็นพ้องว่า การรายงานข่าวด้านความเชื่อและศาสนาถูกลดความสำคัญลงจากเดิม

  • การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลกเปิดเผยชุดปัจจัยที่ซับซ้อนซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีการที่สื่อนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา โดยอิงจากการสัมภาษณ์นักข่าวโดยตรง
  • ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่ออธิบายว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในระดับสากลลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง และอ้างถึงปัจจัยมากมายที่ส่งผลให้เกิดการรายงานที่ไม่สมดุลมากขึ้น ดังนี้:
    • งบประมาณของห้องข่าว: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อเปิดเผยถึงปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณที่มีจำกัด ทำให้ไม่มีนักข่าวผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาในห้องข่าว พวกเขาอ้างถึงการ "ขาดแคลน" ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางภายในทีมข่าว โดยปล่อยให้นักข่าวทั่วไปเข้ามาดูแลประเด็นต่าง ๆ รวมถึงข่าวความเชื่อและศาสนา
    • ความกลัวว่าจะนำเสนอผิดพลาด: สื่อบรรยายถึง "ความกลัว" ในห้องข่าวเกี่ยวกับการรายงานข่าวด้านศาสนา ในยุคที่บางคนนิยามว่าศาสนากลายเป็นเรื่องการเมืองมากขึ้น การรายงานข่าว (ที่มักจะต้องแข่งกับเวลา) ทำให้นักข่าวรับสภาพไปโดยปริยายว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถรายงานเรื่องอ่อนไหวเช่นนี้ได้โดยละเอียด เนื่องจากเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
    • ความหลากหลายและพลวัตของห้องข่าว: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อในทุกภูมิภาคตั้งข้อสังเกตว่า ทีมห้องข่าวมีความคิดเห็นทางศาสนาไม่หลากหลายมากพอจะเป็นตัวแทนคนในสังคม ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา ในบรรดานักข่าวที่มีภูมิหลังด้านความเชื่อที่เคร่งครัด พวกเขามีความรู้สึกว่าอาจถูกตัดสินในเชิงลบได้ หากพวกเขานำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือศาสนาของตน เนื่องจากอาจทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ซึ่งอาจทำให้ชื่อเสียงของตนในห้องข่าวเสียหายได้
    • เรื่องอื้อฉาวเท่านั้นที่กระตุ้นยอดคลิก: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อเห็นพ้องกันว่า ประเด็นด้านความเชื่อและศาสนาไม่ใช่เรื่องที่กระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน บรรณาธิการไม่ค่อยสนับสนุนประเด็นดังกล่าวในการนำเสนอข่าว เว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องที่คนถกเถียงกัน เรื่องที่คนจะไม่เห็นด้วย หรือเรื่องอื้อฉาว ซึ่งสวนทางกับความคิดเห็นของคนทั่วโลกถึง 63% ที่กล่าวว่า เนื้อหาดี ๆ เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นในประเทศของตน
    • การขาดโฆษกยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนา: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อระบุว่า ภาพลักษณ์ของศาสนาแบบเหมารวมเป็นปัญหาสำคัญ นอกจากนี้ การขาดแคลนแหล่งข่าวและโฆษกของกลุ่มความเชื่อและกลุ่มศาสนาที่หลากหลาย ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง สื่อจำนวนมากกล่าวว่า ศาสนามักถูกจัดให้อยู่ในหมวดกลุ่มอนุรักษ์นิยมหรือเป็นแนวความคิดสุดโต่งในการรายงานข่าวจากกองบรรณาธิการ ปัจจัยนี้จึงมีแนวโน้มจะผลักดันให้สื่อหาโฆษกปากกล้า พูดจาโผงผางมาลงข่าว แทนที่จะนำเสนอโฆษกสายกลางที่เป็นภาพแทนคนส่วนใหญ่มากกว่า

"การศึกษาระดับโลกครั้งนี้ที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติของผู้คน นักข่าว และบรรณาธิการต่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในสื่อ จะถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก" บรูก ซอค (Brooke Zaugg) รองประธานของเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ กล่าว "การค้นพบใหม่เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้นำกลุ่มความเชื่อต้องยกระดับการเข้าถึงอำนาจและการเข้าถึงสื่อ และสื่อก็ควรสื่อสารกับผู้นำกลุ่มความเชื่อโดยตรงเพื่อเพิ่มความเข้าใจในด้านความเชื่อในบริบทของสังคมสมัยใหม่ ด้วยการผนึกกำลังกัน เราจะสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษยชาติได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการนำเสนอเนื้อหาด้านความเชื่อในการเขียนข่าวและความบันเทิงทั่วโลกได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นและมีความสมดุลมากขึ้น"

สามารถติดตามการสนทนาของ FAMI ได้ทางทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, #faithandmedia, #FAMI และติดตามแฮร์ริสเอ็กซ์ได้ทางทวิตเตอร์และลิงด์อิน

สื่อมวลชนติดต่อ :

เพอร์ริ ดอร์เซต (Perri Dorset), ราคี ราท็อด (Rakhee Rathod) และเลลา ไรชีสซิน (Leila Hrycyszyn) อีเมล: [email protected]

คอรินเน กอร์ดา (Corinne Gorda) อีเมล: [email protected]

เกี่ยวกับการศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก
การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก (Global Faith and Media Study) รวบรวมความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงปริมาณ 9,489 ครั้งระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2565 โดยดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 18 ประเทศทั่วโลก ผ่านการคัดเลือกภูมิภาคต่าง ๆ ให้ครอบคลุมศาสนาหลักของโลก ทั้งในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาใต้, เอเชีย, แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมมุมมองของสื่อผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเชิงลึก 30 ครั้งกับนักข่าวและบรรณาธิการในภูมิภาคเดียวกัน ดาวน์โหลดรายงานได้ที่ https://index.faithandmedia.com/data

การศึกษานี้เป็นรายงานข้อมูลเชิงลึกฉบับแรกจากดัชนีความเชื่อและสื่อ (The Faith and Media Index) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่เปิดตัวโดยเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ (Faith and Media Initiative) โดยจะร่วมมือกับบรรดาสถาบันที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการวิจัยและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ดัชนีนี้จะรวมข้อมูลเชิงลึกที่เป็นต้นฉบับเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของความเชื่อและสื่อทั่วโลก โดยระบุถึงแนวโน้มและโอกาสในการทำงานร่วมกันในระยะเริ่มต้น ตลอดจนแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักข่าว, บรรณาธิการ และผู้สร้างคอนเทนต์ รายงานฉบับแรกของการศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลกได้รับทุนสนับสนุนจากเรเดียนท์ ฟาวเดชัน (Radiant Foundation)

เกี่ยวกับเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ
เฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ (Faith and Media Initiative) หรือ FAMI เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่เชื่อมต่อและจัดหาแหล่งข้อมูลให้กับเครือข่ายสมาชิกสื่อ, ผู้สร้างคอนเทนต์, ผู้นำลัทธิความเชื่อ และสมาชิกในชุมชนทั่วโลก ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อรับรองความถูกต้องและสร้างสมดุลของการนำเสนอประเด็นด้านความเชื่อทั้งหมดในสื่อความบันเทิงและการเขียนข่าว การปฏิบัติงานในปัจจุบันขับเคลื่อนโดยคณะทำงานสำรวจ ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายจากกลุ่มความเชื่อ, สื่อ, ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ คณะทำงานมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยการสร้างความร่วมมือ การฝึกอบรม การวิจัย และการยอมรับของบุคคลและธุรกิจที่เป็นผู้นำ ชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟได้ที่ https://www.faithandmedia.com/

เกี่ยวกับแฮร์ริสเอ็กซ์
แฮร์ริสเอ็กซ์ (HarrisX) เป็นที่ปรึกษาด้านการวิจัยชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินการวิจัยตลาดที่สำคัญ การสำรวจนโยบายสาธารณะ และการศึกษาทางสังคมศาสตร์ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก แฮร์ริสเอ็กซ์เป็นส่วนหนึ่งของสแตกเวลล์ โกลบอล (Stagwell Global) และเป็นบริษัทในเครือของแฮร์ริส โพล (Harris Poll) ซึ่งดำเนินการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะในระดับสากลมาตั้งแต่ปี 2506

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1900301/Faith_and_Media_Initiative_Logo.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1900302/HarrisX_Logo.jpg


ข่าวแฮร์ริสเอ็กซ์+การศึกษานี้วันนี้

ผลการศึกษาระดับโลกเผย ผู้บริโภคจำนวนมากอยากรับข่าวสารเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อเพิ่มขึ้น ท่ามกลางอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแวดวงนักข่าวและบรรณาธิการ

การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก (Global Faith and Media Study) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในระดับโลกได้เปิดตัวแล้วในวันนี้ โดยมุ่งเน้นอธิบายถึงรูปแบบการเผยแพร่ข่าวสารด้านความเชื่อและศาสนาในสื่อต่าง ๆ ผลการศึกษานี้เผยให้เห็นว่า มีผู้ที่ต้องการรับชมการรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อมากขึ้นทั่วโลก แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วนักข่าวและบรรณาธิการไม่ค่อยนิยมที่จะนำเสนอรายงานเกี่ยวกับด้านดังกล่าวมากนัก ผลการศึกษานี้รวบรวมมุมมองของพลเมืองโลก 9,000 คน ตลอดจนนักข่าวและบรรณาธิการใน 18 ประ

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การเชื่อมต่อระหว่างประ... 5 ข้อดีของการส่งลูกเรียนใน รร.นานาชาติในกรุงเทพฯ — ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การเชื่อมต่อระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาใน ร.ร.นานาชาติในกรุง...

หลังปิดระดมทุนเมื่อ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา ... มูลนิธิ EDF เตรียมส่งมอบ 8,441 ทุน ให้เยาวชนยากจนภายในภาคเรียนที่ 1 — หลังปิดระดมทุนเมื่อ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพ...

ซูบารุจับมือสถาบันยานยนต์สนับสนุนการศึกษาและการพัฒนายานยนต์ บริจาคเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์มูลค่ากว่า 7 ล้านบาทให้กับสถาบันการศึกษา 9 แห่ง

ระเทศไทย, 12 ตุลาคม 2566 บริษัท ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSA) ประธาน ดร. ตัน ฮง ไหว่ และบริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป...

เค ไลน์ ประเทศไทย มอบทุนการศึกษา แก่บุตรบ... เค ไลน์ ประเทศไทย มอบทุนการศึกษา แก่บุตรบุคลากร รวม 65 ทุน — เค ไลน์ ประเทศไทย มอบทุนการศึกษา แก่บุตรบุคลากร เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียน เมื่อวันที่ 29 กัน...

สถาบันอะลูมิเนียมระหว่างประเทศเผยผลการศึกษาใหม่ พบผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

การรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอะลูมิเนียม ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้ 60 ล้านตันต่อปีทั่วโลก ภายในปี 2573 การศึกษายืนยันอัตราการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมที่ 71%...

มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อกา... มูลนิธิ EDF เตรียมส่งมอบทุน 7,919 ทุน ให้นักเรียนที่ยากไร้ปีการศึกษา 2566 — มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) สรุปตัวเลขนักเรียน นิสิต นักศ...