ม.มหิดล เตรียมเปิด "ศูนย์ดนตรีบำบัด" ยกระดับสู่การเป็น "Music Therapy Hub" แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใน 5 ปี

"ดนตรีบำบัด" (Music Therapy) ถือกำเนิดโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Everett Thayer Gaston (พ.ศ.2444 - 2513) "บิดาแห่งดนตรีบำบัด" ผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญสู่การจัดตั้งหลักสูตรดนตรีบำบัดครั้งแรกของโลก และเป็นที่มาของ The American Music Therapy Association (AMTA) ที่ทำให้วิชาดนตรีบำบัดแพร่หลายไปทั่วโลก

ม.มหิดล เตรียมเปิด "ศูนย์ดนตรีบำบัด" ยกระดับสู่การเป็น "Music Therapy Hub" แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใน 5 ปี

อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหลักสูตรดนตรีบำบัดในประเทศไทยที่มีมาตรฐาน ซึ่งมีเปิดสอนในระดับปริญญาโทที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 ม.มหิดล เตรียมเปิด "ศูนย์ดนตรีบำบัด" ยกระดับสู่การเป็น "Music Therapy Hub" แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใน 5 ปี

หลักสูตรฯ ได้รับการพัฒนาขึ้นร่วมกับอาจารย์ที่เป็นนักดนตรีบำบัดวิชาชีพผู้ซึ่งได้รับการรับรองจาก The American Music Therapy Association (AMTA)

และในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา สาขาวิชาดนตรีบำบัดได้ร่วมส่งเสริมสุขภาวะให้กับประชาชนผ่านเสียงดนตรี ในรูปแบบของ "ดนตรีบำบัดออนไลน์" โดยนักศึกษาของหลักสูตรฯ ภายใต้การดูแลของคณาจารย์สาขาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้นำหลักสูตรดนตรีที่ได้รับรองมาตรฐานสถาบันแห่งความเลิศทางดนตรี จากสถาบันรับรองคุณภาพ MusiQuE ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขยายขอบเขตดนตรีบำบัดในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริงจึงได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเตรียมเปิด "ศูนย์ดนตรีบำบัด" ให้เป็นคลินิกที่พร้อมให้บริการประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ

โดยจะเริ่มเปิดให้บริการเป็นแห่งแรกที่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลภายใต้การบริหารงานโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และจะยกระดับสู่การเป็น "Music Therapy Hub" แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า

อาจารย์วิพุธ เคหะสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัดวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า"ดนตรีบำบัด" เป็น "การให้การบำบัด" (Therapy) ไม่ใช่"การรักษา" (Treatment) ในทางคลินิก "นักดนตรีบำบัด" (Music Therapist) จะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้ดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจ และเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละบุคคลให้พร้อมออกไปดำเนินชีวิต รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ถือเป็นทักษะสำคัญยิ่งสำหรับนักดนตรีบำบัดที่จะต้องมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนดนตรี ด้วยหลักการที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น และความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้นหรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ตลอดจนผู้สูงวัย ฯลฯ หากได้รับการดูแลโดยใช้เสียงดนตรีที่เหมาะสม จะช่วยให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤติต่างๆ ไปได้

ซึ่งทักษะหรือความเชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้ฝึกปฏิบัติจริง สาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงกำหนดให้นักศึกษาของหลักสูตรฯทุกรายต้องผ่านวิชา "Practicum" และ "Internship" ที่จะได้ฝึกงานและสัมผัสกับผู้ป่วยจริงก่อนสำเร็จการศึกษา

โดยหลักสูตรฯ จะไม่หยุดอยู่เพียงแค่ระดับปริญญาโท แต่ในอนาคตอันใกล้จะเปิดเพิ่มเติมในระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับการผลิตบุคลากรที่ให้บริการทางดนตรีบำบัด และขยายผลสร้างเป็นเครือข่ายให้ประชาชนได้มีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ เป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติต่อไป ติดตามได้ที่ Facebook: Music Therapy Thailand

และติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

Cr: ภาพจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ข่าววิทยาลัยดุริยางคศิลป์+ณรงค์ ปรางค์เจริญวันนี้

คณะผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ เยี่ยมชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเปิดโอกาสความร่วมมือในอนาคต

คณะผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ เยี่ยมชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเปิดโอกาสความร่วมมือในอนาคต คณะผู้บริหารของ โรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเทพฯนำโดย คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการบริหาร และ คุณนิค แกลลอป ครูใหญ่ ได้เยี่ยมชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเร็วๆ นี้ การเยี่ยมชมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และ อ.ริชาร์ด ราล์ฟส์ รองคณบดีฝ่ายการจัดการหอแสดงดนตรีและ อาจารย์ใหญ่

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เปิดพื้นที่ ส่งเสริ... วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เปิด Black Box Theater พื้นที่สร้างสรรค์พลังดนตรีไร้ขีดจำกัด — วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เปิดพื้นที่ ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ทางดนตรี Blac...

ด้วยประสบการณ์อันยาวนานที่ทำให้วิทยาลัยดุ... ม.มหิดล-จ.นครปฐมร่วมสร้าง 'เมืองดนตรียูเนสโก' เพื่อความยั่งยืนที่ยืนยาว — ด้วยประสบการณ์อันยาวนานที่ทำให้วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เติบโตเ...

ในวันนี้ "โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี" คณะแพท... ม.มหิดลสร้างสรรค์เพลง 'เคียงข้างเธอ' เพื่อพยาบาลผู้อุทิศ — ในวันนี้ "โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี" คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีเพลงปร...

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และ วิทยาลัยการจัดก... เปิดหลักสูตร MEI อัพสกิลนักดนตรีสายพันธุ์ใหม่ สู่การเป็นนักบริหารอย่างมืออาชีพ — วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตร...

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแสดงวงออ... ม.มหิดล เติมฝันสู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่"SIDE BY SIDE WITH THE THAILANDPHIL" — นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแสดงวงออร์เคสตร้าในประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชม...

นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลั... ภาพข่าว “ชวนเยาวชนประกวด SET เยาวชนดนตรีฯ” — นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ...