วิศวะฯ มธ. (TSE) เปิดตัวหลักสูตรใหม่ 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' V-TECH หนุน EEC สู่ศูนย์กลางใหม่ด้าน EV ระดับโลก พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ TCAS66

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE เปิดตัวหลักสูตรใหม่ 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH เดินหน้ายกระดับวิศวกรรมยานยนต์แห่งอนาคต มุ่งสร้างวิศวกรในสาขา 'วิศวกรรรมเพื่อการออกแบบและการผลิตชิ้นส่วน' รับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เสริมทัพการเติบโตของรถยนต์ระบบไฟฟ้า หรือ EV รวมถึงภาคการผลิต โดยเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุม 4 ทักษะแห่งอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์) เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว 3) ยานยนต์สมัยใหม่ และ 4) อุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านการเรียนรู้ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ องค์ความรู้หลัก คือ 'วิศวกรรมยานยนต์' (Automotive Engineering) การเรียนรู้ด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 'ออโตเมชัน' (Industrial Automation) เทคโนโลยีอัตโนมัติในการควบคุมและสั่งการในกระบวนการผลิต เพื่อขานรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทย มุ่งพัฒนา EEC สู่การเป็น 'ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า' ระดับโลก

วิศวะฯ มธ. (TSE) เปิดตัวหลักสูตรใหม่ 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' V-TECH  หนุน EEC สู่ศูนย์กลางใหม่ด้าน EV ระดับโลก พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ TCAS66

สำหรับหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2566 โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัครทุกรอบได้ที่ https://engr.tu.ac.th, หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-3001 ต่อ 3256 หรือ 083-618-3410 ไลน์ไอดี @tse-thammasat และ https://web.facebook.com/ENGR.THAMMASAT วิศวะฯ มธ. (TSE) เปิดตัวหลักสูตรใหม่ 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' V-TECH  หนุน EEC สู่ศูนย์กลางใหม่ด้าน EV ระดับโลก พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ TCAS66

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สนันตน์เขม อิชโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมเครื่องกล ในฐานะผู้ประสานงานหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ศูนย์พัทยา กล่าวว่า TSE ในฐานะผู้นำด้านการเรียนการสอนวิศวกรรมของไทยมากว่า 33 ปี ขณะนี้ TSE ได้เปิดหลักสูตรใหม่ 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH เพื่อต่อยอดความสำเร็จของหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ภายใต้โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (Programme of Innovative Engineering) หรือ TU-PINE ที่จัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการที่ศูนย์พัทยาตลอดหลักสูตร โดยมุ่งสร้างนวัตกรด้านวิศวกรรมยานยนต์ ให้เป็นกำลังสำคัญในห่วงโซ่การพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้ EEC เติบโตและขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งในปัจจุบันมีนักลงทุนจากไทยและต่างประเทศให้ความสนใจจำนวนมาก

โดย TSE ได้ออกแบบหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ทั้งในแง่ของการส่งเสริมให้มี 'วิศวกรนักออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์' ป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ และขานรับนโยบายภาครัฐที่มุ่งยกระดับศักยภาพทรัพยากรบุคคลและห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในภาคการผลิตและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เข้มแข็ง ซึ่ง TSE ได้เปิดตัวหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH เพื่อต้อนรับนักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2566 ที่มีความสนใจด้านเครื่องยนต์กลไกสมัยใหม่ การออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านโปรแกรมสั่งการและควบคุมการผลิต รวมถึงแนวคิดด้านการลดการปล่อยของเสีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ SDGs

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สนันตน์เขม อิชโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH มีรายละเอียดที่ครอบคลุมทักษะแห่งอนาคตเพื่อคนรุ่นใหม่ถึง 4 ด้าน ที่สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ 1) เครื่องกล (Mechanics) 2) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Electronics & Embedded System) 3) ยานยนต์สมัยใหม่ (Modern Automotive) และ 4) อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Manufacturing)

ซึ่งหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH ของ TSE มีจุดเด่นด้านองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนาวิศวกรรมยานยนต์ด้วยองค์ความรู้หลัก 2 ด้าน ได้แก่

  • 'วิศวกรรมยานยนต์' (Automotive Engineering) การเรียนรู้ด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์, การออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์, ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU: Electronic Control Unit) และระบบฝังตัวสำหรับยานยนต์, ยานยนต์ไฮบริดและยานยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ
  • 'ออโตเมชัน' (Industrial Automation) เทคโนโลยีอัตโนมัติในการควบคุมและสั่งการในกระบวนการผลิต ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการบริหารกระบวนการผลิตรถยนต์, มาตรฐานและความปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์, ระบบการควบคุมอัตโนมัติและพีแอลซี (PLC: Programmable logic Control) ฯลฯ

ทั้งนี้ จุดเด่นและความพิเศษของหลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH ของ TSE ประกอบด้วย

  1. ได้เรียนรู้วิชาเกี่ยวกับชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) และระบบฝังตัวสำหรับยานยนต์ เนื่องจากในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ รถยนต์จะมีความอัจฉริยะในการเชื่อมโยงข้อมูลภายนอกมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน โดยมี ECU เป็นตัวควบคุม
  2. ได้พัฒนาชุดควบคุมอัตโนมัติและพีซีแอล (PCL) หรือ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ เพื่อสร้างระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ผ่านการเขียนโปรแกรมหรือป้อนคำสั่ง (Coding) ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ที่ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในภาคการผลิต และ
  3. ได้สิทธิเลือกแผนการเรียนในปีการศึกษาสุดท้าย ใน 2 แนวทาง ได้แก่ ฝึกปฏิบัติที่สถานประกอบการจริง (Internship Track) และศึกษาวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่สนใจ (Research Track)

นอกจากนี้ TSE ยังได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยอีแกม ลาซาล ประเทศฝรั่งเศส (ECAM LaSalle, France) ในการจัดตั้ง เทรนนิ่ง เซนเตอร์ (Training Center) ที่ มธ. ศูนย์พัทยา เพื่อเป็นเครือข่ายทางการศึกษาที่ครอบคลุมมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน เพื่อเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถให้กับนักศึกษาและผู้สนใจด้านวิศวกรรมยานยนต์ อีกทั้ง TSE ยังเชื่อมความร่วมมือกับสถานประกอบการใน EEC กว่า 20 แห่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของนักศึกษา

"ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกได้เร่งอัตราการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยคำนึงถึงปัจจัยด้านพลังงานและสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่ต่างตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ไทย หากเร่งศึกษาถึงแนวทางการพัฒนา 'แบตเตอรีลิเธียม-ไอออน' แหล่งพลังงานไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง เพื่อลดการนำเข้าเซลล์แบตเตอรีจากต่างประเทศ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของไทยในการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ อันสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งสนับสนุนให้ EEC ของไทยเป็น 'ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า' หรือ EV ระดับโลก ภายในปี 2030" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สนันตน์เขม อิชโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ หลักสูตร 'วิศวกรรมยานยนต์และระบบอัตโนมัติ' หรือ V-TECH ภายใต้โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (Programme of Innovative Engineering) หรือ TU-PINE พร้อมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2566 ผ่านระบบ TCAS โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัครทุกรอบได้ที่ https://engr.tu.ac.th, หรือหมายเลขโทรศัพท์ 02-564-3001 ต่อ 3256 หรือ 083-618-3410 ไลน์ไอดี@tse-thammasat และ https://web.facebook.com/ENGR.THAMMASAT


ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ช... เบเยอร์ร่วมแสดงเจตนารมณ์สู่ Net Zero มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน — กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนอ...