ม.มหิดล สร้างขุมพลังชุมชนเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย

หากเปรียบชีวิตเหมือนกับการแข่งขันกีฬา ที่สุดแห่งความหวัง คือการได้เข้ารอบสุดท้าย พร้อมขึ้นแท่นรับถ้วย และเหรียญรางวัล ก่อนโบกมืออำลาตำแหน่งแชมป์ เมื่อมีผู้มาชิงชัย

ม.มหิดล สร้างขุมพลังชุมชนเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย

เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ต้องต่อสู้กับโรคภัยที่รุมเร้าจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต แต่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตกลับไม่ใช่ถ้วยหรือเหรียญรางวัล หากคือ การมีใครสักคนหนึ่งคอยปลอบโยนผู้ป่วยอยู่ข้างเตียง และจากไปอย่างไม่โดดเดี่ยว ม.มหิดล สร้างขุมพลังชุมชนเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย

ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี ผู้ช่วยอาจารย์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 18 เจ้าของผลงานวิจัยเด่นเพื่อสังคม นำเสนอในงาน "มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม ประจำปี 2565" (Mahidol University Social Engagement Forum : MUSEF 2022) ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้น ณมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อเร็วๆ นี้

จากผลงานที่มีชื่อว่า "การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ต.เขาทองอ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์" ซึ่งกลั่นออกมาจากประสบการณ์กว่าสองทศวรรษของการเป็นพยาบาลในชุมชนผู้ทุ่มเทเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย ณ โรงพยาบาลลานสัก ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นถิ่นเกิดของ ดร.เพียงพิมพ์ปัณระสี

เมื่อได้มาปฏิบัติหน้าที่ ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาทอง รับผิดชอบดูแลประชากรในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 5,000 ราย และในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้สูงวัยถึงร้อยละ 30 และมีส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยสูงวัยระยะบั้นท้ายของชีวิต และที่เป็นผู้ป่วยระยะท้าย

ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีจำกัด ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี จึงได้ริเริ่มจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากบุคลากรทางการแพทย์ และเครือข่ายสุขภาพในชุมชน

ด้วยแนวคิดเพื่อให้ชุมชนได้ดูแลกันดุจญาติพี่น้อง จึงได้นำความรู้จากผลวิจัย และการพัฒนาที่เคยได้ดำเนินการในจังหวัดอุทัยธานี มาเผยแพร่โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) และญาติ ในการดูแลร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย จัดหาอุปกรณ์ ตลอดจนแนะนำการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมต่อผู้ป่วยระยะท้ายอย่างครบวงจร

ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี ได้บอกเล่าถึงความประทับใจจากการลงพื้นที่ กรณีหลานสาวผู้เลือกที่จะหยุดงานมาเฝ้าดูแลประคับประคองยายวัย 80 กว่าปีที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะท้ายด้วยตัวเองอย่างใกล้ชิด โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าไปช่วยแนะนำการดูแล จัดหาอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

ความประทับใจเกิดขึ้นจากการได้เห็นความงามในความผูกพันและความกตัญญูที่หลานมีต่อยายผู้เลี้ยงดูหลานมาตั้งแต่วัยเยาว์ จนยายถึงวัยชรา และต้องเจ็บป่วยจนจากไปอย่างสงบ โดยหลานยืนยันที่จะอยู่เฝ้าดูแลยายเพียงลำพังทั้งๆ ที่รู้ดีว่าถึงอย่างไรก็ไม่อาจยื้อชีวิตยาย แต่หลานก็ยังพร้อมทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดในการตอบแทนพระคุณดูแลยายจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

"ยังมีโรคอุบัติใหม่ และโรคร้ายแรงอีกมากมายที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญต่อไปอีกในวันข้างหน้า เชื่อว่าด้วยพลังแห่งเครือข่ายชุมชนที่ทุกคนให้การดูแลกันดุจญาติพี่น้องนี้จะกลายเป็นพลังที่แข็งแกร่งและยั่งยืนให้ชุมชนพร้อมยืนหยัดตั้งรับและฝ่าฟันให้ผ่านพ้นต่อไปได้ในทุกสถานการณ์" ดร.เพียงพิมพ์ ปัณระสี กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวเหรียญรางวัล+แข่งขันกีฬาวันนี้

ปรบมือให้! ทีมนักกีฬาบาสเกตบอลหญิง 3x3 ม.ศรีปทุม คว้าเหรียญเงิน การแข่งขันกีฬาปัญญาชน "ดอกจานบ้านเชียงเกมส์"

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ ทีมนักกีฬาบาสเกตบอล 3X3 SPU ประเภททีมหญิง ที่ประกอบไปด้วย นางสาวชลธิชา ริมไธสง, นางสาวอัจฉราวรรณ กายสิทธิ์, นางสาวญาณี โพธิ์สุทธิ์, นางสาวอรวรรณ บอโป๊ะ และนางสาวฐิตินันท์ มาธนโชติ โดยมี อาจารย์ณัฐนนท์ จิตรพิลา เป็นผู้จัดการทีม ในโอกาสคว้าเหรียญเงิน จากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 "ดอกจานบ้านเชียงเกมส์" และเป็นเหรียญรางวัลเหรียญที่ 2 ของทัพนักกีฬา SPU ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566

หากเปรียบชีวิตเหมือนกับการแข่งขันกีฬา ที่... ม.มหิดล สร้างขุมพลังชุมชนเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย — หากเปรียบชีวิตเหมือนกับการแข่งขันกีฬา ที่สุดแห่งความหวัง คือการได้เข้ารอบสุดท้าย พร้อมขึ้นแท่นรับถ้วย และ...

16 พฤศจิกายน 2567 กรุงเทพมหานคร : กองทัพน... เด็กไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกคว้า 36 เหรียญรางวัล จากโอลิมปิกวิชาการ ASMOPSS ที่ประเทศอินโดนีเซีย — 16 พฤศจิกายน 2567 กรุงเทพมหานคร : กองทัพนักเรียนผู้แทนจากโค...