Bilibili จัดงาน "BILIBILI YEAR END 2022" ย้ำวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนวงการอนิเมะในปี 2566

22 Dec 2022

Bilibili แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวบรวมคอนเทนต์เกี่ยวกับอนิเมะ คอมมิค และเกม เตรียมส่งท้ายปี 2565 ด้วยการจัดงาน "BILIBILI YEAR END 2022" ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา เผยวิสัยทัศน์ของปี 2566 ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแอนิเมชันประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเชิญพาร์ทเนอร์และผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการอนิเมะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับวงการอนิเมะในประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการประกาศรางวัลท็อปครีเอเตอร์ประจำปี ที่จะมอบให้กับครีเอเตอร์ที่มีผลงานโดดเด่นในช่วงปี 2565 นี้

Bilibili จัดงาน "BILIBILI YEAR END 2022" ย้ำวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนวงการอนิเมะในปี 2566

คุณตะวัน กัน ซิ่นฮั่น (Gan XinHan) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารประจำประเทศไทย ของ Bilibili กล่าวว่า "จากการเป็นผู้นำของแพลตฟอร์มวิดีโอในประเทศจีนและความสำเร็จที่ผ่านมา เราต้องการต่อยอดและนำวัฒนธรรมชุมชน (Community Culture) ของคนในกลุ่ม ACG (Animes, Comics, and Games) มาเผยแพร่ในตลาดต่างประเทศ โดยประเทศไทย ก็ถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่ Bilibili ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และสำหรับเป้าหมายในปี 2566 ของ Bilibili ประเทศไทย เราตั้งใจที่จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแอนิเมชันไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล"

คุณ กฤษฎา ชนะคุ้ม Content Manger ของ Bilibili กล่าวเสริมถึงการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และแผนงาน Bilibili
ในปีหน้าว่า "ในปีที่ผ่านมา Bilibili ประเทศไทย มีตัวเลขการเติบโตจากยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากที่ปีที่แล้วกว่า 45%
ในส่วนของ DAU (Daily Active User) และปัจจุบันเรามียอด MAU (Monthly Active User) มากกว่า 2 ล้านคน และถ้าพูดถึงคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะในส่วนของ "ครีเอเตอร์" เราได้มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Offline มากมาย ในปีที่ผ่านมา ทั้งงาน Bilibili Thailand 1st Meeting การพบปะกันครั้งแรกในประเทศไทยของเหล่าครีเอเตอร์ Bilibili รวมถึงการเข้าร่วมงานระดับประเทศอย่างงาน Thailand Game Show และงาน Thailand Comic Con ครั้งล่าสุด และในปี 2566 ที่จะถึงนี้ เราก็ได้วางแผนในการจัดกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาครีเอเตอร์ของเราในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเพิ่มพูนทักษะ (Upskill) การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับครีเอเตอร์ และการจัดกิจกรรมให้เหล่าครีเอเตอร์ได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแรงบันดาลใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการผลักดันให้ครีเอเตอร์ได้มีโอกาสทำงานและสร้างสรรค์ผลงานในระดับมืออาชีพ อย่างเช่นในปีที่ผ่านมา Bilibili ได้ผลักดันให้ช่อง "โอเว่อร์VOICE" ที่เป็นท็อปครีเอเตอร์สายพากย์เสียง ได้มีโอกาสในการพากย์เสียงแบบ Official ให้กับอนิเมะของ Bilibili กับสตูดิโอแนวหน้าอย่าง Studio Tanudun

นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของครีเอเตอร์อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัด Bilibili Class สำหรับครีเอเตอร์รุ่นใหม่ ในหัวข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพากษ์เสียง หรือ การตัดต่อวิดีโอ เพื่อให้ครีเอเตอร์มีโอกาสเรียนรู้และสรรค์สร้างผลงานที่มีคุณภาพ รวมถึงการนำเสนอคอนเทนต์แนว ACG ในรูปแบบที่หลากหลาย นอกจากนี้ก็ได้มีการนำเสนอคอนเทนต์ BL (Boy Love) ที่สอดคล้องกับกระแส "คู่จิ้น" ในประเทศไทย โดยเราได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์สาย BL ชั้นนำ อย่าง Madan.fun ที่จะมาร่วมสร้างคอนเทนต์กับ Bilibili โดยเราคาดหวังว่าในปี 2566 Bilibili จะมีคอนเทนต์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของ OGVs (Occupationally Generated Videos) และ UGVs (User Generated Videos)" เหล่ากูรูวงการอนิเมะร่วมพูดคุย "ทิศทางของอุตสาหกรรมแอนิเมชันไทยในปี 2566"

Bilibili มีการวางแผนในการพัฒนาและผลิตแอนิเมชันในประเทศไทย รวมถึงการสร้างครีเอเตอร์ที่มีศักยภาพเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะ และสำหรับงาน BILIBILI YEAR END 2022 ที่ผ่านมา ทาง Bilibili ได้รับเกียรติจากกูรูในวงการอนิเมะ ที่มาร่วมพูดคุยกันในหัวข้อ "ทิศทางของอุตสาหกรรมแอนิเมชันไทยในปี 2566" โดยมีใจความสำคัญจากการพูดคุย ดังนี้

"ในปีหน้า วงการแอนิเมชันของประเทศไทยมีโอกาสเติบโตมากขึ้น จากการที่มีแพลตฟอร์มอย่าง Bilibili รวมถึงผู้ผลิตแอนิเมชันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศที่เริ่มสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง และในส่วนของนักพากย์เสียงในประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้น ทั้งนี้อยากขอความร่วมมือจากทุกๆ คน ในการร่วมผลักดันวงการอนิเมะของเราให้ก้าวไปข้างหน้า'' คุณภัทร-ภัทร ชนารัตน์ CEO จาก KP Learning Space

การที่จะทำให้อุตสาหกรรมแอนิเมชันเติบโตต่อไปได้ สิ่งหนึ่งคืออยากให้ทุกคนสนับสนุนช่องทางที่ถูกลิขสิทธิ์ ทั้งในส่วนของผู้ใช้งานและครีเอเตอร์" คุณเอิร์ธ-สรวิศ ตงเท่ง ผู้ก่อตั้ง Studio Tanudun "โดยปัจจุบันงานพากย์ไทยได้รับความสนใจมากขึ้น จากการที่มี Social Media และช่องทางการสื่อสารที่มากขึ้น คนเริ่มสนใจเบื้องหลังของการทำงานพากย์เสียง และสนใจอยากจะเป็นนักพากย์มากขึ้น โดยสำหรับวงการอนิเมะ" คุณเอิร์ธ กล่าวเสริม

ทั้งนี้ กูรูอนิเมะทุกคนเห็นตรงกันว่าอาชีพนักพากย์กำลังมาแรงในประเทศไทย โดยเฉพาะในแพลตฟอร์ม Bilibili
ที่ให้โอกาสครีเอเตอร์ในการเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอนิเมะ สะท้อนให้เห็นว่าในปีหน้า จะมีนักพากย์อาชีพเกิดขึ้นอีกมากมายในวงการอนิเมะของประเทศไทย

นอกจากเหล่ากูรูที่ได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับวงการอนิเมะในประเทศไทย ภายในงานยังมีพาร์ทเนอร์ของ Bilibili ที่มาร่วมงาน "BILIBILI YEAR END 2022" ทั้งในส่วนของบริษัท Show No Limit และสื่อด้านเทคโนโลยีและไอทีชั้นนำอย่าง Beartai ที่เป็นผู้จัดงาน Thailand Game Show และบริษัท Polygon บริษัทแนวหน้าด้าน VCreator ของเมืองไทย สอดคล้องกับแผนงาน Bilibili ในปีหน้า ที่จะให้ความสำคัญในด้านของกิจกรรมที่ส่งเสริมคอมมูนิตี้ และการสนับสนุนครีเอเตอร์ที่เป็น Virtual Creator (VCreator) บนแพลตฟอร์ม Bilibili

เปิดลิสต์ 10 ท็อปครีเอเตอร์ของ Bilibili ที่ได้รับรางวัลครีเอเตอร์ประจำปี

รางวัลครีเอเตอร์ประจำปีของ Bilibili จะมอบให้กับครีเอเตอร์ที่มีความโดดเด่นบนแพลตฟอร์ม โดยในปีนี้มีครีเอเตอร์ที่ได้รับเลือกจำนวน 10 คน รวมของรางวัลมูลค่ามากกว่า 1,000,000 บาท โดยมีรายชื่อของครีเอเตอร์ที่ได้รับโล่รางวัล และของรางวัลสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จาก Bilibili ดังนี้

  • โอเว่อร์VOICE - ช่องของเหล่าคอมมูนิตี้สายพากย์เสียงที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
  • OHAYO ANIME - บอกเล่าข่าวสารและรีวิวอนิเมะแบบ ครบ จบ ในช่องเดียว
  • StillPlayReview - อัปเดตข่าวสารในวงการอนิเมะก่อนใคร
  • ป๋องแป๋งQwQ - มือโปรด้านการป้ายยาอนิเมะ
  • ทังโกบง - ตัวตึงมังงะพากย์ไทย
  • CEO TV - แนะนำตัวละครอนิเมะแบบจัดเต็ม
  • Natea - รวมสารพัดข่าวสารเกี่ยวกับอนิเมะ
  • OverReview - ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีวิวอนิเมะ
  • Kledr - วิเคราะห์อนิเมะแบบจัดหนัก
  • KAO-PAN - ยืนหนึ่งด้านการพากย์นรก

สำหรับผู้ที่มีความชื่นชอบและสนใจรับชมคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะ คอมมิค และเกม รวมถึงคนที่อยากเป็นครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์ม Bilibili เพียงดาวน์โหลดแอป Bilibili ผ่านช่องทาง Google Play หรือ App Store หรือสามารถติดตาม Bilibili บนหน้าเว็บได้ที่ bilibili.tv

Bilibili จัดงาน "BILIBILI YEAR END 2022" ย้ำวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนวงการอนิเมะในปี 2566
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit