อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ปลื้มยอดปี 2022 ตามเป้า ลุยตลาดไทยและต่างประเทศต่อเนื่องตลอดปี พร้อมเผย เทรนด์น่าจับตา ในปี 2023
อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ปลื้มยอดรวมปี 2022 ปิดยอดเกือบ 1,000 ล้านบาท ตามเป้าที่ตั้งไว้เผยภาพรวม ธุรกิจอีเว้นท์ปีนี้เติบโต โดยทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจหลักของอินเด็กซ์ฯ คือ 1. กลุ่มครีเอทีฟ บิซซิเนส ดีเวลลอปเม้นท์ (Creative Business Development) 2. กลุ่มมาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส (Marketing Service) และ 3. กลุ่มโอน-ครี เอชั่น (Own-Creation) มีการเติบโตสูงขึ้น รุกตลาดเอเชียปี 2566 อย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โลกคลี่คลาย พร้อมอัพเดทเทรนด์"พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปี 2023"
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการตลาดเชิงสร้างสรรค์อย่างครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า เราสร้าง แคมเปญใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำความเป็น Creative Business Solutions ผ่านกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่าง Hybrid Experience ที่เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลอันทันสมัย และเทคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นเองเพื่อทำให้งานอีเว้นท์ของเรานั้น แปลกใหม่ส่งต่อประสบการณ์อันพิเศษน่าจดจำไปยังผู้ชม ซึ่งแผนปี 2566 มุ่งเน้น 4 เป้าหมายหลัก คือ เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) รวมถึงพัฒนาเทรน Metaverse, การสร้างสรรค์ประสบการณ์และจินตนาการที่แปลกใหม่อย่าง ไร้ขีดจำกัด (Immersive Experience) ตั้งแต่ไลฟ์สไตล์ ไอเดีย แนวคิด นวัตกรรมไปยันมรดกทางวัฒนธรรมผ่านงานอี เว้นท์ในช่วงเวลาต่าง ๆ มากถึง 18 โปรเจค, มุ่งบุกตลาดเอเชีย (Invest Asia) 7 ประเทศเป้าหมายหลัก คือ ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สิงคโปร์, คาซัคสถาน, ซาอุดิอาระเบีย, กัมพูชา, และประเทศไทย พร้อมเดินหน้าจับกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยว (Tourist Segment) ที่กลับมาคึกคักหลังเปิดประเทศ
นอกจากนี้ยังเผยงานวิจัยออนไลน์โดย บริษัท เอ็นไวโรไทยแลนด์ จำกัด (ในเครือบริษัทอินเด็กซ์ครีเอทีฟ วิล เลจ) เป็นบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ระดับโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก เอ็นไวโรไทยแลนด์กว่า 10 ที่ผ่านมา เทรนด์ของ เอ็นไวโรไทยแลนด์สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างแท้จริง เป็นประโยชน์ทั้งต่อนักการตลาด ผู้ประกอบการรายเล็ก รายใหญ่ รวมถึงตัวผู้บริโภคเอง เพื่อเข้าใจบริบท ของโลก และสังคมไทย เตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างมีกลยุทธ์ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ออนไลน์และการ weight ทางสถิติ เพื่อเป็นตัวแทนประชากร 1000 คน ในกลุ่ม หญิง ชาย LGBTQ อายุ 18-55, ทุกกลุ่มรายได้ และอาชีพ ทั่วประเทศไทย
โดยเทรนด์ที่น่าจับตามองคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2023 พบว่า 85% ของคนไทยต้องการเห็นความเสมอ ภาคทางสังคม และการเปิดกว้างทางเพศ EQUALITY & DIVERSITY: ความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Y จากผลสำรวจของ Rainmaker Thinking: blog สำรวจกลุ่มที่เป็น Gen Z ทั้งหมด 4,093 พบว่า gen z เน้นความเท่าเทียมเกี่ยวกับเรื่องค่าจ่ายค่าแรง มากกว่าเรื่องใด ๆ ถึง 74% จากการศึกษาของ Facebook พบว่า แบรนด์ที่โฆษณาสื่อถึงการเปิดกว้าง ยอมรับความเสมอภาค ความแตกต่างจะได้รับความไว้วางใจจาก ผู้บริโภคมากถึง 60% แบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงคนรุ่นใหม่จึงต้องสนับสนุนเรื่องความเสมอภาค การเปิดโอกาสตาม ความสามารถอย่างแท้จริง SUSTAINABILITY: รักษาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ล่าสุดข้อมูลวิจัยของ เอ็นไวโรไทยแลนด์พบว่า 65% ของคนไทยสนับสนุนสินค้า บริการที่มีวัตถุประสงค์ด้าน sustainability. โดยคนไทย กลุ่ม GEN Y X สนับสนุนเรื่องนี้มากกว่ากลุ่มอื่น (90%) สอดคล้องกับข้อมูลของ Mckinsey ที่รายงานว่า 66% ของ ผู้บริโภคทั่วโลกสนับสนุนเรื่อง sustainability โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y (75%) โดยแรงบันดาลใจในการรักษ์โลก ของคนไทยเริ่มมาจากการประหยัดค่าใช้จ่าย ก่อนต่อยอดไปสู่พฤติกรรมรักษ์โลก สอดคล้องกับการศึกษาของ Harvard business review ว่า มีเพียง 26% เท่านั้นที่ยอมจ่ายแพงสำหรับสินค้าบริการที่มีวัตถุประสงค์รักษ์โลก หรือ sustainability ซึ่งอาจจะขายได้แต่คนเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูง ดังนั้นแบรนด์ที่มีวัตถุประสงค์ด้าน Sustainability ที่ ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ผู้บริโภคมาช่วยกันรักษ์โลกจริง ๆ ต้องเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ ซึ่งในยุคที่ทุกคนระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องเริ่มจากการที่ผู้บริโภคเห็นผลประโยชน์จากการช่วยลดการใช้จ่ายก่อน คือรักษ์โลกแล้วช่วยประหยัดด้วย ไม่ใช่รักษ์ โลกแล้วต้องจ่ายแพง การใช้โซลาร์เซลล์เป็นตัวอย่างที่ดีมากในการกระตุ้นให้ใช้ไฟฟ้าน้อยลง เพราะช่วยประหยัดค่าไฟ หรือการใช้รถไฟฟ้าเพราะประหยัดค่าน้ำมัน ยังแรงไม่ตกสำหรับเทรนด์สุขภาพ
ยังแรงไม่ตกสำหรับเทรนด์สุขภาพกับเทรนด์HEALTH & WELLNESS: รักสุขภาพ 64% ของคนไทย ใส่ใจเรื่อง สุขภาพกาย กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดแป้ง ไขมัน น้ำตาล ถึงแม้กลุ่มที่พบปัญหาเรื่องสุขภาพมากที่สุดคือกลุ่ม baby boomer แต่กลุ่มที่ตั้งใจรักษาสุขภาพมากที่สุดกลับเป็นกลุ่ม Gen X Y โดยสองกลุ่มนี้มุ่งมั่นรักษาสุขภาพผ่านการ ออก กำลังและลดน้ำหนัก เป็นหลัก สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่ศึกษาโดย Mindshareworld พบว่า 66% ของผู้บริโภคทั่วโลก สนใจเรื่องสุขภาพ จึงยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับกลุ่มสินค้า บริการด้านสุขภาพ นอกจากสุขภาพกายแล้ว ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่พบมากในกลุ่ม Gen Z ซึ่งไม่เฉพาะคนไทย แต่เป็นปัญหาของกลุ่ม Gen Z ทั่วโลก ข้อมูลจาก เอ็นไวโรไทย แลนด์จากข้อมูลของ American Psychological Association (APA) พบว่า 45% ของ GEN Z มีปัญหาด้าน สุขภาพจิต เป็นกลุ่มที่สมควรพึ่งพาจิตแพทย์มากที่สุด แต่มีแนวโน้ม เชื่อ influencer หรือเพื่อนมากกว่า ซึ่งขาด ประสบการณ์ชีวิต และมีโอกาสให้คำแนะนำผิด ๆ โดยการศึกษาของเอ็นไวโรไทยแลนด์พบว่าความเครียดของคนกลุ่ม Gen Z มาจาก การไม่มีใจทำงาน การบูลลี่กันเอง ความอยากมีอยากได้ทำให้ใช้เงินเกินตัว การสร้างภาพในโลกโซเชียลเป็นต้น ซึ่งวิธีคลายเครียดของคนกลุ่มนี้คือ เที่ยวเล่น เล่นเกมส์อยู่หน้าจอ ซึ่งการใช้smart phone หรือการอยู่หน้าจอ ที่สูงทำให้เกิด Digital Toxic และอาจส่งผลต่อสังคมได้
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit