มองแนวคิดบ้านยุคเจน Z ผ่านงานประกวด COTTO Design Contest 2022

ช่วงอายุของคนที่แตกต่างกันท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมีมุมมอง ความคิด พฤติกรรม และนิสัยที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเจนเนอเรชั่น X (อายุ 4และสิ่งแวดล้อม - 54 ปี)เจนเนอเรชั่น Y (อายุ ฮาคูโฮโด3 - 39 ปี)เจนเนอเรชั่น Z (อายุ การวิจัยและสิ่งแวดล้อม - ฮาคูโฮโดฮาคูโฮโด ปี) จากการวิจัยของสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ ฮิลล์ อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN: HILL ASEAN) เอเจนซีโฆษณารายใหญ่จากญี่ปุ่น ยืนยันว่า คน Gen Z ซึ่งก็น่าจะอยู่ในสถานะ นักเรียน นักศึกษาและคนเริ่มต้นทำงานในปัจจุบัน เป็นประชากรที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเจนอื่นในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็นร้อยละ ฮาคูโฮโด4% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งนั่นย่อมหมายความถึงว่า เจนเนอเรชั่นนี้ จะมีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคเป็นอย่างมาก แม้ว่าในอีกแง่มุมหนึ่งประเทศไทยที่ถึงแม้จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่บทบาทของ Gen Z ก็นับได้ว่าจะเข้ามามีบทบาทและมีส่วนชี้นำการเลือกซื้อสินค้าให้กับผู้สูงอายุ

มองแนวคิดบ้านยุคเจน Z ผ่านงานประกวด COTTO Design Contest 2022

สถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิถีชีวิตและบริบทแวดล้อมรอบตัวเราล้วนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ และให้ความสำคัญกับธรรมชาติมากขึ้น ด้วยแนวคิดในการอยู่ร่วมกันของคน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อม ๆ กับตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของครอบครัวยุคใหม่ ผลการจัดโครงการประกวดออกแบบ COTTO Design Contest 2022 ที่ COTTO เชิญชวนนิสิต นักศึกษามาร่วมออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยในฝันสร้างสรรค์  Dream Space ภายใต้แนวคิดที่ใส่ใจสุขภาพ และธรรมชาติรอบตัว ร่วมกันเนรมิตพื้นที่แห่งความสุขใจ สะดวกสบาย ปลอดภัย และใกล้ชิดธรรมชาติสำหรับทั้งตัวเอง และทุกคนในครอบครัวภายใต้ธีม Alltopia-Utopia for All โดยให้ผู้เข้าร่วมประกวดออกแบบพื้นที่พักอาศัย ขนาด 24 - 32 ตารางเมตร ที่ประกอบด้วย 2 ฟังก์ชั่นใช้สอยที่ต่างกัน โดยสามารถกำหนดรูปแบบการใช้งาน ตำแหน่งช่องเปิด ความสูงฝ้าเพดาน หรือผนังแบ่งพื้นที่ได้อย่างอิสระ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานได้จริงเป็นหลัก จึงมีนัยที่น่าสนใจมากกว่าเพียงแค่ผลสำเร็จของงานออกแบบที่ได้รับรางวัล แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแบบบ้าน หรือที่พักอาศัย ของ Gen Z ที่จะมีบทบาทสำคัญในฐานะ Main Spenders ใหม่ ว่าแท้จริงแล้วน่าจะเป็นเช่นไร มองแนวคิดบ้านยุคเจน Z ผ่านงานประกวด COTTO Design Contest 2022

นายสิทธิชัย สุขกิจประเสริฐ  Chief Marketing Officer  ดูแลกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเบื้องแบรนด์ COTTO เปิดเผยถึงผลสำเร็จในการจัดการประกวดในครั้งนี้ว่า " ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ผ่านมา บทบาทของที่อยู่อาศัยมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก และมีผลต่อวิถีชีวิตของผู้พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น ในฐานะผู้ผลิตวัสดุ คำถามที่เกิดขึ้น ก็คือ ใครที่จะมีบทบาทนำสินค้าของเราไปสู่ผู้ที่อยู่อาศัยได้ดีที่สุดก็คงจะเป็นนักออกแบบ  ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นักออกแบบที่ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นตัวแทนกลุ่มเจนเนอเรชั่นใหม่ที่จะมีบทบาทสำคัญในตลาด  ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ เรากำลังมองเห็นวิธีคิด การเลือกวัสดุ และการนำไปพัฒนาประยุกต์ใช้ให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และความต้องการ  ที่สะท้อนให้ถึงแนวทางการพัฒนาสินค้าของเราว่าสอดรับกับความต้องการของผู้พักอาศัยเหล่านี้ด้วยหรือไม่

จากผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้ามาประกวดกว่า 250 แบบจากทั่วประเทศ  รวมถึงการจัดกิจกรรม Workshop ที่เปิดโอกาสให้เราได้แลกเปลี่ยนมุมมองความคิด และการพัฒนาวัสดุให้ผู้เข้าประกวดได้เห็น และนำไปพัฒนาในการออกแบบที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นถึงวิธีการผสมผสานจากหลากหลายกรอบความคิด การพยามยามมีส่วนรับผิดชอบ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของGen Z ได้อย่างน่าสนใจ เพราะสิ่งหนึ่งที่เติบโตมากับเจนเนอเรชั่นนี้คือ ความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านรอบตัว  การตีโจทย์ Alltopia-Utopia for All ด้วยการมองโลกตามความเป็นจริง พร้อมการหามุมมองใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ด้วยการเชื่อมความต่างอย่างประนีประนอม  ในการอยู่ร่วมกันของคนต่างเจนเนอเรชั่นและสิ่งแวดล้อม  จากแนวคิดการออกแบบที่พักอาศัย ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ Gen Z ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสินค้าของเราต่อไป  ในขณะเดียวกันก็นับเป็นการเปิดโอกาส หรือเวทีให้ผู้เข้าประกวด  ก็ได้มีโอกาสในการพัฒนาการเป็นนักออกแบบและสัมผัสกับความต้องการของผู้พักอาศัยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งผลงานของผู้ได้รับรางวัลได้มีการจัดแสดงในงานบ้านและสวนที่ผ่านมาด้วย"นายสิทธิชัยกล่าวสรุป

สัมผัสพื้นที่แห่งความสุขแบบ Dream Space หรือ Alltopia  ผ่านมุมมองของ Gen Z

จากการเปิดเผยของ นายรหัท มีกุศล และนางสาวภัณฑิรา คชเสนี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เจ้าของผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศ จาก โครงการ COTTO Design Contest2022 ด้วยผลงานชุด "น้ำกลิ้งบนใบบัว" หรือ พื้นที่สุขภาพและธรรมชาติ  โดยเริ่มต้นมาจากความต้องการให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของทุกคน ผนวกกับแนวคิดที่ทาง COTTO ให้มาคือ Dream space จึงเป็นแนวคิดการออกแบบให้เสมือนอยู่ใต้น้ำ   โดยต้องการสร้างประสบการณ์ในการอยู่ร่วมอาศัย และเกิดการรับรู้ธรรมชาติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งเป็นการบำบัดและเชื่อมผู้อาศัยเข้าสู่ธรรมชาติ และพวกเราดึงนำองค์ประกอบของการกลิ้งของน้ำบนใบบัวมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ  มีการปรับเปลี่ยนและลดทอนองค์ประกอบให้เกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมาใหม่ โดยจุดเด่นก็คือ ความกลมกลืนของพื้นที่ ทำให้ผู้อาศัยเกิดการหลอมรวมกับธรรมชาติได้มากที่สุด ตั้งแต่ฟอร์มของตัวอาคารที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากใบบัวที่มีน้ำกลิ้ง ด้านบนมีลักษณะกลมมน แสงของช่องเปิดที่ส่องผ่านลงมาถึงบริเวณพื้นที่การใช้งาน มีความโดดเด่นด้วยแสงที่หักเหกับกระจกเกิดเป็นเส้นริ้วคล้ายน้ำฉายอยู่ภายในห้อง การปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้สามารถหมุนได้ เพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองในการรับรู้ธรรมชาติ ตามแนวคิด "น้ำที่กลิ้งไปมาบนใบบัว" รวมถึงการเลือกใช้วัสดุตกแต่ง ที่มีความสอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสม เช่น การใช้กระเบื้องฟอกอากาศในห้องนั่งเล่น การใช้กระเบื้องยังยั้งแบคทีเรีย (Hygienic tile) ในห้องครัว และลักษณะของลายกระเบื้องที่ทำให้รู้สึกถึงความกลมกลืนและใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในชุด "อยู่เถียง" โดย นายวสุ ขวัญอยู่เย็น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้บอกเล่าถึงแนวคิดเริ่มต้นของการออกแบบในครั้งนี้ว่า "ผมได้ตั้งคำถามกับโจทย์ว่า Alltopia คืออะไร ผมได้ตีความหมายว่า คือ พื้นที่ที่ทุกคนสามารถอยู่ได้ และความหมายของการอยู่ได้ของผมนั้นคือ ต้องสามารถนอนและทำกิจกรรมต่างๆได้ครบในพื้นที่นั้น ผมจึงได้ออกแบบฟังก์ชั่นของพื้นที่นี้ขึ้นมาประกอบไปด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่น แล้วจึงตั้งคำถามต่อว่า เราจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างไร  ผมได้มีสอง solution คือนำธรรมชาติเข้ามาในโครงการ หรือ นำโครงการออกไป  ผมได้เลือกในรูปแบบที่สองคือการนำตัวเราเข้าไปสู่ธรรมชาติ  ปัญหาต่อมาก็คือ แล้วเราจะอยู่ในธรรมชาติได้อย่างไรให้รู้สึก comfort ผมจึงเกิดการปิดกั้นห้องและฟังก์ชั่นต่างๆให้เกิดพื้นที่ชัดเจนให้เกิดความปลอดภัยและด้วยความที่ว่าเรานำตัวเองมาสู่พื้นที่ธรรมชาติ ผมได้มีการออกแบบให้โครงการนี้มีการนำหลักของ passive design มาร่วมออกแบบในโครงการเช่นช่องลม และ แสงธรรมชาติ ทำให้โครงการนี้นอบน้อมไปกับบริบทและเข้าถึงธรรมชาติได้อย่างเป็นกันเองและทั้งหมดนี้คือที่มาของโครงการ "อยู่เถียง"

และที่น่าสนใจไม่แพ้ผลงาน 2  รางวัลที่ผ่านมา ก็คือผลงานชุด  ได้แก่  "The Playground of Alltopia" ที่ออกแบบโดยนายทรงพล กุศลสนอง และนางสาวกณิศ เต็งธนกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นอกจากจะได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 แล้ว ยังคว้ารางวัล Popular Vote ไปครองด้วยอีก 1 รางวัล นั้นเปิดเผยแนวคิดและกับแบบบ้านที่เลือกใช้ในการออกแบบจากการตีความ Alltopia ให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแพร่ระบาดของCovid-19 ทุกคนเริ่มหันมาทำกิจกรรมในบ้านร่วมกับครอบครัว  เริ่มใส่ใจกับความสะอาด และสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้ การออกแบบเน้นไปที่ การออกแบบพื้นที่ให้สมาชิกมีบทบาทที่สามารถเชื่อมโยง หรือมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนั้นๆ เข้าถึงกันได้อย่างลงตัว จึงเป็นที่มาของชื่อผลงานว่า  "The Playground of Alltopia"   โดยเลือกใช้อาคารแบบ Townhouse 3 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับความนิยมใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในเมืองใหญ่ และส่วนมากผู้พักอาศัยไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้งานอาคารได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศแบบ Outdoor ด้วยเหตุผลจากมลภาวะ ความเป็นส่วนตัว และข้อจำกัดของอาคารนั่นเองนำมาดัดแปลง ให้ตอบสนองแนวคิดดังกล่าว โดยเริ่มจากการรื้อโครงสร้างพื้นชั้นบนของชั้น2 ของตึกออกไป จนเกิดเป็นชั้นลอยที่ชั้น3 หรือ Double Space  และเปิดหลังคาดาดฟ้าของตึกออก เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้ามาภายในพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เล่นของเด็ก และจัดให้ส่วนบริเวณที่เป็น Semi-outdoor เป็นพื้นที่ประกอบอาหารที่ทำให้พ่อแม่สามารถมองเห็นลูกๆได้ตลอดเวลา และทำให้เกิดความต่อเนื่องและความลื่นไหลของ Space ด้วยการใช้เส้นโค้ง มาวางผังของส่วนประกอบอาหาร และจัดด้านในของ Space ให้เป็นพื้นที่นั่งพักผ่อนของผู้สูงอายุภายในบ้าน พร้อมใช้เฟอร์นิเจอร์ มาช่วยรองรับการใช้พื้นที่ที่สมาชิกจะทำกิจกรรมร่วมกันได้ โดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มเด็กและผู้สูงวัย  ซึ่งในส่วนนี้ กระเบื้องของคอตโต้สามารถตอบโจทย์ในแง่ของฟังก์ชั่น งานดีไซน์ และบรรยากาศในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งช่วยดักจับฝุ่นละออง และแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากการที่เป็นพื้นที่แบบ Semi-outdoor อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ผลงานการประกวดดังกล่าว อาจเป็นเพียงตัวอย่างที่สะท้อนมุมมอง ความคิด ถึงแนวคิดรูปแบบบ้าน ที่พักอาศัยของ Main Spenders ที่จะมีขึ้น และสอดรับกับผลการวิจัยของ ฮิลล์ อาเซียน ที่ว่า ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z  ถึง 85% ให้ความสนใจที่จะมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคม และเห็นด้วยว่า พวกเขาเต็มใจจ่ายมากขึ้นอีก 10% ถ้าแบรนด์มีส่วนในการแก้ปัญหาทางสังคม พวกเขามีความคาดหวังอย่างมากต่อแบรนด์ต่างๆ และมองว่าแบรนด์ควรเติมเต็มในหลากหลายบทบาทต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสังคม


ข่าวและสิ่งแวดล้อม+สิ่งแวดล้อมวันนี้

อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"

นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) ในฐานะประธานอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มอบเกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับ "องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ อ.อ.ป." หน่วยงานในสังกัด ทส. ที่มี "ผลการประเมินคุณธรรม ประจำปี 2567" ระดับ "องค์กรพัฒนาคุณธรรม" ตามโครงการส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม โดยมี นายถนอมศักดิ์ เฉียบแหลม รองผู้อำนวยการ

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับ สำนักง... กปภ. ผนึกกำลัง สอศ. อบรมช่างประปาฟรี สร้างอาชีพให้ประชาชน — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีเปิดโครงการฝึ...