การประชุมวิชาการนานาชาติด้านโภชนาการโคนมและคุณภาพน้ำนม ครั้งที่ 7 และการประชุมว่าด้วยการพัฒนานมพาสเจอร์ไรส์ตามโครงการนมคุณภาพสูงของจีน ครั้งที่ 4 ได้มีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยในการประชุมดังกล่าว ได้มีการเปิดตัวโลโก้ "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ขณะที่บริษัท ฝูเจี้ยน ฉางฟู แดรี จำกัด (Fujian Changfu Dairy Co., Ltd.) ได้กลายเป็นบริษัทแรกของจีนที่ได้รับอนุญาตให้นำโลโก้ดังกล่าวมาใช้ได้ โลโก้สีเหลืองพื้นหลังแดงนี้เป็นสัญลักษณ์ความสำเร็จของจีนในการส่งเสริมการดำเนิน "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ซึ่งเป็นผลจากความพยายาม ความทุ่มเท และความมุ่งมั่นอันนับไม่ถ้วนขององค์กรและบุคลากรในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของจีน ในเรื่องความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์นม
"โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2559 และได้ผ่านช่วงเวลาความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมจีนมานับตั้งแต่นั้น โครงการดังกล่าวได้นำเสนอแนวคิดที่มีความก้าวล้ำในการ "กำหนดให้โภชนาการอาหารเพื่อการออกกำลังกายเป็นมาตรฐานหลักสำหรับนมคุณภาพสูง" รากฐานนี้ได้เข้ามากำหนดระบบทางเทคนิคที่เป็นมาตรฐานในการประเมินนมคุณภาพสูงในจีน ซึ่งได้เข้ามาแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในเรื่อง "มาตรฐานคุณภาพ" ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของจีน ขณะเดียวกัน "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ได้เข้ามานำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมของจีนในการเปลี่ยนจากเดิมที่แข่งขันกันโดยอาศัยสี ประเภท และบรรจุภัณฑ์โฆษณาที่เกินจำเป็น ไปเป็นการพัฒนาคุณภาพภายในแทน
ปริมาณแลคโตเฟอรินในนมพาสเจอร์ไรส์คุณภาพสูงในประเทศ ได้เพิ่มขึ้นจาก 10.4 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อปี 2560 เป็น 44.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ในปี 2564 สูงกว่านมนำเข้าถึง 8 เท่าตัว ตัวบ่งชี้ด้านคุณภาพและความปลอดภัยในนมสดคุณภาพสูงของจีนได้แซงหน้าตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานยุโรปและอเมริกันไปแล้ว ความสำเร็จของ "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ได้สวนกระแสที่ว่าตลาดผลิตภัณฑ์นมของจีนนั้นนิยมนมนำเข้าเกินไป และสะท้อนให้ทั้งประเทศเห็นแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า "นมคุณภาพสูงนั้นผลิตได้ในประเทศ"
หนาน เจิ้ง (Nan Zheng) ผู้นำทีมดำเนินการประจำ "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" และรองประธานบริหารกลุ่มพันธมิตรนมคุณภาพสูงของจีน กล่าวในการประชุมว่า "โครงการนมคุณภาพสูงของจีนเป็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการต่อไป" โดยทางคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ได้รวม "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ไว้ในแผนโภชนาการแห่งชาติมาเป็นเวลาสองปีติดต่อกันแล้ว อุตสาหกรรมและองค์กรธุรกิจในภาคส่วนผลิตภัณฑ์นมของจีน จึงมีพันธกิจสำคัญในการ "สร้างชาติให้เข้มแข็งด้วยนมหนึ่งแก้ว" และในการประชุมดังกล่าว บริษัทผลิตภัณฑ์นม 64 ราย จาก 25 มณฑล ได้ร่วมกันเปิดตัว "แผนปฏิบัติการสำหรับโครงการนมคุณภาพสูงของจีนในการส่งเสริมแผนโภชนาการระดับชาติ"
ที่มา: การประชุมว่าด้วยการพัฒนานมพาสเจอร์ไรส์ตามโครงการนมคุณภาพสูงของจีน ครั้งที่ 4
การประชุมวิชาการนานาชาติด้านโภชนาการโคนมและคุณภาพน้ำนม ครั้งที่ 7 และการประชุมว่าด้วยการพัฒนานมพาสเจอร์ไรส์ตามโครงการนมคุณภาพสูงของจีน ครั้งที่ 4 ได้มีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยในการประชุมดังกล่าว ได้มีการเปิดตัวโลโก้ "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ขณะที่บริษัท ฝูเจี้ยน ฉางฟู แดรี จำกัด (Fujian Changfu Dairy Co., Ltd.) ได้กลายเป็นบริษัทแรกของจีนที่ได้รับอนุญาตให้นำโลโก้ดังกล่าวมาใช้ได้ โลโก้สีเหลืองพื้นหลังแดงนี้เป็นสัญลักษณ์ความสำเร็จของจีนในการส่งเสริมการดำเนิน "โครงการนมคุณภาพสูงของจีน" ซึ่ง
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025 ความร่วมมือ
—
รศ.ดร.ยศวีร...
กรม สบส.จับมือ 6 หน่วยงาน จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ผลักดันผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงและอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพสู่เวทีโลก
—
กรมสนับสนุน...
Bitkub Academy เตรียมร่วมประชุมเทคโนโลยีระดับโลก "ICIS 2024" จุดเปลี่ยนวงการ Information Systems ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
—
บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำ...
ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Sustainable Animal Welfare) อนาคตสำหรับอาหารมั่นคง-ปลอดภัย เพื่อ คน สัตว์และสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืน
—
อุตสาหกรรมเกษตรและการเ...
ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณรางวัล Thailand Vision Zero Award
—
นายโชคชัย สงสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแน...
พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5 และการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ครั้งที่ 3
—
สมเด็จพระกนิษฐ...
เฟพอน ร่วมงาน JITMM 2023 โชว์ความเชี่ยวชาญด้านการตรวจวินิจฉัยโรค
—
เฟพอน (Fapon) บริษัทชีววิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ขึ้นเวทีแสดงความเชี่ยวชาญในการประชุมวิ...
EGCO Group ชูแผนขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน มุ่งเป้า Net Zero 2050 ในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 2023
—
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ...
วว.เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ APCTT ณ กรุงทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน
—
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไ...