"สหพัฒน์แอดมิชชั่น" แนะ 7 ทริค เตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนปัง ๆ

19 Dec 2022

หลังจากโครงการ "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 25 ภายใต้แนวคิด "DEK66 NEW GAME ติวติดอาวุธพร้อมรบสุดสนามสอบ" โครงการจัดทบทวนความรู้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายให้นักเรียนก่อนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) โดยผลิตภัณฑ์ มาม่า บิสชิน มองต์เฟลอ ริชเชส และมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา จัดขึ้นเพื่อติดอาวุธเด็กไทยให้พร้อมก่อนลงสนามสอบจริง จุดพลุเปิดตัวโครงการ พร้อมทั้งเดินหน้าและดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2565 จนสนามสอบ TGAT/TPAT ได้เปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา บทความนี้ รวบรวมเทคนิคดี ๆ จากพี่ ๆ ติวเตอร์และเน็ตไอดอลเกี่ยวกับการอ่าน การทำข้อสอบ และการเตรียมตัวครั้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่สนามสอบจริง เพื่อร่วมเป็นกำลังใจและเสริมสร้างความมั่นใจครั้งสุดท้ายให้กับน้องๆ ทุกคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สนามสอบ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสอบอื่น ๆ ได้ด้วย กับ 7 ทริคเตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนปัง ๆ ดังนี้

"สหพัฒน์แอดมิชชั่น" แนะ 7 ทริค เตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนปัง ๆ
  1. ใช้เวลาให้คุ้มค่า เพราะทุกวินาทีมีค่า เวลาที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด ควรจัดสรรเวลาสำหรับการทบทวนเนื้อหารอบสุดท้าย โดยให้ความสำคัญกับวิชาที่ไม่ถนัด หรือยังไม่มั่นใจ เพื่อช่วยเสริมคะแนนในส่วนนี้ เพราะแม้ว่าจะจำได้ไม่หมดแต่การทำให้เต็มที่เพื่อคะแนนที่จะเพิ่มมาอีกแม้จะเพียงแค่นิดหน่อย ก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย
  2. เก็บเทคนิคดี ๆ จากติวเตอร์ ปัจจุบันโปรแกรมติวฟรีเหลือค่อนข้างน้อย แต่ยังสามารถเข้าไปฟังย้อนหลังได้อยู่ เวลาที่เหลือน้อยนิดอย่าลืมตามไปเก็บเทคนิคดี ๆ ของเหล่าพี่ ๆ ติวเตอร์ ที่แต่ละคนก็จะมีเทคนิคดี ๆ ให้ สามารถหยิบเอาไปใช้ในห้องสอบกันได้
  3. ทบทวนบทเรียนเงียบ ๆ คนเดียว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจและจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ควรทบทวนบทเรียนคนเดียวในที่เงียบ ๆ เพื่อให้เกิดสมาธิสูงสุด และมีสติมากพอที่จะจดจำหรือทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ เพราะเมื่อสติมาปัญญาจะเกิด
  4. ถอยห่างจากโลกโซเชียลมีเดียชั่วคราว แล้วจะพบว่ามีเวลาเหลือเพียงพอสำหรับที่จะไปทบทวนตำราได้อีกพอสมควร โดยเฉพาะกับคนที่ยังไม่เต็มอิ่มกับการทบทวน เวลาที่เหลือนี้มีค่ายิ่งกว่าทองคำ
  5. เก็งเทคนิคเทพ ๆ สำหรับการทำข้อสอบแต่ละวิชา
  • คณิตศาสตร์ หมั่นฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ เพื่อให้คุ้นชินกับลักษณะโจทย์ จะทำโจทย์ได้เร็ว
  • ภาษาอังกฤษ ถ้าจะใช้เทคนิคการเดา จะต้องใช้ควบคู่กับ key message ของประโยคหรือ passage นั้น ๆ
  • สังคมศึกษา เรื่องศาสนา เน้นออกศาสนาพุทธมากกว่าศาสนาอื่น หน้าที่พลเมือง เน้นเรื่องกฎหมาย รัฐศาสตร์ และสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ ที่ต้องเน้นความเข้าใจ ประวัติศาสตร์ เน้น timeline เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ และภูมิศาสตร์ เน้นจำคำศัพท์
  • ภาษาไทย เมื่อลงมือทำข้อสอบแนะนำให้อ่านโจทย์ซ้ำ ๆ 2-3 รอบ เพื่อหาสาระสำคัญในโจทย์นั้น
  • TGAT2 (ภาษา + เหตุผล) ทริคสำคัญในการทำโจทย์วิชานี้ คือห้ามคิดมากไป ห้ามคิดน้อยไป และห้ามคิดไปเอง
  • TGAT3 (สมรรถนะการทำงาน) ทริคสำคัญในการเก็บคะแนนคือต้องตอบให้ตรงคำถาม ตีโจทย์ให้แตก ตอบตรงหลักสมรรถนะย่อย ตอบตรงจุด และตรง keyword
  • TPAT1 (ความถนัดทางแพทย์) เป็นหนึ่งวิชาที่น่าสนใจมาก เพราะส่วนมากแล้วจะทำคะแนนได้ค่อนข้างดี เพราะเป็นวิชาที่วัดทัศนคติและเชาวน์ปัญญา
  • ชีววิทยา จะเน้นวัดความเข้าใจมากกว่าความจำ ทริคการเก็บคะแนนวิชานี้คือต้องอ่านและทำความเข้าใจตาม blueprint และอย่าลืม ทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์การคิดคะแนนที่กำหนดไว้
  1. ฝึกฝนกับข้อสอบเก่า ๆ วิธีจัดการกับความกังวลเมื่อต้องเข้าสอบ เพื่อไม่ให้เกิดอาการนอยด์กับรูปแบบของข้อสอบแบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปีนี้เป็นปีแรก ด้วยการฝึกฝนทำข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี เพื่อสร้างความคุ้นชินกับแนวข้อสอบให้เกิดขึ้น
  2. ลดความตื่นเต้น โดยให้หายใจเข้า-ออก ลึก ๆ เพื่อลดความตื่นเต้น และท่องไว้ในใจตลอดว่า "เราทำได้" ถึงเวลาลงมือทำข้อสอบ ให้ตั้งสติ และลงมือทำอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องวิตกกังวลไปล่วงหน้าถึงผลที่ยังมาไม่ถึง เพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังที่ไม่ได้ทำให้ดีที่สุด ด้วยคำพูดสุดคูลในโลกปัจจุบันที่ว่า รู้อะไร ไม่สู้ "รู้งี้"

สำหรับน้อง ๆ ที่พลาดการติว "สหพัฒน์แอดมิชชั่น" ครั้งที่ 25 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นรอบติวภูมิภาค หรือรอบติวสดออนไลน์ 6 วันติดต่อกัน สามารถดาวน์โหลดเอกสารติวและเฉลย รวมถึงรับชมการติวย้อนหลังหรือชมซ้ำ เพื่อเพิ่มคะแนนการสอบให้กับตัวเองกันได้ที่ www.sahapatadmission.com

โครงการสหพัฒน์แอดมิชชั่น ขอส่งกำลังใจให้กับน้อง ๆ DEK66 ทุกคน ให้สามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาครั้งหนึ่งของชีวิตนี้ไปได้ และขอให้น้อง ๆ DEK66 ทุกคนสมหวังกับเส้นทางในอนาคตที่เลือกไว้ และหากแม้จะมีใครที่พลาดไปกับการสอบครั้งนี้ ก็ขอให้พึงระลึกไว้ว่า การสอบแอดมิชชั่นนี้ยังไม่ใช่ทางสุดท้ายในชีวิต เพราะชีวิตยังต้องไปต่อกับอีกหลากหลายหนทางที่เราจะต้องตัดสินใจเลือกให้ดีที่สุดต่อไป

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.sahapatadmission.com และ FB: Sahapat Admission

HTML::image(