สำนักพิมพ์วิช นำเสนอศาสตร์สำคัญแห่งอนาคต "CRITICAL THINKING for Reasoned Decision Making" ถอดบทเรียนพิเศษจาก 3 เหตุการณ์จริง สู่หนังสือเล่มฉบับสมบูรณ์

20 Jun 2022

เมื่อโลกปัจจุบันมีข้อมูลเกิดขึ้นมหาศาลและมีปัญหาซับซ้อนเกิดขึ้นมากมาย ทั้งปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และปัญหาที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ เราจำเป็นต้องมีความสามารถในการ Rethink หรือ Critical Thinking โดยยอมรับว่าความคิดแรกนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง แต่การยอมรับว่าความคิดของเราเป็นความคิดที่ผิดนั้นมักจะเป็นเรื่องยาก เพราะขัดแย้งกับความรู้สึกภายในตัวเองมากมาย เราจึงมักเห็นคนที่โต้เถียงกันบนความคิดของตนเองเป็นหลัก โดยไม่ฟังความเห็นต่าง หรือที่เรียกว่า อยู่ในกับดักของ First-Instinct Fallacy

สำนักพิมพ์วิช นำเสนอศาสตร์สำคัญแห่งอนาคต "CRITICAL THINKING for Reasoned Decision Making" ถอดบทเรียนพิเศษจาก 3 เหตุการณ์จริง สู่หนังสือเล่มฉบับสมบูรณ์

หนังสือ "Critical Thinking for Reasoned Decision Making" จึงเกิดขึ้นจากความตั้งใจของผู้ซึ่งได้รับโอกาสทำงานระดับชาติและระดับโลก 3 ท่าน ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการและผู้จัดการโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ, ธเนศ นะธิศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำใต้ดินจากสหรัฐอเมริกา หนึ่งในทีมจิตอาสาที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เบี่ยงเบนทางน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่ถ้ำหลวง และ Executive Producer ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง The Rescue ของ National Geographic และ ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะกรรมการและฝ่ายวิชาการ โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ และทีมจิตอาสาเบี่ยงน้ำถ้ำหลวงได้นำเสนอองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์ตัวอย่างจากปรากฏการณ์ถ้ำหลวง เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและร่วมคิดวิเคราะห์สถานการณ์ไปพร้อมกัน อีกทั้งเป็นการขยายองค์ความรู้สู่การสร้าง หลักสูตรชลกร (บริหารจัดการน้ำ) โดย ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก) และ ดร.ปริเวท วรรณโกวิท ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ นำมาขยายผลสู่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และสร้างแบบแผนความสำเร็จสู่เวทีการประชุมทางวิชาการระดับโลก ที่จัดขึ้นในช่วงกลางปี 2565 นี้อีกด้วย (ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก) เพราะเรื่องน้ำมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ดังที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ และทรงงานด้านการจัดการน้ำตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ เพราะน้ำคือชีวิต คือความสำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ

คุณศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก) คณะกรรมการและผู้จัดการโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ กล่าวว่า "Critical Thinking หมายถึงการคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ แปลว่า เราพยายามมองเหตุการณ์ด้วยความเป็นจริง มองเหตุการณ์โดยใช้ข้อมูลก่อนที่จะตัดสินว่ามันถูกหรือมันผิด ไม่กระโดดลงไปเชื่อทันทีว่าสิ่งนั้นถูก แต่เรามีการวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิพากษ์ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่มีเหตุมีผล และนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

สาเหตุที่ Critical Thinking เป็นทักษะสำคัญในอนาคต เพราะว่าโลกสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ความเชื่อ ความคิด หลักการเดิม ๆ อาจจะไม่ถูกต้องสำหรับโลกในอนาคตอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีวิธีการคิดที่เรามองหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อทำให้เกิดการทำงานที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

การมี Critical Thinking ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จง่ายขึ้น เพราะ Critical Thinking คือการยอมรับความเห็นต่าง เพราะเราเชื่อโดยพื้นฐานว่าความแตกต่างมันคือสิ่งที่ทำให้เรามองเห็นได้รอบด้านและมองเห็นทุกอย่างด้วยความรัดกุมมากขึ้น เราไม่ได้มองว่าการเห็นต่างคือคนที่ไม่เหมือนเรา และเราพยายามหักล้างความคิดเห็นเขา แต่เราพยายามมองด้วยใจเป็นธรรมและความเข้าใจในอีกมุมมองหนึ่ง ยิ่งเรามีทักษะตัวนี้มาก การยอมรับความคิดเห็นก็จะเกิดได้ง่ายขึ้น

ในหนังสือ Critical Thinking เราแบ่งทั้งหมดออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน ผ่านเรื่องจริงและประสบการณ์จริงของนักเขียนอีก 2 ท่าน ช่วงแรก เป็นเรื่องของการปฏิบัติการถ้ำหลวง ทำอย่างไรที่ทำให้เหตุการณ์ถ้ำหลวง สามารถช่วยเหลือเด็กทั้ง 13 คน ออกมาได้อย่างปลอดภัย ช่วงที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Rescue จากเดิมเป็นภาพยนตร์ที่ค่อนข้างมีมุมมองด้านเดียว การใช้ Critical Thinking สามารถทำให้หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดเรื่องราวได้ครบถ้วนและสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ช่วงที่ 3 คือเรื่องการสร้างหลักสูตรชลกร เดิมทีเราพยายามสร้างหลักสูตรชลกร โดยใช้มุมมองแค่มุมมองเดียว แต่ตอนนี้เราพยายามทำให้มีความหลากหลาย หลายมิติ ทั้งในมุมของภาคเอกชน ในมุมของภาครัฐ และมุมมองของต่างประเทศ ช่วงที่ 4 คือการถอดบทเรียน และสร้างเป็นกระบวนการ ที่ทำให้คนทุกคนสามารถทำซ้ำและเกิดผลสำเร็จอย่างเช่นทั้ง 3 เรื่องที่กล่าวมาแล้ว

สิ่งสุดท้ายที่อยากจะฝากไว้ให้คิด คือ ค่าความรู้มีราคา แต่ค่าความไม่รู้มีค่าเสียหายที่มีราคาแพงยิ่งกว่า เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนได้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูครับ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน หนังสือเล่มนี้ เขียนด้วยความตั้งใจ และเป็นหนังสือที่ใช้ความตั้งใจมากที่สุด ตั้งแต่เคยเขียนหนังสือมา ด้วยการรวบรวมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่าน ใครได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมเชื่อว่าเป็นบทเรียนมูลค่าสูงที่มีราคาไม่แพง ฝากทุกท่านติดตาม Critical Thinking ได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปครับ"

ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะกรรมการและฝ่ายวิชาการ โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ และทีมจิตอาสาเบี่ยงน้ำถ้ำหลวง กล่าวว่า "ในหลักสูตรชลกร Critical Thinking มีความสำคัญมาก เพราะเราต้องทราบปัญหาก่อน เราถึงจะเลือกเครื่องมือมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ซึ่งในหลักสูตรชลกร ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรของช่างกลเกษตร มี 6 วิชาเฉพาะในการจัดการน้ำ ซึ่งในการจัดการน้ำจะมีตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ในการจัดการน้ำที่บ้านเรามีปัญหาหลัก คือ ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมหรือมีการจัดการด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นหลักสูตรชลกรนี้ ถ้าสามารถถ่ายทอดให้ชุมชนมีองค์ความรู้ เด็กนักเรียนหรือเกษตรกรที่เข้ามาเรียนจะสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง โดยชุมชนเอง ทำให้มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอะไรต่าง ๆ คิดวิเคราะห์ มีเหตุมีผล แล้วก็ได้ผลประโยชน์ตอบแทนมาคุ้มกับสิ่งที่ทำไป

Critical Thinking ไม่ใช่ว่าไปเรียนก็จะได้มา ต้องผ่านกระบวนการ ผ่านการฝึก ผ่านการทดสอบ ทดลอง เช่น การใช้ชีวิตจริง ๆ มันก็จะมีปัญหาเข้ามาตลอด เพราะฉะนั้นกระบวนการ พอไปหลอมรวมกับประสบการณ์ แล้วมีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โฟกัสตรงกับจุดที่มัน Critical Thinking จริง ๆ มันก็สามารถประยุกต์ได้ ไม่ใช่แค่การจัดการน้ำ การบริหารประเทศ การบริหารการเงินส่วนตัว การบริหารในครัวเรือนก็ได้ มันจึงเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำอย่างไรให้คิดแก้ปัญหา

หนังสือ Critical Thinking for Reasoned Decision Making เล่มนี้ ผมเขียนในส่วนของการสร้างหลักสูตรชลกร ในเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้ออกสำรวจ มีการเก็บข้อมูล มีการทำธนาคารน้ำใต้ดิน และการจัดการน้ำ เน้นทั้งการหาที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล และกักเก็บน้ำไว้ได้ดิน โดยเน้นประหยัด ชุมชนช่วยชุมชนเอง ชุมชนมีส่วนร่วม และธรรมชาติช่วยธรรมชาติ และหลอมรวมศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้ามาอยู่ในกระบวนการ Critical Thinking ของเรา

หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยส่วนของ The Rescue หรือว่า หมูป่า เป็นตอนของความสนุก ที่มาที่ไปที่เรากล้าที่จะทำ ถึงเราเป็นมดตัวเล็ก ๆ ก็ทำต่อไป ด้วยความที่อยากเห็นประเทศพัฒนา อยากให้ประเทศนี้มีการจัดการน้ำสู่ชุมชน จึงเกิดการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา แล้วถ่ายทอดต่อยอดและมาขมวดปมให้เป็น Critical Thinking เพราะฉะนั้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะสามารถไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวันและสิ่งอื่น ๆ ก็เลยฝากไว้ให้อ่านสนุก ๆ ดู อย่าอ่านแบบซีเรียสมากนะครับ อ่านหลาย ๆ ครั้งได้ครับ"

ธเนศ นะธิศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำใต้ดินจากสหรัฐอเมริกา หนึ่งในทีมจิตอาสาที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เบี่ยงเบนทางน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่ถ้ำหลวง และ Executive Producer ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง The Rescue ของ National Geographic กล่าวว่า "ในมุมมองผม Critical Thinking เป็นกระบวนและระบบการคิดที่จำเป็นและสำคัญ ในการนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันและการทำงานต่าง ๆ การมี Critical Thinking เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานประสบความสำเร็จได้ด้วยการคิดเป็นระบบ

ในภารกิจถ้ำหลวง Critical Thinking ก็ถูกนำมาใช้ในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมต่างประเทศ ทีมไทย และทีมนักประดาน้ำในถ้ำ เป็นภารกิจที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แนวคิด เพราะแต่ละคนมาจากภูมิหลังที่ต่างกัน พื้นที่ต่างกัน การใช้ Critical Thinking มาช่วยตรงนี้ คือ เราต้องมองว่าแต่ละคนเขาต้องการอะไร แล้วเราจะนำพวกเขามาทำงานร่วมกันได้อย่างไร โดยที่ทุกคนสามารถไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนแรกได้ เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว ก็มาสร้างกระบวนการทำงาน และทำงานตามระบบที่ได้วางแผนไว้ เช่น การเบี่ยงเบนทางน้ำ ปกติต้องใช้เวลานาน แต่เราก็สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จได้ภายใน 2- 3 วัน ซึ่ง Critical Thinking เข้ามาช่วยตรงนี้ได้อย่างมากเลยทีเดียว

ในหนังสือ Critical Thinking for Reasoned Decision Making เล่มนี้ ผมเขียนเรื่องภารกิจถ้ำหลวง และเบื้องหลังการสร้างสารคดีเรื่อง The Rescue ของ National Geographic ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นหนึ่งในเรื่องราวการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานของฝั่งผม และหวังว่าผู้อ่านจะนำเรื่องราว เทคนิคต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคต

แน่นอนว่าเรื่องราวในหนังสือ Critical Thinking เล่มนี้ มีหลายเรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน โดยเฉพาะภาพต่าง ๆ ระหว่างการทำสารคดีเรื่อง The Rescue ของ National Geographic ที่ได้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ของปีนี้ และได้รับเสนอชื่อใน BAFTA Awards 2022 ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสารคดีที่ดีที่สุด The Best Documentary of 2022

ฝากถึงผู้อ่านว่า ความรู้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน และไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความรู้เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายมาก และการที่เรามี Critical Thinking จะทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องไปเรียนก็ได้ ด้วยการรับข้อมูลข่าวสารและใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ข้อมูล เราก็สามารถทำทุกอย่างได้ตามที่เราต้องการครับ"

หนังสือ Critical Thinking for Reasoned Decision Making ฉบับ Unplug Coding ถอดบทเรียน Critical Thinking จากกรณีศึกษายาก ๆ 3 กรณี คือ 1. บทเรียนจากภารกิจถ้ำหลวง 2. การสร้างภาพยนตร์สารคดี THE RESCUE และ 3. การสร้างหลักสูตรชลกร เพื่อให้เห็นโครงสร้างระบบแนวคิด กระบวนการเชิงลึก แบบของการแก้ปัญหา และความสำคัญของทีมเวิร์กในการทำงาน โดยกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีนี้ มีสิ่งที่เหมือนกันคือ การทำให้เกิดผลสำเร็จได้ด้วยการใช้ Critical Thinking ซึ่งเป็นทักษะของอนาคตของคนทำงานทุกคนต้องมี และประยุกต์ใช้งานให้ได้ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ใดก็ตาม โดยช่วงท้ายของหนังสือ ผู้เขียนยังได้ถอดรหัสของความสำเร็จ ด้วยการสร้าง Standard Process ที่ใครก็ตามก็สามารถสร้างทักษะ Critical Thinking ได้เช่นเดียวกัน

หนังสือ Critical Thinking for Reasoned Decision Making หนา 408 หน้า ราคา 349 บาท มีวางจำหน่ายที่ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพิมพ์วิช Line : @wishbooks หรือ โทร. 02 418 2885

สำนักพิมพ์วิช นำเสนอศาสตร์สำคัญแห่งอนาคต "CRITICAL THINKING for Reasoned Decision Making" ถอดบทเรียนพิเศษจาก 3 เหตุการณ์จริง สู่หนังสือเล่มฉบับสมบูรณ์