นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยภายหลังพิธีปิดการประชุมวิชากาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 ประจำปีงบประมาณ 2565 "80 ปี : วิทยาศาสตร์การแพทย์และการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (80 Years: Medical Sciences and Networking for Sustainable Development)" โดยในปีนี้มีการนำเสนอผลงานวิชาการในรูปการบรรยาย จำนวน 54 เรื่อง และโปสเตอร์ จำนวน 209 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 263 เรื่อง แบ่งเป็น 5 สาขา ได้แก่ สาขาที่ 1 : Current Research and Innovation on Diseases สาขาที่ 2 : Current Research and Innovation on Consumer Protection สาขาที่ 3 : Risk Assessment and Health Threat Warning การประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ สาขาที่ 4 : Medical Sciences Network for Sustainable Development เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสาขาที่ 5 : Medical Sciences Symposium
ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยการมอบรางวัลให้แก่ผู้วิจัยที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ โดยมีคณะอนุกรรมการวิชาการเป็นผู้พิจารณาตัดสินผลการประกวด ซึ่งมีผลงานที่ได้รับรางวัล จำนวน 23 เรื่อง ดังนี้
สาขา 1 : Current Research and Innovation on Diseases
1.1 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นางสาววริษฐา แสวงดี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การปรับตำแหน่งลำดับเบสของไพรเมอร์เพื่อการตรวจจับยีน N ของเชื้อ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน
1.2 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายพนาพัฒน์ ไพเราะ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การตรวจวัดระดับไมโครอาร์เอ็นเอในตัวอย่างเลือด เพื่อหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
1.3 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวศิริรัตน์ แนมขุนทด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการไข้สูงและเกล็ดเลือดต่ำ ด้วยเทคนิค real-time RT-PCR
1.4 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวศิริกานดา วิมล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การประยุกต์ใช้ SNP genotyping assay เพื่อการคัดกรอง เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 Omicron variants ช่วงเปิดประเทศ เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ.2564
1.5 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวชลลดา ยอดทัพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การศึกษา Gene expression profiling ในต้นแบบผลิตภัณฑ์เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด ชนิด Natural Dendritic Cells
สาขาที่ 2 : Current Research and Innovation on Consumer Protection
2.1 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายกรกช พรหมจันทร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การตรวจสารพันธุกรรมไวรัส SARS-CoV-2 ที่ปนเปื้อนบนอาหารและ บรรจุภัณฑ์อาหารด้วยวิธีสวอป
2.2 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายกรพงศ์ ภิญโญสุขี สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การนำวิธีทดสอบคุณภาพวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ โดยวิธีซีโรโลยีมาใช้ในการควบคุมกำกับตามมาตรฐานสากลใหม่
2.3 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวจีรนันท์ อินทรจร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6ชลบุรี เรื่อง การเตรียมวัสดุกำบังรังสีจากวัสดุเชิงประกอบแบเรียมซัลเฟตและเรซินเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านรังสี
2.4 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวชรินรัตน์ ศิริธรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี เรื่อง กระบวนการสกัดใหม่สำหรับวิเคราะห์สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม คาร์บาเมตตกค้างในผัก
2.5 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวสุนันทา ศรีโสภณ สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกอบเชยไทยและเปลือกอบเชยเทศด้วย GC-MS
สาขาที่ 3 : Risk Assessment and Health Threat Warning การประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยสุขภาพ
3.1 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นางสาวอตินุช นารถน้ำพอง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10อุบลราชธานี เรื่อง ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ
3.2 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นางสาวภรณ์ทิพย์ ท้วมทอง สำนักยาและวัตถุเสพติดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของคีตามีนจากตัวอย่างปัสสาวะที่นำส่งสำนักยาและวัตถุเสพติด ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2558-2564
3.3 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวชุตินันท์ พุมดวง สำนักคุณภาพและ ความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การสำรวจการปลอมปนปลาปักเป้าโดยการตรวจเครื่องหมายโมเลกุลจำเพาะในอาหารแปรรูปที่ผลิตจากปลา
3.4 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาววรรณพร พะเยาว์ สำนักคุณภาพและ ความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การศึกษาการปลอมปนยาแผนปัจจุบันในผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารระหว่างปี พ.ศ.2559-2564
3.5 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวสุจิตร สาขะจร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต เรื่อง คุณภาพของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต
สาขาที่ 4 : Medical Sciences Network for Sustainable Development เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4.1 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายกรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี โรงพยาบาลตาพระยา จ.สระแก้ว เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานลดความแออัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19
4.2 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายอนุวัฒน์ กุลไธสง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เรื่อง ผลของการแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำด้วยนวัตกรรม ขี้ดัง
4.3 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางอมรรัตน์ แดนศิริ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7ขอนแก่น เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสู่ Smart Product
4.4 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางฐิติพร ห่านตระกูล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง ผลการประเมินคุณภาพชุดน้ำยาตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Real time RT-PCR และวิธี LAMP
สาขาที่ 5 : Medical Sciences Symposium
5.1 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายกรวิชญ์ สมคิด สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การระบุเพศกัญชาด้วยเทคนิคทางโมเลกุล
5.2 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอแบบบรรยาย ได้แก่ นายปิยะวัฒน์ แปงพั๊วะ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ และการสำรวจเบื้องต้นของ3-เอ็มซีพีดีเอสเทอร์ 2-เอ็มซีพีดีเอสเทอร์ และไกลซิดิลเอสเทอร์ในน้ำมันบริโภค
5.3 รางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาววราวรรณ วงษ์บุตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การพัฒนาวิธี Real-time PCR panel assay สำหรับตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วงจากตัวอย่างอาหารและน้ำ
5.4 รางวัลรองชนะเลิศการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ได้แก่ นางสาวสุภัชฌา พูนศรัทธา สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง การศึกษาสารสกัดมะแขว่นต่อการทำงานของเอนไซม์ TMPRSS2 ที่สำคัญต่อไวรัส SARS-CoV-2
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit