พิศาล เลขาฯ มกอช. ลุยทุเรียนป่าละอู GI แนะเกษตรกรวางมาตรการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ด้วยระบบตามสอบสินค้าเกษตร QR Trace on Cloud

12 Jul 2022

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นำคณะผู้บริหาร พร้อมสื่อมวลชน ลงพื้นที่ สวนทุเรียนป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดูพื้นที่การปลูกทุเรียน ในพื้นที่ป่าละอู ซึ่งมีปริมาณผลผลิตไม่มาก ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย

พิศาล เลขาฯ มกอช. ลุยทุเรียนป่าละอู GI แนะเกษตรกรวางมาตรการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ด้วยระบบตามสอบสินค้าเกษตร QR Trace on Cloud

นายพิศาล กล่าวว่า ปัจจุบัน ประชาชนมีความสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยหันมาเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และผ่านการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ สินค้าที่มีเครื่องหมาย "Q" ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกรับรองให้กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรนำไปใช้แสดงกับ สินค้าเกษตรที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีคุณภาพเทียบเท่า มาตรฐานสากล หากผู้บริโภคพบเห็นเครื่องหมาย Q ที่ใด สามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าเกษตรนั้นมีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค

นอกจากเครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อควบคุมความปลอดภัยของการผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารอย่างเข้มงวด โดยนำมาตรฐานสินค้าเกษตรมาควบคุม กำกับ และดูแล ตั้งแต่ฟาร์ม สถานประกอบการ แหล่งรวบรวมจำหน่าย จนถึงกระบวนการการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้พัฒนาระบบการตามสอบสินค้าเกษตร บนระบบคลาวด์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (QR Trace on Cloud) เพื่อให้เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ นำระบบไปใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลที่มาที่ไป ข้อมูลการผลิตเพื่อใช้ในการตามสอบสินค้าเกษตร สามารถบริหารจัดการการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไปสร้าง QR Code สำหรับเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตามสอบสู่ผู้บริโภค ที่ผ่านมา มกอช. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการใช้ระบบตามสอบย้อนกลับ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน มีผู้สนใจลงทะเบียนกว่า 2,400 ราย

ในปี 2565 มกอช. ได้เข้าไปส่งเสริมการใช้ระบบ QR Traces on Cloud ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการผลิตสินค้าทุเรียนที่ได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติ ทาง การเกษตรที่ดี (GAP) และได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มกอช.จึงได้จัดทำโครงการเพื่อยกระดับ และ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้าน คุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และการตรวจสอบย้อนกลับ ที่มีเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ซึ่งเป็นการนำร่องการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Trace on Cloud ที่เชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเกษตร ทุเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และ GI ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตรวจสอบสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถเชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ของภาคเอกชนที่มี การจำหน่ายสินค้าอยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์เอกสารใบรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสและลดปัญหาในเรื่องการส่งออกได้

HTML::image(