การแข่งขัน หัวเว่ย โกลบอล เอไอ ชาลเลนจ์ (Huawei GLOBAL AI CHALLENGE) ประจำปี อุดมศึกษา565 ได้เปิดฉากอย่างเป็นทางการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ และเปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์แล้ว เพื่อให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ชิงเงินรางวัลรวม อุดมศึกษาการแข่งขันสมาคมปัญญาประดิษฐ์,สมาคมปัญญาประดิษฐ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ ดอลลาร์สหรัฐ การแข่งขันนี้ร่วมกันจัดโดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งมณฑลเจียงซู (Jiangsu Association of Artificial Intelligence หรือ JSAI), หัวเว่ย คอนซูเมอร์ คลาวด์ เซอร์วิส (Huawei Consumer Cloud Service) และศูนย์วิจัยเมืองหนานจิงของหัวเว่ย (Huawei Nanjing Research Center) โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมมือกับนักพัฒนารุ่นใหม่ไฟแรงที่ชื่นชอบ AI และเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจในการส่งเสริมการใช้ AI ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ
หัวเว่ย โกลบอล เอไอ ชาลเลนจ์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2562 โดยมีผลงานอัลกอริทึมที่ส่งเข้ามาประกวดมากกว่า 2,500 ผลงาน จากเกือบ 8,000 ทีม ใน 45 ประเทศและดินแดน ในการแข่งขันสามปีแรก และมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับรางวัลไปแล้วกว่า 150 ราย นอกจากนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มีความสามารถโดดเด่นจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชั้นนำในประเทศจีนยังถูกดึงตัวมาร่วมงานกับหัวเว่ยด้วย สำหรับการแข่งขันนี้มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถได้มาร่วมกันบ่มเพาะเทคโนโลยี AI ใหม่ ๆ ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
คุณหวัง เยว่ ประธานของหัวเว่ย คอนซูเมอร์ คลาวด์ เซอร์วิส แอปพลิเคชัน อีโคซิสเต็ม (Huawei Consumer Cloud Service Application Ecosystem) ได้พูดถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของการแข่งขันว่า "การพัฒนา AI เปิดทางไปสู่ยุคแห่งความครอบคลุมของเทคโนโลยีอัจฉริยะ เราตั้งเป้าที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนเก่งในมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้สำรวจขอบเขตใหม่ ๆ ของ AI และแก้ปัญหาระดับโลกต่อไป"
คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ย
การแข่งขันครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ ซึ่งมาช่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้เข้าแข่งขัน โดยตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้ประกอบด้วยศาสตราจารย์จือหัว โจว หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหนานจิง และสมาชิกชาวต่างชาติของสถาบันอคาเดมี ออฟ ยุโรป (Academy of Europe), ศาสตราจารย์ปาสคาล ฟาน เฮนเทนริก (Pascal Van Hentenryck) จากวิทยาลัยเอช. มิลตัน สจวร์ต (H. Milton Stewart School) ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ AAAI Fellow และประธาน A. Russell Chandler III และศาสตราจารย์จูเซปเป เดอ จีอาโกโม (Giuseppe De Giacomo) จากมหาวิทยาลัยเซเปียนซาแห่งกรุงโรม (Sapienza University of Rome) ผู้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ AAAI Fellow และ ACM Fellow โดยผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมความสำเร็จทั้งในเชิงอุตสาหกรรม วิชาการ และการวิจัย
โจทย์การแข่งขันสามหัวข้อ มุ่งรับมือความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริง
คณะผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินผลงานที่ส่งเข้าประกวดโดยใช้เกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่ นวัตกรรมทางเทคนิค คุณค่าในการนำไปใช้งานจริง การประเมินความเสี่ยง ความนิยม และความยาก เพื่อตอบโจทย์สามข้อ ได้แก่ การนำ AI ไปใช้งานจริงเพื่อแนะนำโฆษณา การทำแผนที่ และการให้บริการสื่อแบบอินเทอร์แอคทีฟ สำหรับโจทย์แรกคือ "การสร้างบทสนทนาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลความรู้" สองคือ "การตรวจสอบคุณภาพข้อมูลการแสดงผลเลนอย่างชาญฉลาด" และสามคือ "การคาดคะเนอัตราการคลิกโฆษณาด้วยข้อมูลข้ามโดเมนจากโฆษณาและฟีดข่าว"
เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะ
การแข่งขันเปิดให้ลงทะเบียนไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน โดยจะมีการแข่งขันรอบแรก (24 มิถุนายน ถึง 24 สิงหาคม) และรอบชิงชนะเลิศ (3 กันยายนถึงกลางเดือนกันยายน) หลังผ่านพ้นการแข่งขันออนไลน์ในรอบแรก หัวเว่ยจะคัดเลือก 7 ทีมจากแต่ละโจทย์การแข่งขันเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โดยจะมีทั้งหมด 21 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจากสามโจทย์ เพื่อเข้าชิงรางวัลเงินสดในการแข่งขันและการนำเสนอผลงานผ่านทางออนไลน์
โครงการไชนิ่ง สตาร์ โปรแกรม (Shining Star Program) ของหัวเว่ยได้จัดสรรเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 210,000 ดอลลาร์สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อมอบให้ทั้ง 7 ทีมจากโจทย์การแข่งขันสามหัวข้อ โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 35,000 ดอลลาร์ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 15,000 ดอลลาร์ และรองชนะเลิศอันดับสอง 10,000 ดอลลาร์ ส่วนอีก 4 ทีมจะได้รับรางวัลชมเชย 2,500 ดอลลาร์
หัวเว่ยขอเชิญชวนนักศึกษาที่อยากท้าทายความสามารถของตัวเองมาร่วมอวดสุดยอดผลงานให้ทั้งโลกได้เห็น
สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้แล้ววันนี้ที่ https://developer.huawei.com/consumer/en/activity/digixActivity/digixdetail/201655283879815928
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1854105/image.jpg
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT) จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือการขับเคลื่อนพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายใต้โครงการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดนวัตกร วิศวกร
'XPENG Global Brand Night' - เปิดวิสัยทัศน์ระดับโลก พลิกโฉมอนาคตแห่งการขับเคลื่อน ด้วยกลยุทธ์ AI Tech Tree อัปเกรดใหม่
—
เอ็กซ์เผิง ผู้นำธุรกิจไฮ-เทคสมาร์...
Finale Project !! สำหรับการอบรม โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ AIoT #4 Presentation and Discussion Showcase จัดโดย คณะ IT SPU
—
Finale Project !! สำหรับโครงการบั...
IT SPU ปลื้มผลงานหลักสูตร AIOT คนทำงานยุคดิจิทัลแห่เข้าร่วมอบรม Up-Skill คับคั่ง เปิดเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว!!
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิธ...
"หัวเว่ย โกลบอล เอไอ ชาลเลนจ์" เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน ลุ้นคว้าเงินรางวัลก้อนโต
—
การแข่งขัน หัวเว่ย โกลบอล เอไอ ชาลเลนจ์ (Huawei GLOBAL AI CHALLENGE) ...
AIAT เชิญทีมคณาจารย์คณะ IT SPU ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ในการอบรมหลักสูตร ด้าน IOT
—
ผศ.จิโรจน์ จริตควร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเต...
สวทช. สปปท. ทีโอที และ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมลงนามความร่วมมือการจัดการ องค์ความรู้ดิจิทัล การรับรองและพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย
—
เร็วๆ นี้ ส...
IT ม.ศรีปทุม จับมือ AIAT พัฒนาศัยกภาพคณาจารย์ เรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จับมือ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จัดอบ...
ผู้ประกอบการไทย สนใจนำนวัตกรรมต่อยอดธุรกิจ ร่วมงานสัมมนา AI : Shape the Future คับคั่ง
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) เผยความสำเร็จจากก...