อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เปิดแนวรุกมุ่งเน้นสร้างกำลังคน ยกระดับและพัฒนาทักษะ Reskill/Upskill/Newskill แห่งอนาคต ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ
รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจหลักที่สำคัญในการพัฒนา กำลังคนของประเทศเล็งเห็นถึงปัญหาและผลกระทบดังกล่าวและเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเป็นกลไกในการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียม ความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคตหลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งในรูปแบบ ของการสร้างทักษะให้กับกลุ่มว่างงาน/แรงงานคืนถิ่น/ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยตนเอง รวมทั้งเพิ่มทักษะชั้นสูงและการทำงานสมัยใหม่ให้กับกำลังคนในชุมชนท้องถิ่น SMEs และภาคอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจึงได้มีการจัดทำโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค ให้ตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้มีทักษะและความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ จำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมและการปรับธุรกิจเมื่อประสบภาวะวิกฤติ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถาบันการศึกษาและพื้นที่ในภูมิภาคและพัฒนางานวิจัยให้เป็นเทคโนโลยีเข้มข้น สร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่
Convergence) ยกระดับผลงานวิจัยเพื่อต่อยอดให้พร้อมออกสู่เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมหาลัย เอกชน และภาคอุตสาหกรรม
สำหรับโครงการที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมา คือ บริษัท CMUgency จำกัด ได้จัดทำเครื่องวัดสัญญาณชีพพื้นฐานในรถฉุกเฉิน ภายใต้ แผนงานการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่
โดยได้ผลักดันให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องวัดสัญญาณชีพพื้นฐานในรถฉุกเฉินจนสามารถใช้งานจริงได้ และหาช่องทางการเข้าสู่ตลาด เพื่อต่อยอดงานวิจัยไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักเพื่อช่วยเหลือผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการขอมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ให้ได้ไวที่สุด ระหว่างนี้ให้วางแผนการประชาสัมพันธ์และโฆษณา สร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ส่วนแผนงานการยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยนวัตกรรมแผ่นดามกระดูกส่วนไหปลาร้าที่ยิงผิวด้วยอนุภาคละเอียด โดย รศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบอุปกรณ์ผ่าตัดที่ยังไม่เคยมีมาก่อนและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และนำไปสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยั่งยืนของไทยและนำไปสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ที่ยั่งยืนของไทย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างน้อย 20% โดยวัดจากระยะเวลาในการรักษา เพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดของแพทย์ได้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 15% วัดจากระยะเวลาในการผ่าตัด โดยได้มีการพัฒนาต้นแบบเพื่อเตรียมพร้อมในการทดลองตลาด รวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งยังได้ประสานงานกับบริษัทคู่ค้า เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อยกระดับทักษะสามารถติดตามข้อมูลได้ที่ Facebook Fan Page: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call center 1313
ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) สนับสนุนนโยบายส่งเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณกุศลภาครัฐ โดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมออกร้านในงานมหกรรมเพื่อการกุศล "งานกาชาดประจำปี 2567" ภายใต้แนวคิด "ทศมราชา 72 พรรษา ถวายพระพร" เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภก สภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร. ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดร.ณัชชา ชัยรุ่งเรือง
มกธ.มุ่งส่งเสริมเยาวชนพัฒนาเทคนิคการเล่นฟุตบอลอย่างมืออาชีพกับโครงการ "แรงบันดาลใจคือพลังที่ยิ่งใหญ่"
—
รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เป...
มกธ. จัดอบรม "เข้าใจ เข้าถึง" การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรใช้สื่อใหม่พัฒนาการศึกษา พร้อมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร
—
รศ.(พิเศษ)ด...
อธิการบดี ม.กรุงเทพธนบุรี มอบนโยบายเตรียมความพร้อม ก่อนเปิดเทอม
—
ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นประธานการประชุมคณาจารย์เจ้า...
ม.ศรีปทุม ต้อนรับ เลขาฯ รมต.อว. และไอซ์ ภาณุวัฒน์ ดารานักแสดงและศิษย์เก่านิเทศฯ SPU บันทึกเทปรายการ "ออนเดอะเวย์" (ช่อง 3)
—
ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ ...
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ชูภารกิจสร้างกำลังคน พัฒนาทักษะแห่งอนาคต เตรียมพร้อมรองรับงานในอนาคต
—
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เปิดแนวรุกมุ่งเน้นสร้างกำลังคน ยก...
"ออนเดอะเวย์"ย้อนเส้นทางป่วนฮา บ้าพลัง!!ก่อนเป็น "ตั๊ก บริบูรณ์"
—
ย้อนชีวิตในชุดนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ไปกับคูมมพ่ออารมณ์ดี ''ตั๊ก-บริบูรณ์ จันทร์เรือง...
วว. นำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดอกบัวแดง การสกัดน้ำมันดอกจันทน์กะพ้อ ให้แก่มูลนิธิณภาฯ
—
วว. นำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดอกบ...
วศ. ร่วมทีม อว. ลงพื้นที่ช่วย ผปก. แปรรูปอาหารทะเล ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
—
6 ตุลาคม 2564 ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมว...