หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC, Bangkok), Japan Finance Corporation (JFC), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องจัด "งานเจรจาธุรกิจ ไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 14" เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกรรมการค้าของบริษัทไทยและเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีบริษัทที่เข้าร่วมการเจรจาธุรกิจทั้งบริษัทไทยและญี่ปุ่นประมาณ 284 บริษัท ในวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม เวลา 12:30 ถึง 17:15 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค BITEC (2Fl. Grand Hall 201-203)
งานเจรจาธุรกิจครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทเข้าร่วมสามารถประชุมและเจรจาธุรกิจที่หน้างานแบบ on-site-meeting หลังจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 และข้อจำกัดในการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ นับตั้งแต่การจัดงานครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2563 เป็นระยะเวลาถึง 2 ปี 4 เดือน ขณะเดียวกัน บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยจำนวนมากก็กำลังแสวงหาโอกาสการค้าใหม่ๆ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมไทย ดังนั้นงานเจรจาธุรกิจครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการสร้างความหลากหลายช่องทางการจัดซื้อและซัพพลายเออร์ของบริษัทญี่ปุ่นในไทย และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งบริษัทญี่ปุ่นและไทย เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ลดต้นทุน เป็นต้น
ความเป็นมา
งานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยและญี่ปุ่นร่วมกันจัดงานเจรจาธุรกิจแบบ on-site-meeting visit ซึ่งเริ่มจัดงานขึ้นในปี 2549โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้ "APEC MOU (บันทึกความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคเอเปค)" ซึ่งลงนามในปี 2546 ระหว่าง (ชื่อเดิม) Japan Finance Corporation for Small and Medium Enterprises (JASME) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) จากนั้นหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC, Bangkok)ได้เข้าร่วมครั้งแรกในปี 2555 นอกจากนี้กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย (BUILD) ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจับคู่ธุรกิจของ BOI ได้เข้าร่วมแทนที่ SME Bank เป็นครั้งแรกในปี 2558 (หลังจากนั้นได้เข้าร่วมในฐานะ BOI) และ เจโทร ได้เข้าร่วมในฐานะผู้จัดหลักตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565
วัตถุประสงค์
สนับสนุนการขยายธุรกรรมการค้าของบริษัทไทยและบริษัทญี่ปุ่นขนาดกลางและขนาดย่อมที่มาลงทุนในประเทศไทย
ผู้เข้าร่วมงาน
ฝ่ายญี่ปุ่น:นิติบุคคลหรือสาขาในประเทศไทยของบริษัทญี่ปุ่น
ฝ่ายไทย:บริษัทท้องถิ่นของไทย
รูปแบบการเจรจาธุรกิจ
การเจรจาธุรกิจนี้ใช้ระบบการจับคู่ทั้งสองฝ่ายล่วงหน้า โดยทำการแจกรายชื่อผู้เข้าร่วมล่วงหน้าและรวบรวมคำร้องขอการจับคู่ จากนั้นผู้จัดจะดำเนินการจัดช่วงเวลาการเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ที่ยื่นคำร้องตรงกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit