"ต้อหิน" เราคงได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับมหันตภัยร้ายแรงของโรคต้อหินกันมาบ้าง ทราบไหมว่าปัจจุบันประเทศไทยมีคนเป็นโรคต้อหินนับแสนรายที่สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งไม่รู้ว่ากำลังเป็นโรคต้อหินซึ่งควรได้เข้ารับการรักษาจากหมอตา หรือจักษุแพทย์เท่านั้น
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ อาจารย์ภาควิชาจักษุวิทยา และรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์รักษาคนไข้โรคต้อหินด้วยความห่วงใยในสุขภาพตาคนไทย
เป็นต้อหินแล้วต้องตาบอดจริงหรือ?
"โรคต้อหินเป็นโรคของขั้วประสาทตาที่หากถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ ก็จะทำให้การมองเห็นลดลง พบว่า 80-90% ของคนไข้ต้อหินในระยะแรกมักไม่ปรากฎอาการ หลายคนเข้าใจว่าคนเป็นต้อหินแล้วจะต้องตาบอด ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจที่ผิด ต้อหิน ถ้าค้นพบเร็วรักษาเร็ว ถึงแม้ว่าการรักษาจะไม่ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่อย่างน้อยก็สามารถป้องกันไม่ให้ตาบอดได้ ในฐานะหมอตาหรือจักษุแพทย์ เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำให้คนไข้ต้อหินยังคงการมองเห็น อย่างน้อยก็เท่ากับวันแรกที่เข้ามารับการรักษา การรักษาต้อหินจะประสบความสำเร็จได้ คนไข้จะต้องร่วมมือในการรักษา เรียกว่า "ทั้งคนไข้และหมอจะต้องสู้ไปด้วยกันครับ"
รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีอาการต้อหิน
คนไข้ต้อหินส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร บางคนอาจสังเกตว่าการมองเห็นด้านข้างค่อย ๆ หายไป ขับรถชนด้านข้าง หรือเดินอยู่ในบ้านจะเตะข้าวของ อย่างไรก็ตาม การมองเห็นตรงกลางยังชัด ส่วนใหญ่จึงมักไม่ทราบ โรคต้อหินเป็นเหมือน "เพชฌฆาตเงียบ" มีส่วนน้อยที่มีอาการต้อหินฉับพลัน โดยจะมีอาการ ปวดตา ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีในคนวัย 50 ปีขึ้นไป จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ต้อหินเกิดจากอะไร
โรคต้อหินเป็นโรคที่มีการทำลายของขั้วประสาทตา มักเกิดจากความดันในดวงตาสูงที่ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ อาจมีปัจจัยเสี่ยง เช่น สายตายาวหรือสั้นมากๆ การใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ มีภาวะเบาหวานขึ้นตา ผู้ที่มีอุบัติเหตุบริเวณดวงตา หรือเกิดจากกรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน เป็นต้น
การรักษาโรคต้อหินที่ถูกต้อง
โรคต้อหิน สามารถรักษาและควบคุมภาวะสูญเสียการมองเห็นได้ สามารถป้องกันการตาบอดได้ ถ้ารักษาถูกวิธีและเข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์อย่างรวดเร็ว แต่การรักษาอาจจะไม่หายขาด คนไข้ต้องได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้การรักษาต้อหินแบบมาตรฐานมี 3 วิธี คือ การใช้ยาหยอดตา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยแต่ต้องหยอดตาทุกวัน การยิงเลเซอร์โดยเฉพาะต้อหินชนิดมุมแคบ และการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำในตาทำให้ความดันตาลดลง สำหรับการรักษาทางเลือกไม่ว่าจะเป็นการนวดตา การกินวิตามินหรือสมุนไพร ไม่ใช่วิธีการรักษาต้อหินตามมาตรฐานทางการแพทย์ อาจจะส่งผลเสียต่อการมองเห็นได้
พบหมอให้เร็ว เพื่อลดการสูญเสียดวงตา
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ เล่าว่า "จากประสบการณ์การรักษาโรคต้อหิน คนไข้ที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สามารถป้องกันตาบอดได้ คนไข้จะยังคงใช้ชีวิตประจำวันและสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนคนที่เข้ารับการรักษาช้า เป็นที่น่าเสียใจที่โรคต้อหินอาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น คนไข้คนหนึ่งที่เป็นต้อหินตั้งแต่เด็ก เริ่มมารับการรักษาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ได้รับการรักษาด้วยการหยอดยาและการผ่าตัด ปัจจุบันผู้ป่วยทำงานเป็นนักดาราศาสตร์ตามที่ฝันไว้ ในขณะที่คนไข้อีกราย ฝันอยากเป็นทหาร เข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปีเพราะมีอาการตามัวจากโรคต้อหิน คนไข้ขอเลื่อนนัดผ่าตัดเพราะติดสอบ หลังสอบเสร็จพบว่าตามัวมากจนมองแทบไม่เห็นอะไร การผ่าตัดในคนไข้รายนี้แค่ช่วยประคองอาการโรคให้คงที่ ไม่ให้ตามัวไปกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าโรคต้อหินนั้น ยิ่งมาช้า อาการก็จะยิ่งแย่ลง คนไข้คนนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายมาก" รับชมคลิป https://www.youtube.com/watch?v=gfZGso5PsY8&t=71s
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ กล่าวต่อไปว่า "ต้อหินเป็นภัยเงียบของดวงตาที่อาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องคอยสังเกตอาการ และหมั่นตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ เมื่อเป็นแล้วต้องรีบรักษาโดยเร็ว อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ซึ่งเสี่ยงทำให้ตาบอดได้ ดวงตาเรามีเพียงคู่เดียว การถนอมดวงตาให้ใช้ได้ยาวนานจึงเป็นเรื่องสำคัญ"
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท ป.ปัน วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และบอย โกสิยพงษ์ เปิดโครงการ "Pass the Hope Forward" ส่งต่อความหวัง เพื่อทุกคนที่รอโอกาส พร้อมจับมือ กลุ่มเซ็นทรัล ,บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ Bangkok illustration Fair (BKKIF) ชวน 20 ศิลปินไทย จิตอาสา มาร่วมออกแบบโปสการ์ดแห่งความหวัง 20 ผลงาน นำโดย ป๊อด ธนชัย อุชชิน, WHITE HAT. Since 2013, Tent Katchakul, Kamo, Pop Twatpong, May Wai และศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำรายได้จากการจำหน่ายโปสการ์ดหลังหักค่า
เอ็มเทค สวทช. จับมือศิริราช ทดสอบทางคลินิก OSSICURE Bone Graft นวัตกรรมทดแทนกระดูกสำหรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
—
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเ...
เพอเซ็ปทรา โชว์ศักยภาพ AI ทางการแพทย์ในงานประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) 2025
—
คณะผู้บริหารและทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยา...
แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
—
บริษัท แอสต...
ศิริราชผนึก 3 โรงพยาบาลร่วมจัดโครงการ "72 ข้อเทียม เทิดพระเกียรติ วโรกาส 72 พรรษา ทศมราชา"
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวโคร...
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกระทรวงการต่างประเทศ
—
แถลงข่าว ผลการตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำ...
กรุงไทยสนับสนุนโครงการ "Siriraj x MIT Hacking Medicine" สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
—
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย พร้อมค...
พร้อมแล้ว! งานสุดยิ่งใหญ่ "ศิริราช@บางกอกน้อยเฟสติวัล ครั้งที่ 6" ที่สุดแห่งความจัดจ้านในย่านบางกอกน้อย
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เตรี...
THG แต่งตั้ง "ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์" ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รพ.ธนบุรี
—
บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ประกาศแต่งตั้ง ศ.คลิ...