ESC สร้างเยาวชนผู้พิทักษ์สัตว์ ภายใต้โครงการ "Wildlife Guardian"

ค่ายเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม Environmental Education Societies Camp #esc ได้จัดโครงการที่เรียกว่า Wildlife Guardian หรือชื่อไทยคือผู้พิทักษ์สัตว์ มาประมาณ 6 เดือน นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และให้ประโยชน์ต่อสังคมและการอนุรักษ์โดยเด็กและเยาวชนไทย

ESC สร้างเยาวชนผู้พิทักษ์สัตว์ ภายใต้โครงการ "Wildlife Guardian"

โครงการนี้เริ่มจากการที่ครูอลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการ #esc ได้เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชน จำนวน 25 คน และจัดค่ายการเรียนรู้ในธรรมชาติทั้งป่าและทะเลจำนวนหลายครั้งให้กับนักเรียนกลุ่มเดียวกันที่ร่วมศึกษาเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยนักเรียนและผู้ปกครองสมาชิกทุกคนจะเรียนดำน้ำในระดับที่ได้ใบรับรองจากสถาบันดำน้ำ PADI ก่อนที่จะออกเดินเรือเพื่อดำน้ำลึกในการศึกษาชนิดของสัตว์ที่นักเรียนแต่ละคนสนใจ จำนวน 30 ชนิด โดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายาก ยกตัวอย่างเช่น ฉลามเสือดาว พะยูน ม้าน้ำหางเสือ ฉลามครีบดำ ความหลากหลายของปะการัง สัตว์ทะเลกลุ่มที่มีพิษ เต่ามะเฟือง เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นนักเรียนในโครงการยังศึกษาเรื่องป่าชายเลน หญ้าทะเล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าชายเลน นกในป่าชายเลน ESC สร้างเยาวชนผู้พิทักษ์สัตว์ ภายใต้โครงการ "Wildlife Guardian"

โครงการนี้มีความน่าสนใจตรงที่นักเรียนทุกคนจะได้รับการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นระบบมีการสืบค้นข้อมูลและได้เรียนรู้วิธีการสำรวจ สังเกต ทั้งบนบกและใต้ทะเล นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเสนอข้อมูลในทางสถิติได้ อีกทั้งได้มีโอกาสขึ้นเวทีนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญและได้รับการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะ ในการเรียนรู้และนำเสนอในอนาคต

นอกจากเรียนรู้และนำเสนอแล้วในขณะนี้นักเรียนทุกคนกำลังผลิตสารคดีธรรมชาติที่ชื่อว่า The Starry Ocean โดยถ่ายทำจริงในพื้นที่ทั้งบนบกและใต้ทะเลเป็นสารคดีระดับนักเรียนที่มีความน่าสนใจทั้งภาพที่ดูแปลกตาและเนื้อหาการบรรยายเป็นภาคภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกคน โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มาร่วมกันแนะนำและบันทึกภาพให้กับนักเรียนทุกคน นับเป็นอีกความหวังหนึ่งที่เราจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน Wildlife Guardian กลุ่มนี้

ครูอลงกต ชูแก้ว ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการนี้นับเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เชิงระบบที่มีประสิทธิภาพให้กับการพัฒนาทักษะของนักเรียนทุกคน และที่สำคัญคือเป็นประโยชน์กับสังคม สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่ได้รับข้อมูลหรือรับชมสารคดี The Starry Ocean ชื่อไทยว่า ทะเลเดียวกัน ใต้แสงดาวในอนาคต โดยโครงการดังกล่าวจะยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและทยอยนำเสนอผลงานของนักเรียนผ่าน เพจ> https://www.facebook.com/Environmental-Society-Camp-ESC โดยในอีกไม่นานนี้จะเปิดรับสมัครนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 30 คน พร้อมกับขยายขอบเขตของประเด็นจากสัตว์ทะเลหายากเป็นสัตว์ป่าหายากอีก 30 ชนิดพันธุ์ ซึ่งจากการประชุมสมาชิกนักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองล่าสุด นักเรียนจำนวนหนึ่งจะได้ร่วมกันร่างหนังสือเพื่อเชิญบุคคลสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาเป็นพลังขับเคลื่อนด้านการอนุรักษ์ในนามเยาวชนของพวกเขาต่อไป โดยในระหว่างนี้นักเรียนจะได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่หลายท่านเพื่อการสนทนาพูดคุยและนำเสนอที่ที่เรียนรู้มา เช่น ประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน สิ่งแวดล้อมและสิทธิสัตว์ สภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

ครูอลงกต ชูแก้ว ยังเปิดเผยว่าช่วงปลายปีที่จะถึงนี้นักเรียนจะนำผลการศึกษาและสารคดีนำเสนอต่อนักเรียนในระดับท้องถิ่นและจัดกิจกรรมเล็กๆ ในกรุงเทพมหานครฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ต่อไป

ด้านอาจารย์ ผศ.เวทิต ทองจันทร์ อาจารย์ประจำคณะวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า โครงการนี้นับเป็นจะเปลี่ยนสำคัญในการยกระดับการขับเคลื่อนของเด็กและเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ผ่านการใช้สื่อที่สร้างสรรค์และปลอดภัยร่วมสมัย และเป็นการเปิดมุมมองด้านการอนุรักษ์ใหม่ๆ จากเยาวชน มหาวิทยาลัยสยามได้สนับสนุนเต็มที่ด้วยการพัฒนาเทคนิควิธีการให้กับนักเรียนทุกคนรวมทั้งการทำงานทางด้าน Production ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านนี้และทำงานเกี่ยวข้องกับสารคดีมามีความมั่นใจว่าการเรียนรู้ผลงานครั้งนี้ของนักเรียน wildlife guardian จะเป็นสารคดีที่น่าสนใจสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้สังคมของเด็กและเยาวชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีความมั่นใจว่าพวกเขาก็มีศักยภาพในการพิทักษ์ สัตว์ป่า และโลกใบนี้เช่นเดียวกัน

ติดตามรายละเอียดและความเคลื่อนไหวของโครงการนี้ได้ทาง https://www.facebook.com/Environmental-Society-Camp-ESC


ข่าวเด็กและเยาวชน+อลงกต ชูแก้ววันนี้

สลช.เร่งทำหลักสูตรการเอาตัวรอดจาก "อุบัติเหตุ-อุบัติภัย" ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้

ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สลช.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงขึ้นในประเทศไทยในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา รวมถึงเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุไฟไหม้รถบัสปรับอากาศทัศนศึกษาของนักเรียน และเหตุการณ์เด็กนักเรียนจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้งในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ซึ่งอุบัติเหตุ หรืออุบัติภัยที่เกิดขึ้นต่าง ๆ เหล่านี้ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนเป็นอย่างมาก จึงมอบหมาย

ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิ... สลช.เร่งทำหลักสูตรการเอาตัวรอดจาก "อุบัติเหตุ-อุบัติภัย" ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ — ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำหน้าที่เลขาธิก...

นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักก... กทม. เข้มความปลอดภัยทางน้ำช่วงปิดเทอม สอนว่ายน้ำฟรี-ติดตั้งราวกันตกริมคลอง — นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา (สนศ.) กทม. กล่าวกรณีสำนักงา...

เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่ม ทีซีซี เทคโนโลยี ได้ส... กลุ่ม ทีซีซี เทคโนโลยี จับมือ! ลูกค้า ร่วมแบ่งปันความสุขผ่าน "Turn Gift to Give ปี 3" — เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่ม ทีซีซี เทคโนโลยี ได้ส่งต่อความสุขและโอกาสให้กั...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย เด็กวัยเรี... กรมอนามัย หนุน เด็กไทย กระโดดโลดเต้น เล่นสนุก ห่างไกล NCDs จัดแข่งขันกระโดดเชือก — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย เด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 3 มีภาวะอ้วนและ...

เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัต... เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนมีนาคมนี้ — เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนมีนาคมนี้ พบกับการแสดงอันทรงคุ...