แนะ 6 เทคนิค วางแผนการเงินแบบเห็นผล วางแผนเที่ยวได้ทุกปี แถมยังมีเงินเก็บ!

07 Jun 2022

"วางแผนการเงิน" ประโยคยอดฮิตในยุคเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง ที่ใครต่อใครหลายคนหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่าน ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนหนุ่มสาวในวัยทำงานเห็นถึงความสำคัญของการออมมากขึ้น แต่ทำอย่างไรจะให้การวางแผนด้านการเงินของเราประสบความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมาย GenHealthyLife โดยเจนเนอราลี่ แหล่งรวมสาระดี ๆ ด้านสุขภาพและเคล็ดลับการวางแผนสร้างหลักประกันในชีวิต ขอแนะนำ "6 เทคนิค วางแผนการเงินแบบเห็นผล วางแผนเที่ยวได้ทุกปี แถมยังมีเงินเก็บ" พร้อมสร้างความมั่นคงให้แก่อนาคตได้อีกด้วย

แนะ 6 เทคนิค วางแผนการเงินแบบเห็นผล  วางแผนเที่ยวได้ทุกปี แถมยังมีเงินเก็บ!

เริ่มจากเทคนิคที่ 1 ทำความเข้าใจและควบคุมค่าใช้จ่าย ด้วยการ "ทำบัญชีรายรับรายจ่าย" ของตัวเองแบบรายวันและรายเดือน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่ายสำหรับเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ไป ให้สังเกตว่าคุณใช้จ่ายไปกับสิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนเท่าไหร่ เช่น ค่ากาแฟ แก้วละ 60 บาท ดื่มทุกวัน ก็โดนไป 1,800 บาท หรือจะเป็นค่าของวางยามบ่าย ประมาณ 50-100 บาท ในหนึ่งเดือนจะเสียเงินเฉลี่ย 1,500-3,000 บาท จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ค่ากาแฟและของว่าง ก็อาจทำให้เราสูญเสียเงินไปได้มากถึง 5,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ดังนั้นการใช้จ่ายตามใจตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจกลายเป็นค่าใช้จ่ายก้อนโตได้เสมอ จึงต้องนำสิ่งเหล่านี้มาจดวิเคราะห์ และปรับลดหรือตัดออกไปถ้าไม่จำเป็น

เทคนิคที่ 2 "การจัดการเงิน" ด้วยการแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น สิ่งจำเป็น เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร (คุณจำเป็นต้องทานอาหาร แต่ไม่จำเป็นต้องไปทานที่ร้านอาหารสุดหรู) สิ่งที่ต้องการ คือสิ่งที่ทำชีวิตของคุณให้สะดวกสบายขึ้น แต่ไม่ถึงขนาดจำเป็นสุด ๆ เช่น การเดินทาง การใช้รถส่วนตัวสะดวกกว่าก็จริง แต่หากเลือกเดินทางด้วยรถสาธารณะ ก็จะช่วยคุณประหยัดทั้งค่าน้ำมันและค่าที่จอดรถ เป็นต้น สุดท้าย สิ่งที่ปรารถนา เป็นสิ่งที่คุณชื่นชอบ แต่ยังพอผลัดไปก่อนได้ เช่น กระเป๋าใบใหม่ รองเท้าคู่ใหม่ รถคันใหม่ เป็นต้น ดังนั้นถ้าเราอยากมีเงินออมให้ตัดสิ่งที่ต้องการและสิ่งที่ปรารถนาออกไปก่อน

เข้าสู่เทคนิคที่ 3 "สร้างแผนการออมเงิน" หลังเงินเดือนเข้า หรือมีรายได้เข้า และหักค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว ลองพิจารณาหักรายได้ 10-30% ตามกำลังทรัพย์ เพื่อนำเข้าสู่บัญชีเงินฝากทันที เพราะถ้าคิดจะฝากเมื่อมีเงินเหลือปลายเดือนเป็นสิ่งที่ยากมาก ต่อมาคือเลือกซื้อสินค้าให้ถูกช่วงเวลา หรือรอซื้อสินค้าในช่วงดีลพิเศษต่าง ๆ อย่างเช่น สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเฟอร์นิเจอร์นั้น มักมีโปรโมชันราคาพิเศษช่วงกลางปี และปลายปี หากเรารู้แบบนี้ ก็จะสามารถวางแผนการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

มาถึงเทคนิคที่ 4 "จ่ายเผื่อตัวเองในอนาคต" หรือการออมเพื่อตัวเองในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณยังมีภาระหนี้ พยายามลดหนี้ในแต่ละเดือนให้ได้มากที่สุด และตั้งเป้าหมายการออมด้วยการสร้างแรงจูงใจ เช่น ทริปที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นรางวัลให้ตัวเอง อาจมาจากเงินคืนภาษีของคุณจากการเลือกในการลงทุนในกองทุน หรือแบบประกันที่จะช่วยคุณออมเพื่ออนาคตและยังสามารถหักลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำให้การออมของเราประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

เทคนิคที่ 5 การออมเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตด้วยการ "ทำประกันอย่างครอบคลุม" แผนประกันที่ดีช่วยให้คุณประหยัดภาระทางการเงินได้มากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก การมีประกันที่ครอบคลุมจะช่วยให้จัดการค่ารักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี บางประกันแบ่งเป็นเงินออมให้เราอีกด้วย

ปิดท้ายด้วย เทคนิคที่ 6 สำหรับใครที่ไม่ถนัดในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายและต้องการ "ลดความซับซ้อนของแผนการเงิน" ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สะดวกต่อการคำนวณรายได้และจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมาย และบางแอปพลิเคชันมีฟังก์ชันพิเศษให้สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าการออมเงินของเราเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

นอกการทำตามแผนการเงินที่วางไว้แล้ว คือการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดคิดในชีวิตของคุณ และสามารถลงทุนในแผนการออมได้ตั้งแต่บัดนี้ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาหลักประกัน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการเงินและด้านสุขภาพให้แก่คนที่คุณรัก สามารถศึกษาแผนประกันได้ที่เว็บไซต์ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ และติดตามบทความเนื้อหาสาระดี ๆ ด้านสุขภาพ และเคล็ดลับการวางแผนสร้างหลักประกันในชีวิตได้ที่ Gen Healthy Life

HTML::image(