จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนตื่นตัวในด้านสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distance ในชีวิตวิถีใหม่ยุค New Normal จึงมีการปรับพฤติกรรมในการเข้าไปใช้บริการในร้านอาหาร ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข สอดคล้องกับงานวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวของผู้เข้ารับบริการร้านอาหารสำหรับออกแบบและพัฒนาต้นแบบร้านอาหารวิถีใหม่ในสังคมเปลี่ยนแปลง New Normal เพื่อสร้างมาตรฐานของการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับผู้ใช้บริการร้านอาหาร โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. ) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นองค์กรสำคัญของรัฐ ในการสนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ สามารถใช้เป็นองค์ความรู้นำไปปรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เสริมศักยภาพด้านการผลิตในภาคส่วนต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทาง วช. ได้ให้การสนับสนุนผลงานวิจัยในหลายด้าน รวมไปถึงการจัดระเบียบพฤติกรรมของผู้บริโภคในร้านอาหาร หลังมีมาตรการผ่านคลายให้สามารถนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ แต่ยังต้องยึดตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยผลงานการดีไซน์ออกแบบร้านอาหารต้นแบบ เพื่อให้เป็นไปตามสุขอนามัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นายศรัณยู สว่างเมฆ อาจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดเผยว่า ทางทีมวิจัยได้ร่วมกัน ออกแบบการจัดรูปแบบของร้านอาหารในยุค New Normal เพื่อลดความแออัดและเว้นระยะห่าง เริ่มตั้งแต่การออกแบบพื้นที่การใช้สอย ( Zoning ) ภายในร้าน การจัดโต๊ะอาหาร การคัดกรองก่อนเข้าร้าน การสัญจรภายในร้าน จุดวางช้อน จาน อุปกรณ์เสริม อาทิ ฉากกั้นโต๊ะจัดวางอาหาร ระบบการถ่ายเทอากาศภายในร้านทั้งระบบปิดและระบบเปิด ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขโดยนำวิทยาการเรื่องการออกแบบมาประยุกต์ใช้ตามลักษณะทางกายภาพของแต่ละร้าน ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเป็นการยกระดับมาตรฐานการใช้บริการร้านอาหาร ให้สูงกว่าอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 รวมถึงสามารถสร้างความอุ่นใจให้ผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้สามารถนำมาปรับใช้สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหาร โดยสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช. )
ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กล่าวว่า จากความมุ่งมั่นในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) ที่มีมายาวนาน จนถึงวันนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 20 แห่งการก่อตั้งวันสถาปนา 18 มกราคม 2568 และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันราชมงคลพระนคร ยังคงเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ ขณะเดียวกันทำหน้าที่ขับเคลื่อนและขยายโอกาสทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ พร้อม
เซ็นทรัลเวิลด์ ผลักดันซอฟท์พาวเวอร์ยกระดับงานแฟชั่นหนุนงานนิสิต-นักศึกษา "The Cocoons centralwOrld Graduate Fashion Week 2023"
—
เซ็นทรัลเวิลด์ ผลักดันซอฟ...
ม.ศรีปทุม จับมือ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจทางด้านวิชาการ และวิจัย
—
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ ม...
LH Bank มอบเงิน 500,000 บาท สนับสนุนโครงการเว็บไซต์ฉลาดโอน
—
นางสาวชมภูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด...
วช. หนุนนวัตกรรมเส้นใยจากใบอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากธรรมชาติ
—
ปัญหามลพิษภายในประเทศทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจากก...
วช. หนุนงานวิจัยต้นแบบการจัดร้านอาหารชีวิตวิถีใหม่ New Normal ตามมาตรฐานสุขอนามัย
—
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้...
DEK สถาปัตย์ SPU คว้ารางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ 2565 มรท.พระนคร
—
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวนนัชชา สินจินดาวงศ์ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศา...
วช. หนุนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหมือดแอ่ จ.อุบลราชธานี สร้างผลิตภัณฑ์ฝ้ายทอมือผ้าทออีสาน สู่ตลาดโลก
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงก...
ไทยพาณิชย์ โพรเทค ผนึกกำลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปูทางอาชีพที่ปรึกษาด้านความคุ้มครองให้คนรุ่นใหม่
—
ไทยพาณิชย์ โพรเทค จับเทรนด์คนรุ่นใหม่มองห...
วศ. MOU มทร.พระนคร เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสู่ระดับสากล
—
19 สิงหาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...