ระบบกรองสายพันธุ์อัตโนมัติสามารถระบุและคัดกรองปลาแซลมอนแปซิฟิกซึ่งเป็นสายพันธุ์รุกรานได้ ป้องกันการทำลายประชากรปลาแซลมอนแอตแลนติกในนอร์เวย์
หัวเว่ย (Huawei) และสมาคมล่าสัตว์และการประมงแห่งแบร์เลแวค (Berlev?g Jeger-og Fiskerforening หรือ BJFF) ซึ่งเป็นพันธมิตรของหัวเว่ยในนอร์เวย์ ประสบความสำเร็จในการติดตั้งระบบคัดกรองสายพันธุ์ปลาที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ในแม่น้ำสโตเรลวา (Storelva) ของนอร์เวย์ ซึ่งช่วยให้ปลาแซลมอนแอตแลนติกว่ายกลับสู่ต้นน้ำได้ และต้อนปลาแซลมอนแปซิฟิกซึ่งเป็นสายพันธุ์รุกรานเข้าไปสู่บ่อพักได้
ปลาแซลมอนแปซิฟิก หรือที่รู้จักในกันชื่อแซลมอนหลังค่อม ถูกปล่อยลงสู่ทะเลขาวของรัสเซียในช่วงยุค 50 และเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วลงสู่ชายฝั่งนอร์เวย์ สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในท้องถิ่นและก่อให้เกิดโรคใหม่ วงจรการแพร่พันธุ์ที่รวดเร็วของปลาชนิดนี้ และการแข่งขันเพื่อแย่งชิงแหล่งอาหารที่ดุเดือด ได้สร้างภัยคุกคามต่อปลาแซลมอนแอตแลนติกในแม่น้ำหลายร้อยสายตามแนวชายฝั่งของนอร์เวย์
ในเดือนมิถุนายน 2565 ภายใต้โครงการเทคฟอร์ออล (TECH4ALL) ของหัวเว่ย หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสมาคมล่าสัตว์และการประมงแห่งแบร์เลแวคในการติดตั้งระบบกรองสายพันธุ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาแซลมอนแปซิฟิกเข้าสู่ช่องทางต้นน้ำของระบบแม่น้ำในนอร์เวย์ ประตูกลเหล่านี้ช่วยให้ปลาแซลมอนแอตแลนติกและปลาแซลมอนจุดแดงอาร์กติกในท้องถิ่นสามารถว่ายสู่ต้นน้ำเพื่อวางไข่ได้ ขณะที่ปลาแซลมอนแปซิฟิกจะถูกต้อนไปยังบ่อพักเพื่อนำออกในภายหลัง
แกร์ คริสเตียนเซน (Geir Kristiansen) ประธานสมาคมฯ กล่าวว่า "นี่เป็นนวัตกรรมที่ไม่เหมือนใครทั้งสำหรับนอร์เวย์และทั่วโลก โซลูชันที่มีความทันสมัยนี้ทำให้เราควบคุมแม่น้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ดูแลแม่น้ำในท้องถิ่น หน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานส่วนกลางตามแนวชายฝั่ง ยังได้แสดงความสนใจในโครงการนี้เป็นอย่างมากด้วย"
ความต้องการทางออกของปัญหาจัดเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยชุมชน หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าของแม่น้ำ และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างระบุว่า ปลาแซลมอนแอตแลนติกตามธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของนอร์เวย์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนปลาแซลมอนแปซิฟิกที่นักกีฬาตกปลาจับได้จากแม่น้ำของนอร์เวย์ได้พุ่งสูงขึ้น โดยในปี 2562 มีปลาแซลมอนแปซิฟิกถูกจับได้กว่า 13,900 ตัว และมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 111,700 ตัวในปี 2564 คิดเป็น 57% ของปลาแซลมอนที่จับได้ในนอร์เวย์ทั้งหมด ขณะที่ทุกเมืองในนอร์เวย์ต่างมีประวัติการจับปลาแซลมอนแปซิฟิก โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดอยู่ในเมืองทรอมส์และฟินน์มาร์ค
ในทางตรงกันข้าม จำนวนปลาแซลมอนพื้นเมืองกลับลดจำนวนลงถึงหนึ่งในสี่จากระดับสูงสุด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากจำนวนปลาสายพันธุ์รุกรานที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีปลาแซลมอนที่ถูกเพาะเลี้ยงในฟาร์มซึ่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยกว่าหลุดรอดออกมา ทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นโดยการทำให้จีโนมของปลาแซลมอนแอตแลนติกอ่อนแอลงหลังการผสมข้ามสายพันธุ์
ทอร์ ชูลสตัด (Tor Schulstad) ผู้อำนวยการประจำสมาคมฯ กล่าวว่า "ปลาแซลมอนพื้นเมืองในธรรมชาติของนอร์เวย์ถูกคุกคามโดยปลาสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงปลาแซลมอนหลังค่อมและปลาแซลมอนที่เลี้ยงในฟาร์ม ระบบเฝ้าติดตามที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์นี้จะช่วยหยุดปัญหาเหล่านี้ และช่วยให้บริหารจัดการแม่น้ำอย่างสอดรับกับอนาคตได้"
ข้อมูลที่รวบรวมได้ยังเปิดเผยรูปแบบพฤติกรรมการย้ายถิ่นที่แม่นยำ ตรวจสอบจำนวนประชากรปลาประเภทต่าง ๆ มอบข้อมูลสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม และช่วยพัฒนามาตรการในการหยุดการจับปลาที่มากเกินไป
เวการ์ด คเจเนอร์ (Vegard Kjenner) ผู้อำนวยการด้านเทคนิคของหัวเว่ย ประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า "การติดตั้งระบบคัดกรองสายพันธุ์ปลาในแม่น้ำที่เชี่ยวกรากเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง ผมประทับใจในความพยายามของพันธมิตรของเราอย่าง BJFF และชุมชนท้องถิ่น ผู้คนที่นี่ต่างปรารถนาที่จะพิสูจน์บทบาทของการจัดการที่ดีในการช่วยแม่น้ำจากภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม"
การเป็นโซลูชันแรกของโลกทำให้จำเป็นต้องอาศัยการออกแบบตั้งแต่เริ่มต้น โดยในช่วงต้นปี 2564 อัลกอริทึมได้ถูกออกแบบขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีแมชชีนวิชันของหัวเว่ย เพื่อระบุปลาสายพันธุ์ต่าง ๆ จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2564 หัวเว่ยและสมาคมฯ ได้ติดตั้งสถานีตรวจสอบที่ติดตั้งกล้องใต้น้ำในแม่น้ำสโตเรลวา ฮาร์ดแวร์และอัลกอริทึมสามารถสตรีมวิดีโออย่างต่อเนื่องเพื่อระบุปลาแซลมอนแอตแลนติกด้วยความแม่นยำที่ 91% และลดข้อกำหนดด้านแรงงานคนลงถึง 90% โดยวิธีการดั้งเดิมนั้นใช้แรงงานจำนวนมาก เพราะอาศัยอาสาสมัครยืนอยู่ในแม่น้ำเพื่อระบุสายพันธุ์ปลาแซลมอนแปซิฟิกด้วยตาเปล่าโดยสังเกตจากจุดบนหาง ซึ่งทำให้ยากต่อการสรุประดับการคุกคาม เนื่องจากยังมีปลาอีกจำนวนมากที่หลุดรอดไป ประกอบกับไม่สามารถระบุเพศของปลาเหล่านั้นได้
ขั้นตอนต่อไปคือการปรับใช้โซลูชันในฟาร์มปลาแซลมอนของนอร์เวย์ เพื่อลดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปลาที่หลุดรอดจากฟาร์ม
เกี่ยวกับเทคฟอร์ออล
เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) เป็นโครงการริเริ่มและแผนปฏิบัติการระยะยาวที่หัวเว่ยเปิดตัวขึ้นเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครถูกทอดทิ้งในโลกดิจิทัลนี้ หัวเว่ยทำงานกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพัฒนา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ในเทคฟอร์ออล ได้ที่
https://www.huawei.com/en/tech4all/environment
และติดตามเราทาง
https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1883650/2.jpg
เอ็กซ์เผิง ผู้นำธุรกิจไฮ-เทคสมาร์ทโมบิลิตี้ เปิดตัวกลยุทธ์ AI Tech Tree หรือโครงข่ายการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แบบต่างๆ ที่ผ่านการอัปเกรดใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับ การเดินทางในอนาคต ผ่านการหลอมรวมเทคโนโลยี AI การบริหารพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และปัญญาประดิษฐ์ที่ฝังอยู่ในตัว รวมถึงการกำหนดรากฐานระบบนิเวศในอนาคต สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะหุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ และพาหนะบินได้ มร. เหอ เสี่ยวเผิง ประธานและซีอีโอของ เอ็กซ์เผิง กล่าวว่า "ไม่มีใครสามารถหยุดยั้งคลื่นแห่งความก้าวหน้านี้ได้ ปัจจุบัน AI
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...
ฟอร์ติเน็ต หนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อบรมฟรี "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" มอบใบเซอร์นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
—
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหล...
ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินให้ลูกค้ามีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
—
ทีเอ็มบีธนช...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU จับมือ BDI เปิดหลักสูตร 'Intermediate Data Science' รุ่น 1 อัปสกิลสู่มืออาชีพด้านวิเคราะห์ข้อมูล
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาล...
PathSense นวัตกรรม AI เพื่อผู้พิการทางสายตาจากนักศึกษา CMKL คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2025
—
ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากหลักสูตร วศ.บ....