วธ.ร่วมกับสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา เปิดเสวนาด้านภาพยนตร์ดัน soft power ไทยแข่งขันเวทีโลก

16 Sep 2022

วธ.ร่วมกับสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา เปิดเสวนาด้านภาพยนตร์ดัน soft power ไทยแข่งขันเวทีโลก เผยข้อมูลผลงานวิจัยฯ OCC ในปี 2564 คนไทยเป็นสมาชิกถึง 11.3 ล้านคน มีผู้ให้บริการ OCC ลงทุนในคอนเทนต์ไทยถึง 3,700 ล้านบาท คาดว่าปี 2565 เพิ่มเป็น 5,300 ล้านบาท

วธ.ร่วมกับสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา เปิดเสวนาด้านภาพยนตร์ดัน soft power ไทยแข่งขันเวทีโลก

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการเสวนาด้านภาพยนตร์ (Thailand Film Seminar 2022) และการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านภาพยนตร์ (Film Workshop) โดยมี Mr. Stephen Jenner Vice President Motion Picture Association (MPA) โดยมีผู้ประกอบการภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ เข้าร่วม หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร กรุงเทพฯ โดย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับ สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (Motion Picture Association,MPA) สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดงานเสวนาดังกล่าวขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์สร้างสรรค์ของไทยที่จะไปแข่งขันบนเวทีโลก สอดแทรกเรื่องราวความเป็นไทย หรือใช้ soft power ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย

ปลัด วธ. กล่าวว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมหลักและครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมคอนเทนต์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ โฆษณา แอนิเมชัน เกม ดนตรี  ดิจิทัลคอนเทนต์ฯ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ของรัฐบาล เพื่อสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภค ผ่านการแทรกซึมทางความคิดและวัฒนธรรม โดยสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ได้ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในทุกมิติแม้ว่าในปัจจุบัน สถานการณ์โลกจะทำให้ผู้ชมเข้ารับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์น้อยลง แต่ผู้ชมก็มีความนิยมในการรับชมในรูปแบบสตรีมมิ่งมากขึ้น จนทำให้เกิดแพลตฟอร์มรายใหม่เกิดขึ้นในตลาดอีกมาก กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของ Soft Power ผ่านสื่อภาพยนตร์ โดยมุ่งเน้นผลักดัน ให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฯ นำเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม อาหาร สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไปสอดแทรกในภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และสื่อต่าง ๆ เพื่อส่งออก สร้างรายได้ พื้นฟูเศรษฐกิจ และเกิดการสร้างค่านิยมไทย

ทั้งนี้ ในรายงานจาก Frontier Economics แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์กำลังกลายเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย การใช้คอนเทนต์มาเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ สร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศ นำมาสู่การท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ การมีช่องทางการเผยแพร่คอนเทนต์ที่หลากหลายเพื่อแสดงผลงานสร้างสรรค์และวัฒนธรรมที่ดีที่สุดของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างที่ดีของไทยในการใช้ Soft Power"  นอกจากนี้ยังพบว่า รายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจของให้บริการสตรีมมิ่งคอนเทนต์ (Online Curated Content - OCC) ในประเทศไทยค้นพบ ดังนี้  ประเทศไทยส่งเสริมอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ผู้ให้บริการ OCC มีการลงทุนในคอนเทนต์ไทยเพิ่มขึ้น ในปี 2564 คนไทยเป็นสมาชิก OCC ถึง 11.3 ล้านคน โดย 81% ของผู้ใช้บริการ OCC อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง มีผู้ให้บริการ OCC ลงทุนในคอนเทนต์ไทยในปี 2564 ถึง 3,700 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,300 ล้านบาทในปี 2565 ยกตัวอย่างบริการ OCC ได้นำคอนเทนต์ไทยไปสู่เวทีโลก ได้แก่ ซีรี่ส์ ถ้ำหลวง:ภารกิจแห่งความหวัง ที่ฉายทาง NETFLIX เป็นต้น โดยทาง OCC กำลังเพิ่มการลงทุนในคอนเทนต์ไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ชาวไทย ทำให้เกิดการจ้างงานและทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในไทย โดยในปี 2563 OCC ก่อให้เกิดการจ้างงาน 45,000 ตำแหน่งในไทย

HTML::image(