ผู้เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง คาดว่ารูปแบบการเดินทางและการทำงานจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในสิ้นปี 2565

26 Apr 2022

จากผลการศึกษา The International SOS Risk Outlook 2022 ผู้เกี่ยวข้องด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง คาดว่ารูปแบบการเดินทางและการทำงานจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในสิ้นปี 2565 โดยผลการศึกษานี้แสดงถึงระยะเวลาที่ใช้เพื่อปรับสู่ "ความปกติรูปแบบใหม่"[ A "new normal" is defined as either how an activity was pre-pandemic, or how it will be for the foreseeable future. ] ซึ่งรูปแบบและวิถีการกลับมาทำงานนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทั้งการทำงานที่บ้านและที่ทำงาน มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะทรงตัวแล้ว ในขณะที่การทำงานในสำนักงานคาดว่าจะใช้เวลานานกว่า การเดินทางเพื่อธุรกิจคาดว่าจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานที่สุด โดย 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าอาจใช้เวลานานถึงสองปีในการปรับสู่ "ความปกติรูปแบบใหม่"

ผู้เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง คาดว่ารูปแบบการเดินทางและการทำงานจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในสิ้นปี 2565

ข้อมูลเชิงลึกนี้มาจากผลการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงเกือบ 1,000 คนใน 75 ประเทศ[ The annual risk outlook study exposes gaps in the protection of employee health and security such as risk perception, mental health, productivity impacts and operational challenges. The survey* is complemented with interpretations and predictions from the Workforce Resilience Council, as well as extensive proprietary data and analysis from International SOS. The Workforce Resilience Council is is made up of representative experts of all health, security, and safety fields. The participants in this year's Council are from a mix of think tanks, associations, advisory boards, NGOs, and IGOs, relevant to the risks of working at home or abroad.] ควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงลึกจาก Workforce Resilience Council และข้อมูลภายใต้ลิขสิทธิ์ของ International SOS Risk Outlook 2022 ยังบ่งบอกว่าการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงระยะยาวต่อรูปแบบการทำงานสำหรับหลาย ๆ องค์กร

การคาดหมายด้านการเดินทางแตกต่างกันทั่วโลก

ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้กว่าการเดินทางเพื่อธุรกิจจะเข้าสู่ภาวะทรงตัวนั้นแตกต่างกันอย่างมากทั่วโลก โดย 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามในยุโรปมองในแง่บวกว่าวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ จะเข้าที่เข้าทางในอีกหกเดือนข้างหน้า ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในอเมริกาและเอเชียคาดว่าจะใช้เวลานานกว่านั้น ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียกว่า 49% คาดว่าความแน่นอนจะเกิดขึ้นได้อาจใช้เวลาตั้งแต่ 12 เดือนถึง 3 ปี การคาดหมายที่แตกต่างกันเหล่านี้ อาจสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันของมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด และระดับการฉีดวัคซีนทั่วโลก ตลอดจนข้อกำหนดด้านการเดินทางและการเข้าประเทศที่แตกต่างกัน

จากผลการสำรวจของผู้ตอบแบบสอบถาม Risk Outlook มีเพียง 54% ที่เต็มใจเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อเทียบกับ 73% ที่ต้องการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของผู้ที่พร้อมเดินทางไปต่างประเทศในช่วงวันหยุด ที่มีเพียง 47% เท่านั้น

นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า "องค์กรต่าง ๆ ต้องสร้างความมั่นใจกลับคืนมา และทำให้การปฏิบัติงานจากระยะไกลและแบบพบหน้าประสบผลสำเร็จ ในขณะที่การเดินทางเพื่อธุรกิจกลับมาเติบโตอีกครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่เคยเป็นมาก่อน มาตรการด้านการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการตรวจโควิด ส่งผลให้การเดินทางระหว่างประเทศนั้นมีความซับซ้อน สำหรับองค์กรที่ดูแลด้านการวางโปรแกรมการเดินทาง จำเป็นต้องทำความเข้าใจในเชิงรุกเกี่ยวกับความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นด้านลอจิสติกส์ ความปลอดภัย และสุขภาพ และให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่พนักงาน สิ่งสำคัญคือการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งสามารถช่วยให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่น ข้อมูลเชิงลึกนี้จำเป็นต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น โควิดสายพันธุ์ใหม่ หรือข้อกังวลด้านความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

รูปแบบการทำงานใหม่ - ทำงานจากที่บ้านสองวัน

ข้อมูลจาก Risk Outlook ระบุว่า 77% ขององค์กรต่าง ๆ ได้นำแนวทางการทำงานแบบไฮบริดมาใช้ ระบบการทำงานที่พบบ่อยที่สุดคือให้พนักงานทำงานที่บ้านสัปดาห์ละสองวัน และในสำนักงานหรือพื้นที่หน้างานอีกสามวัน โดยมีเพียง 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาต้องการทำงานห้าวันต่อสัปดาห์ที่สำนักงานหรือพื้นที่หน้างาน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนเกิดโรคระบาด

ไม่ว่าพนักงานจะทำงานภายในสำนักงานกี่วันก็ตาม องค์กรต้องแน่ใจว่าพนักงานรู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวถึงประเด็นสำคัญหลายอย่างที่ควรจะมุ่งเน้น เพื่อสนับสนุนพนักงานเมื่อพวกเขากลับไปในสถานที่ทำงาน:

สามอันดับแรกในการสนับสนุนการกลับมาสู่ภาวะปกติอย่างปลอดภัย

  • การเข้าถึงบริการดูแลด้านสุขภาพจิต
  • ช่องทางในการสื่อสารกับพนักงานในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญ
  • การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพตามตำแหน่งสถานที่

"เมื่อเราสอบถามองค์กรต่างๆ ถึงการสนับสนุนพนักงานในการกลับไปปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานอย่างปลอดภัยได้อย่างไร ทำให้เห็นได้ชัดว่าการลงทุนด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตนั้นมีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ประเภทของข้อมูลที่องค์กรในแต่ละประเภทธุรกิจต้องการสื่อสารนั้นมีความแตกต่างกัน สำหรับองค์กรที่รับผิดชอบด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจจำนวนมาก ข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยตามตำแหน่งสถานที่ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับพนักงาน และโดยทั่วไปพนักงานออฟฟิศจะมองหาบริการดูแลด้านสุขภาพจิตเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ คาดว่าเรื่องสุขภาพจิตจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบหลักต่อการทำงานในปีนี้ การดูแลด้านสุขภาพจิตจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทำงาน" นพ. จามร เงินชารี กล่าวเสริม