เอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป (NDC Partnership) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก ได้ประกาศยุทธศาสตร์การเงิน (Finance Strategy) ณ เมืองมอนเตโกเบย์ ประเทศจาเมกา เพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเงินทุนและเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นายแอนดรูว์ โฮลเนสส์ (Andrew Holness) นายกรัฐมนตรีจาเมกา ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ดังกล่าวร่วมกับประธานร่วมของเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป ได้แก่ นายแมททิว ซามูดา (Matthew Samuda) วุฒิสมาชิกและรัฐมนตรีลอยของกระทรวงการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานแห่งจาเมกา และนายอโลค ชาร์มา (Alok Sharma) สมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักรและประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ
ยุทธศาสตร์การเงินดังกล่าวมุ่งเป้าไปที่การให้เงินทุนและการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา โดยใช้รูปแบบความร่วมมือที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
ยุทธศาสตร์การเงินจะ
ยุทธศาสตร์การเงินนี้ต่อยอดมาจากผลงานล่าสุดของเอ็นดีซี นั่นคือการจัดสรรเงินทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ยังต้องการเงินทุนอีกมาก ทั้งนี้ รายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่มีชื่อว่ารายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2565: การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change 2022: Mitigation of Climate Change) เตือนว่าเราไม่ได้อยู่บนเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายการควบคุมไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ตามที่ระบุไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement)
หลังการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ประเทศต่าง ๆ ได้หันมาให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสภาพภูมิอากาศ แต่การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศต้องการความรวดเร็วและจริงจังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยในรายงานแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานโลก (World Energy Transition Outlook) ขององค์การพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) ซึ่งเป็นสมาชิกของเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป ได้ประมาณการว่าจำเป็นต้องใช้เงินสูงถึง 51 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในการลงทุนด้านพลังงานเพียงอย่างเดียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการควบคุมไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส (ระหว่างปี 2564-2573)
"ในฐานะที่เป็นประเทศเกาะขนาดเล็กที่กำลังพัฒนา เป้าหมายการควบคุมไม่ให้โลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีสไม่ได้เป็นเพียงเป้าหมายที่เป็นนามธรรม แต่เป็นเรื่องของความอยู่รอด" นายกรัฐมนตรีแอนดรูว์ โฮลเนสส์ กล่าว "ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาและการเปิดตัวยุทธศาสตร์การเงินของเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป จึงมีความสำคัญอย่างมากและเหมาะสมกับเวลาอย่างยิ่ง"
"ยุทธศาสตร์การเงินของเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้แก่สมาชิกและผู้นำทั่วโลกว่า เป้าหมายที่ทะเยอทะยานมากขึ้นของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาต้องได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยเงินทุนก้อนใหญ่ที่มีความแน่นอนและทันเวลา" นายแมททิว ซามูดา กล่าวเสริม
นายอโลค ชาร์มา ประธาน COP กล่าวเสริมว่า "เรามีความก้าวหน้าอย่างมากในการประชุม COP26 แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนความมุ่งมั่นไปสู่การปฏิบัติจริง โดยเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป ได้แสดงให้เห็นว่า การผสานความเป็นผู้นำของประเทศต่าง ๆ เข้ากับการตอบสนองที่สอดคล้องกันจากพันธมิตรทั่วโลก ทำให้การสนับสนุนทางเทคนิคและการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ"
เกี่ยวกับเอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป
เอ็นดีซี พาร์ทเนอร์ชิป มีสมาชิกกว่า 200 ราย ซึ่งครอบคลุม 115 ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และสถาบัน 80 แห่ง โดยมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีสและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยรัฐบาลประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่จัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการตามเอ็นดีซี รวมถึงการสนับสนุนที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายและริเริ่มโครงการที่นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งการสนับสนุนครอบคลุมถึงความเชี่ยวชาญ ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเงินทุนสำหรับสมาชิก
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1687000/NDC_Partnership_Logo.jpg
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
เศรษฐา-ร่วมเจรจาบริษัทชั้นนำฝรั่งเศส ดึงโอกาสลงทุน-ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
—
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะที่ปรึกษาด้านการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศสในประเทศไทย (French F...
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มรภ.สวนสุนันทา ต่ออีกวาระ
—
สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ช...
กรมที่ดินชี้แจง! นายกฯ ไม่ได้แทรกแซงเกี่ยวกับการเพิกถอนที่ดินธรณีสงฆ์
—
ตามที่มีการอภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการถือหุ้นของนายกรัฐมนตรีในบริษัท อัลไพน์ฯ ซึ่...