วช. แสดงความยินดีกับโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา ที่คว้ารางวัลเหรียญทองเกียรติยศ และรางวัลอื่น ๆงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน "Inventions Geneva Evaluation Day - Virtual Event" รูปแบบออนไลน์ ณ นครเจนีวาสมาพันธรัฐสวิส วันที่ 4 เมษายน 2565
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ผลักดันการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและด้านการประดิษฐ์คิดค้นให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทย ผ่านการประกวดและนำเสนอผลงานในเวทีนานาชาติต่าง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างโอกาสแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของไทย ให้ผลงานได้มีการรับรองมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในเชิงพาณิชย์ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วช. มุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์และสามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายสินค้าจากการวิจัยและนวัตกรรม วช. จึงสนับสนุนนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์
และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน "Inventions Geneva Evaluation Day - Virtual Event" รูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 16 - 20 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สำหรับงาน "Inventions Geneva Evaluation Days - Virtual Event" เป็นงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสวิสฯ อาทิ The Swiss Federal Government of the State และ The City of Geneva และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือ The World Intellectual Property Organization (WIPO) ซึ่งจัดขึ้นตลอดช่วงเดือนมีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในรูปแบบออนไลน์ ภายในงานมีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการกว่า 500 ผลงาน จาก 20 ประเทศ
โดย วช. ได้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรในการนำผลงานของนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย เข้าร่วมนำเสนอ จำนวน 35 ผลงาน จาก 17 หน่วยงาน ซึ่งเป็นที่น่ายินดี ที่การประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน "Inventions Geneva Evaluation Day - Virtual Event" ในครั้งนี้ มีผลงานงานวิจัยเรื่อง "อุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้รถเข็น ขึ้นทางลาด" ของ นายจีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และนางสาววริษฐา มโนรถจตุรงค์ แห่ง โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ ด้วยนอกจากนี้ ยังมีนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย ได้รับเหรียญทอง จำนวน 11 รางวัล ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง อุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกส์ชิปสำหรับตรวจไมโครฟิลาเรียในเลือด แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผลงานวิจัยเรื่อง Tri-interactive exercise with brain energy & stimulation training แห่ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผลงานวิจัยเรื่อง นมข้นหวานจากข้าวและธัญพืช สูตรมังสวิรัติ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผลงานวิจัยเรื่อง เฮมพ์-พารา วอลล์ : วัสดุก่อผนังฉนวนความร้อนจากแกนกัญชงอัดน้ำยางธรรมชาติ แห่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ผลงานวิจัยเรื่อง การสร้างต้นแบบแท่งเย็น RIXI(R) สำหรับบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร แห่ง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ผลงานวิจัยเรื่อง อาจารย์หุ่นยนต์ แห่ง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, ผลงานวิจัยเรื่อง ฟิล์มโพรเทกซ์เตอร์ แห่ง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ผลงานวิจัยเรื่อง ฐานรองแก้วน้ำช่วยเตือนการดื่มน้ำ แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ผลงานวิจัยเรื่อง กระบวนการผลิตเข็มขนาดไมครอนบนผืนผ้าแบบรวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ แห่ง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ผลงานวิจัยเรื่อง ReLeep - A New Lifestyle Technology แห่ง บริษัท เอ็นคอนเน็ค จำกัด, และผลงานวิจัยเรื่อง ไฟท์ฝุ่น สเปรย์ลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 แห่ง บริษัท เฮิร์บ การ์เดียน จำกัด
รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 18 รางวัล ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผลงานวิจัยเรื่อง ชุดตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอคู่ไม่สมอย่างรวดเร็ว, ผลงานวิจัยเรื่อง เซรั่มลดริ้วรอยเฟลมแอนด์เฟริ์ม, ผลงานวิจัยเรื่อง ลิปซ์ เอสเทอร่า โปร เอ็มโฟร์เอ็กซ์, ผลงานวิจัยเรื่อง ปฏิกิริยาไบโอดีเซลชนิดแม่เหล็ก, ผลงานวิจัยเรื่อง โซโอเรียนติน สกัดจากใบไผ่เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและใช้งานด้านเวชสำอาง, ผลงานวิจัยเรื่อง อาหารเสริม ไพรม์ วี หนึ่งห้าหนึ่งศูนย์, ผลงานวิจัยเรื่อง เซนเซอร์ฉลาดสำหรับความปลอดภัยในอาหาร, ผลงานวิจัยเรื่อง Real-time Water-saving Irrigation System for High Quality Organic Product in Arid Region to Supply High Value Organic Market แห่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ผลงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมชุดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออแกนิคจากข้าวหอมกระดังงาเพื่อการชะลอวัย แห่ง คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ผลงานวิจัยเรื่อง น้ำยาทำความสะอาดผิวแบบเช็ดออกลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส ด้วยสารสำคัญคือ lauryl glycoside และสารสกัดว่านหางจระเข้ แห่ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ผลงานวิจัยเรื่อง เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศโดยใช้รังสี UVC แบบติดเพดาน แห่ง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ผลงานวิจัยเรื่อง นาโน-แอล แห่ง โรงเรียนนานาชาตินิสท์, ผลงานวิจัยเรื่อง ตัวดูดซับอัจฉริยะ CARBANO-Ag สำหรับผลิตน้ำดื่มปลอดเชื้อและบำบัดมลพิษ, ผลงานวิจัยเรื่อง รีเชอรอล เนเชอรัล เฟเชียว ซีรั่ม จากเทคโนโลยีการกักเก็บสู่นวัตกรรมเครื่องสำอาง, ผลงานวิจัยเรื่อง อนุภาคนาโนแคลเซียมกักเก็บวิตามินดี แห่ง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ผลงานวิจัยเรื่อง เอ็น เค ซิตรัส แห่ง บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, และผลงานวิจัยเรื่อง จี อาร์ เอ็กซ์ พลัส แห่ง บริษัท ฟู้ดแมททริซ์ โกลบอล จำกัด
รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ ผลงานวิจัยเรื่อง ห้องปฏิบัติการดีจัง แห่ง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, ผลงานวิจัยเรื่อง แอปพลิเคชั่นปฏิสัมพันธ์ การตรวจจับสัญญาณมือจราจร แห่ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ผลงานวิจัยเรื่อง ปลอดภัยหายห่วงไปกับ Wristband อัจฉริยะ แห่ง โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี, ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธี Transit Photometry แห่ง โรงเรียนวิทยศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี, และผลงานวิจัยเรื่อง Colosal-D: สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤิทธิ์ยับยั้งยีนส์ชราและชะลอวัยในอุตสาหกรรมการแพทย์และผิวหนัง แห่ง บริษัท อาร์ แอนด์ ดี รีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ ซัพพลาย จำกัด
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit