ผลการศึกษาใหม่ที่ได้รับการนำเสนอในการประชุมขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองแห่งยุโรป (European Stroke Organisation: ESO) ระบุว่า ความเครียดจากการทำงาน ความผิดปกติด้านการนอน และความเหนื่อยล้า ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่ของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย กำลังเพิ่มสูงขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
นักวิจัยได้เปรียบเทียบข้อมูลผู้ชายและผู้หญิง 22,000 คนจากการสำรวจ Swiss Health Survey ในปี 2550, 2555 และ 2560 โดยพบว่าจำนวนผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงใหม่ของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่าง "น่าตกใจ" ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับจำนวนผู้หญิงทำงานเต็มเวลาที่เพิ่มขึ้นจาก 38% ในปี 2550 เป็น 44% ในปี 2560
ในภาพรวม จำนวนผู้ชายและผู้หญิงที่มีความเครียดจากการทำงานเพิ่มขึ้นจาก 59% ในปี 2555 เป็น 66% ในปี 2560 ส่วนจำนวนผู้ที่รู้สึกเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 29% (เพิ่มขึ้นแตะ 33% ในผู้หญิง และ 26% ในผู้ชาย) ขณะที่จำนวนผู้ที่มีความผิดปกติด้านการนอนเพิ่มขึ้นจาก 24% เป็น 29% โดยพบว่าความผิดปกติด้านการนอนอย่างรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นในผู้หญิง (8%) มากกว่าผู้ชาย (5%)
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงดั้งเดิมของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าว โดย 27% มีความดันโลหิตสูง, 18% มีคอเลสเตอรอลสูง และ 5% เป็นโรคเบาหวาน ผลวิจัยยังระบุด้วยว่า ผู้ที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 11% ส่วนการสูบบุหรี่ลดลงจากราว 10.5 มวน เหลือ 9.5 มวนต่อวัน แต่แนวโน้มทั้งสองพบในผู้ชายมากกว่า
ผู้เขียนรายงานซึ่งประกอบด้วย Dr. Martin Haensel นักประสาทวิทยาจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริก และ Dr. Susanne Wegener ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า "การศึกษาของเราพบว่าผู้ชายมีแนวโน้มสูบบุหรี่และอ้วนกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงมีปัจจัยเสี่ยงใหม่ของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายเพิ่มขึ้นมากกว่า ทั้งความเครียดจากการทำงาน ความผิดปกติด้านการนอน และความเหนื่อยล้า"
"แนวโน้มการเพิ่มขึ้นดังกล่าวสอดคล้องกับจำนวนผู้หญิงทำงานเต็มเวลาที่เพิ่มขึ้น การที่ต้องรับผิดชอบทั้งงานบ้านและงานนอกบ้าน รวมถึงมุมมองเชิงสังคมและวัฒนธรรมอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีความต้องการด้านสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงของผู้หญิงที่เราอาจมองข้ามไปในชีวิตประจำวันอันวุ่นวาย"
"โดยปกติผู้ชายมักถูกมองว่าได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายมากกว่าผู้หญิง แต่ในบางประเทศ ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย มันมีช่องว่างทางเพศและเราจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาสาเหตุต่อไป" Dr. Wegener กล่าว
นายพอล ลิดเคอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์ค จำกัด เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีจัดให้เป็นวันเบาหวานโลก โดยปัจจุบันพบว่าคนไทยมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) สูงถึง 1 ใน 3 และมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนปกติที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคตอันใกล้ได้มากถึง 7 เท่า ซึ่งภัยเงียบจากการเกิดโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่จะทำให้พบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูง แต่ยังส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิตได้ในอนาคต เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไต จอประสาทตา
แพ็กเกจผ่าตัดเหมาจ่าย อุ่นใจ สบายกระเป๋า ที่โรงพยาบาล บี.แคร์ฯ
—
โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ พร้อมดูแลคุณในทุกมิติ ด้วยเทคโนโลยี และทีมแพทย์เฉพาะทา...
Advanced Medical Services ยกระดับการรักษา โรคยาก ซับซ้อน เรื้อรัง ที่ โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
—
Advanced Medical Services ยกระดับการรักษา โรคยา...
เตือน! หัวใจไม่เคยหยุดพัก AF Awareness Month 2023 AF ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว ภัยเงียบที่อาจถึงชีวิต
—
เดือนกันยายนของทุกปี เป็น AF Awareness Month หรือเด...
รพ.ไทยนครินทร์ จัดโครงการส่งต่อวัคซีนทางเลือก Moderna ให้กับกลุ่ม 608
—
โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับลูกค้าที่สั่งจองวัคซีนทางเลือก Moderna จัดโครงการ "ลูก...
บำรุงราษฎร์ สนับสนุนภาครัฐ เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชน เน้นมาตรการความปลอดภัยสูงสุดและความเป็นส่วนตัว
—
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ถือเป็นโรงพยาบา...
รพ.ราชวิถี ชวนคนไทยใส่ใจสุขภาพ ให้ห่างไกลโรคหัวใจ
—
โรคหัวใจและหลอดเลือด นับเป็นปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลก โดย สหพันธ์โรคหัวใจโลก ระบุว่า โรคหัวใจและโรคหลอด...