นับตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ "ศูนย์โด๊ป" หยุดดำเนินการเพื่อปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา (WADA) หลังจากที่ได้ทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานของชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาระดับโลก มานานนับ 2 ทศวรรษ น้อยคนที่จะทราบว่า "ศูนย์โด๊ป" ไม่เคยหยุดยั้งที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนสามารถยกระดับขึ้นเป็น "สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา" โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีพันธกิจที่ครอบคลุมทั้งในด้านการบริการวิชาการ การวิจัย และการจัดการเรียนการสอน และยังคงมี "ศูนย์โด๊ป" เป็นส่วนงานหลักของสถาบันฯ และในปี 2565 ที่จะถึงนี้ จะเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท "หลักสูตรวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬา" ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นรุ่นแรก เพื่อรองรับปัญหาเร่งด่วนในการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าว
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา แม้ "ศูนย์โด๊ป" จะหยุดดำเนินการปรับปรุง แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล แต่อย่างใดเนื่องจากทางสถาบันฯ ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยการวางระบบการบริหารจัดการที่รองรับความเสี่ยงครอบคลุมในทุกด้าน รวมทั้งงบประมาณสำรองที่เพียงพอจนสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งการที่ WADA ได้อนุมัติให้ "ศูนย์โด๊ป" กลับมาดำเนินการอีกครั้ง จึงพร้อมดำเนินการต่อได้ทันที โดยจะมีภารกิจตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาครั้งสำคัญที่รออยู่ข้างหน้าเพื่อพิสูจน์ศักยภาพในฐานะที่เป็นศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับโลกซึ่งรับรองโดย WADA แห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน คือ การแข่งขันซีเกมส์ 2022 ณ ประเทศเวียดนาม โดยมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมให้ความเชื่อมั่นจะไม่ทำให้ชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนผิดหวังอย่างแน่นอน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพรชัย กองพัฒนากูล ผู้อำนวยการ
"ศูนย์โด๊ป" กล่าวเพิ่มเติมว่า บทบาทหลักของศูนย์ฯ คือ การตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาให้ได้ตามมาตรฐานของวาดา ในขณะที่รูปแบบของการใช้สารต้องห้ามที่ตรวจพบในนักกีฬาระดับโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าทัน ซึ่งในการนี้จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ ด้วยประสบการณ์ในการตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของศูนย์ฯ จึงมั่นใจได้ถึงความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนองค์ความรู้ในการจัดตั้งหลักสูตรระดับปริญญาโท "วิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬา" ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2565 นี้
"เราได้ก้าวข้ามผ่านสิ่งที่เคยเป็นอุปสรรคต่างๆ มาหมดแล้วจากนี้ต่อไปจะเป็นการพิสูจน์ถึงศักดิ์ศรีของการเป็นศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ได้มาตรฐานระดับโลกที่สามารถทำให้นานาชาติยอมรับได้อีกครั้ง ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท และการสนับสนุนจากพี่น้องชาวไทย มั่นใจได้ว่า "ศูนย์โด๊ป" จะอยู่ในทิศทางที่สามารถสร้างผลงานและชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้อย่างภาคภูมิต่อไป" รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุพรชัย กองพัฒนากูล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
เมื่อวันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์ข้อมูลวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ สถาบันวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. โดยนางสาวสายจิต ดาวสุโข ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรภาควิชาเคมีและภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน เรื่องการจัดทำเอกสารกระบวนการทดสอบสารที่ติดไฟได้เอง เพื่อยื่นขอการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ณ โรงแรม MIDA Grande
เอสโซ่ สนับสนุนโครงการบริหารจัดการขยะชุมชนบ้านแหลมฉบังและชุมชนหาดวอนนภา จ. ชลบุรี
—
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สนับสนุน "โครงการการบริหารจัดก...
PROEN มาเหนือเมฆ เซ็นขายเครื่องมือด้านเทคโนโลยี ให้สถาบันวิทยาศาสตร์ฯมูลค่ากว่า 44.90 ลบ. เดินหน้าผลักดันธุรกิจ สร้าง S-curve ใหม่
—
บมจ.โปรเอ็น คอร์ป (PR...
วว. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัด "สารสกัดรำข้าว" ให้แก่ บริษัทโฮปฟูลฯ พัฒนาองค์ความรู้ สู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด
—
ศ. (วิจัย) ดร.ชุ...
วิศวะมหิดล - JAIST เตือนภัย...เผยผลวิจัย AI -Machine Learning ถูกโจมตีผ่านข้อมูลซ่อนในคิวอาร์โค้ดได้ ชี้ 2 แนวทางป้องกัน
—
โลกแห่งศตวรรษที่ 21 นั้น เทคโน...
ซีอีโอวีเมดชี้ "เกมเกิดมาคู่กับเมตาเวิร์ส"
—
การบรรยายในหัวข้อ 'เมตาเวิร์สและเกมส์' ที่ KAIST เมื่อวันที่ 9 พ.ย. อัตลักษณ์ ความสนุกสนาน และเศรษฐกิจ...
จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ รับรางวัลเกียรติยศ...ผู้ริเริ่ม-พัฒนานำเทคโนโลยีดิจิทัลการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย
—
ในงานประชุมนานาชาติเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยผ...