รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี เป็นวันโรคลมพิษโลก สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงต้องการสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคลมพิษ

รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น

คนที่เป็นลมพิษส่วนใหญ่จะมีผื่นแดง บวม เป็นจุด หรือปื้นขึ้นตามผิวหนัง บางคนก็อาจจะมีอาการบวมตามเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ เช่น เปลือกตา หรือริมฝีปาก ร่วมด้วย ผื่นลมพิษยุบเร็วครับ แต่ละจุดที่ขึ้นเป็นแค่วันเดียวก็หายแล้ว พอผื่นหายไปผิวหนังบริเวณนั้นก็จะกลับมาเรียบสนิทสีเหมือนเดิมเลยครับ รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น

บางคนที่เป็นลมพิษอาจมีอาการรุนแรง เกิดอาการทางปอด, หัวใจ หรือทางเดินอาหาร ทำให้หายใจลำบากจากภาวะหลอดลมตีบ มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด จากความดันโลหิตต่ำ หรือ ปวดท้องบิด คลื่นไส้อาเจียนได้ ซึ่งต้องรีบพบแพทย์นะครับ เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

"โรคลมพิษ มีเพื่อนที่หน้าตาคล้ายๆ กันด้วยนะครับ แต่ไม่ใช่พวกเดียวกัน โดยจะมีอาการแตกต่างจากโรคลมพิษที่เรารู้จัก เช่น ผื่นแต่ละจุดเป็นนานเกิน 1 วันกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วผิวหนังบริเวณนั้นเกิดรอยคล้ำมีสีเข้ม หรือมีไข้ ปวดข้อร่วมด้วย ซึ่งหากมีอาการต่างๆเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป"

รศ.นพ.มติ เชื้อมโนชาญ กล่าวว่า โรคลมพิษนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งแต่ละกลุ่มมีสาเหตุและการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน โดย 1. ลมพิษเฉียบพลัน เกิดขึ้นไม่เกิน 6 สัปดาห์ เกิดจาก ยา อาหาร แมลงสัตว์กัดต่อย หรือการติดเชื้อบางชนิด แต่บางครั้งก็อาจจะไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน ผู้ป่วยลมพิษชนิดเฉียบพลัน มักจะหายภายใน 1-3 สัปดาห์ 2. ลมพิษเรื้อรัง เป็นติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกายเองทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ที่เป็นสาเหตุของลมพิษได้ง่ายกว่าปกติ มีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเกิดจากกระตุ้นโดยปัจจัยทางกายภาพ เช่น การออกกำลังกาย ความร้อน ความเย็น แสงแดด การขูดถู หรือกดทับ เป็นต้น สำหรับลมพิษชนิดเรื้อรังนั้น ส่วนใหญ่เป็นกันนานหลายเดือน บางคนอาจเป็นนานหลายปี แต่ไม่ต้องเป็นกังวลมาก เพราะลมพิษถ้าไม่เกิดอาการแทรกซ้อน ก็ไม่อันตราย ไม่ได้ส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ แต่อาจรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบ้าง

สำหรับการป้องกันที่ดีที่สุดที่ไม่ให้เป็นลมพิษ คือ หลีกเลี่ยงสาเหตุ หรือปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษครับ ส่วนการรักษานั้น ในปัจจุบันมียาหลายขนานทั้งยารับประทาน และยาฉีดที่มีประสิทธิภาพดี เกิดผลข้างเคียงน้อย ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย ถือว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยในการใช้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว


ข่าวสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย+สมาคมแพทย์ผิวหนังวันนี้

สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ จัดงานประชุมกลางปี 2565 "Back to The Future In Practical Dermatology"

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ "การประชุมกลางปี 2565" ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00-17.30 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์สมาชิก ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ สาขาตจวิทยา ในด้านเวชปฏิบัติ

ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแ... 7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19 — ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จั... รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น — สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021 — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็... โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ — โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...