มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยานยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด เพื่อการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน

ตามรายงานสภาพภูมิอากาศโลกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2563 ที่ผ่านมา มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ยของระดับที่ปลอดภัยประมาณ วิทยาศาสตร์.2 องศาเซลเซียส โดยตัวเลขดังกล่าวหมายถึง 'ระดับที่ใกล้อันตราย' ที่ต้องไม่สูงเกินกว่า วิทยาศาสตร์.5 องศาเซลเซียส ตามที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาหกปีนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา เป็นช่วงเวลาที่โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษจนถึงปีนี้ยังถือเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาอีกด้วย

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยานยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด เพื่อการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน

ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้ดำเนินการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมรณรงค์ในการลดภาวะโลกร้อนและยังมุ่งมั่นส่งเสริมการขับเคลื่อนในแบบที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่ต้องการ 'สร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นด้วยสมรรถนะแห่งการขับเคลื่อน' พร้อมด้วยพันธกิจด้าน 'ความมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อตอบแทนสังคมในแบบที่ยั่งยืน' ด้วยเหตุผลดังกล่าว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น จึงได้กำหนดแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งขึ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ยังได้คำนึงถึงการประเมินวัฏจักรของยานยนต์ (Life Cycle Assessment หรือ LCA) ที่พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนของขั้นตอนการผลิตรถยนต์ โดยการพิจารณาจะเริ่มตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ หรือ รถยนต์ทั้งคัน ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบสำหรับขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วน การผลิตรถยนต์ การประกอบรถยนต์ การขับขี่ การผลิตเชื้อเพลิง และการกำจัด เพื่อทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดจากกระบวนการต่างๆ

โดยการประเมินวัฏจักรของยานยนต์ดังกล่าว ถูกนำมาใช้เพื่อการพัฒนาปรับปรุงในด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านกระบวนการผลิตชิ้นส่วน เทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งรถยนต์รุ่นใหม่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตชิ้นส่วนและรถยนต์แบบดั้งเดิม มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี คือ ตัวอย่างสำคัญของรถยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงเมื่อเทียบกับรถยนต์แบบทั่วไป และยังช่วยรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมนุษยชาติ ทั้งนี้การประเมินวัฏจักรของยานยนต์ยังได้ถูกนำไปใช้กับกระบวนการผลิตรถยนต์รุ่นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในอนาคต รวมทั้งการปรับลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

และเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้กำหนดแนวคิดในปีนี้ ได้แก่ 'การฟื้นฟูระบบนิเวศ' โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์สำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เพื่อร่วมกันลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและหยุดการทำลายสิ่งแวดล้อม มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี เป็นหนึ่งในรถยนต์ที่มีอัตราการปล่อยไอเสียที่ต่ำ และยังถูกออกแบบขึ้นบนพื้นฐานของเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพียง 52.6 กม.ต่อลิตร(3) หรือ 1.9 ลิตรต่อ 100 กม.(3) ตามมาตรฐาน NEDC(4) และยังมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำเพียง 43 กรัมต่อกม.(3)

ทั้งนี้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยังเป็นรถยนต์แบบปลั๊กอินไฮบริดที่ขายดีที่สุดในโลก ที่มีจำหน่ายแล้วกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ด้วยยอดจำหน่ายสะสมทั่วโลกมากกว่า 283,000 คัน เมื่อสิ้นสุดเดือนพฤษภาคมปี 2564 ที่ผ่านมา จึงถือเป็นยานยนต์ทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับการขับเคลื่อนที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะด้วยอุปสรรคและข้อจำกัดในด้านระยะทางการขับขี่ กอปรกับสถานีชาร์จไฟฟ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงส่งผลให้การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) ยังคงมีอุปสรรคและข้อจำกัดอยู่มากมาย แม้ว่าจะปลอดจากมลภาวะทางอากาศก็ตาม

ทั้งนี้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยังเป็นรถยนต์รุ่นแฟล็กชิพที่สำคัญและแสดงถึงความเชี่ยวชาญของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ทั้งในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า ยานยนต์อเนกประสงค์ และเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ส่งผลให้ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี มอบประสบการณ์การขับขี่ที่นุ่มนวล มีความต่อเนื่องและเงียบ พร้อมอัตราการเร่งแซงที่ยอดเยี่ยมและทรงพลัง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) และโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถขับขี่ได้ทั้งในโหมดไฟฟ้า (EV) สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสามารถเป็นรถยนต์แบบไฮบริด (HEV) สำหรับการเดินทางระยะไกล พร้อมสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ขับขี่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการหาสถานีชาร์จไฟฟ้า มั่นใจยิ่งขึ้นด้วยสมรรถนะอันยอดเยี่ยมของเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ ที่ทำงานร่วมกับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซูเปอร์-ออลวิลล์คอนโทรล (S-AWC) ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถยนต์ได้อย่างมั่นใจในทุกสภาพอากาศและทุกสภาพถนน

มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตัวรถมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีขนาดสูงสุดถึง 1,500 วัตต์ ด้วยการเสียบปลั๊กเข้ากับช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในตัวรถที่มีอยู่ 2 จุด เพื่อให้สามารถสัมผัสกับไลฟ์สไตล์กลางแจ้งรูปแบบใหม่ และยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ กรณีที่ไฟฟ้าดับ เพราะ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง และยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ที่พักอาศัยด้วยเทคโนโลยีระบบพลังงานแบบ Vehicle-to-Home (V2H) ได้นานถึง 10 วัน(5) สำหรับครัวเรือนทั่วไป โดยแบตเตอรี่ต้องถูกชาร์จไฟเต็มและมีน้ำมันเต็มถัง

ดังนั้น มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการขับเคลื่อนในแบบที่ยั่งยืน เพราะเป็นยานยนต์ที่สามารถใช้งานได้จริง มีความทนทาน มีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และเป็นรถยนต์พีเอชอีวี สัญชาติญี่ปุ่นรุ่นแรกที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าชาวไทยที่กำลังมองหารถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ข่าวองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก+ยานยนต์ไฟฟ้าวันนี้

ภาพเมืองไป่เซ่อของกว่างซี สวยสะกดใจ สหประชาชาติเลือกภาพลงปฏิทิน

สำนักประชาสัมพันธ์เมืองไป่เซ่อ เมื่อไม่นานมานี้ ในการประกวดภาพถ่ายปฏิทินประจำปี 2568 ซึ่งจัดโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แห่งสหประชาชาติ ภาพถ่ายชื่อ "Electric Roasted Sea Bass" (ปลากะพงย่างไฟฟ้า) จากเมืองไป่เซ่อ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้รับเลือกให้ลงในปฏิทินอุตุนิยมวิทยาโลกประจำปี 2568 ของ WMO ซึ่งคัดเลือกจากภาพถ่ายนับหมื่นทั่วโลก และเป็นภาพจากจีนเพียงภาพเดียวที่ได้รับเลือกในปีนี้ ภาพ Electric Roasted Sea Bass นี้เป็นผลงานของเหลียง เค่อ (Liang Ke) ผู้รักการถ่ายภาพ ในภาพอันน่าทึ่งนี้

จาก การประกาศเตือนขององค์การอุตุนิยมวิทยา... พรีเมียร์ โพรดักส์ ร่วมกับ สถานีบริการน้ำมัน PTT Station เปิดแคมเปญ รณรงค์การใช้น้ำ รับมือ เอลนีโญ — จาก การประกาศเตือนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เกี่ยวกั...

ตามรายงานสภาพภูมิอากาศโลกขององค์การอุตุนิ... มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยานยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด เพื่อการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน — ตามรายงานสภาพภูมิอากาศโลกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ร...

ภาพข่าว: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO)ร่วมกันเฉลิมฉลอง “วันอุตุนิยมวิทยาโลก”

วันที่ 21 มี.ค. 56 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการเนื่องในวันอุตุนิยมวิทยาโลก 2556 ในหัวข้อ "รู้เร็ว รู้ทัน...

รมว.ไอซีที เปิดสัมมนา “รู้เร็ว รู้ทัน รู้ป้องกัน ภัยธรรมชาติ”ฉลองวันอุตุนิยมวิทยาโลก’56

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการเนื่องในวันอุตุนิยมวิทยาโลก 2556เรื่อง “รู้เร็ว รู้ทัน รู้ป้องกัน ภัยธรรมชาติ”...

ภาพข่าว: รมว.ไอซีที เปิดงานสัมมนาวิชาการวันอุตุนิยมวิทยาโลก 2556

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)เป็นประธานเปิดงานและบรรยายพิเศษในการสัมมนาวิชาการวันอุตุนิยมวิทยาโลก 2556 เรื่อง “รู้เร็ว รู้ทัน รู้ป้องกัน ภัยธรรมชาติ” ณ ห้องประชุมบุศราคัม โรง...

ภาพข่าว: รมว.ไอซีที ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุตุนิยมวิทยา ครบรอบปีที่ 70

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มสักการะพระอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่อง...

ภาพข่าว: รมว.ไอซีที ถกผู้แทน WMO หาแนวทางการจัดการน้ำท่วมเชิงบูรณาการอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้การต้อนรับและร่วมหารือกับผู้แทนจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก นายวูล์ฟกัง อีริค แกรบส์ (Dr. Wolfgang Eric Grabs)...