สกสว. จับมือ 7 พีเอ็มยู หน่วยงาน ววน. ชูผลงานเด่น รมว.อว. ชูนโยบาย ไทยพ้นกับดักความยากจนได้ด้วยวิจัย

เมื่อวันที่ วิทยาศาสตร์คณะกรรมการ มิถุนายน วิทยาศาสตร์564 ที่ผ่านมา รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า วิทยาศาสตร์ ปี ที่ผ่านมา สกสว. สนับสนุนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยทำหน้าที่ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนจัดสรรทุนงบประมาณการวิจัยกระจายไปสู่หน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคมไทย ในวันนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงจัดงาน "แถลงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" เพื่อแถลงผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยเป็นการแถลงผลคัดเลือกโครงการที่มีผลกระทบต่อประเทศมาหน่วยงานละ วิจัยและนวัตกรรม ผลงาน รวม 7 ผลงาน ภายใต้แนวคิด "การขจัดปัญหาความยากจน บีซีจีโมเดล และโควิด-วิจัยและนวัตกรรม9" โดยในปี วิทยาศาสตร์56คณะกรรมการ - วิทยาศาสตร์564 กองทุน ววน. ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยเป็นเงินจำนวน วิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์,554 ล้านบาท และ วิจัยและนวัตกรรม9,9วิจัยและนวัตกรรม6 ล้านบาท ตามลำดับ

สกสว. จับมือ 7 พีเอ็มยู หน่วยงาน ววน. ชูผลงานเด่น รมว.อว. ชูนโยบาย ไทยพ้นกับดักความยากจนได้ด้วยวิจัย

ด้าน ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ  ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เปิดเผยข้อมูลด้าน ทิศทางการลงทุนด้าน ววน. ของประเทศ ว่า นโยบายการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  คือใช้ทิศทางที่ตกลงร่วมกัน ต้องลงทุนตามทิศทางที่จะตอบโจทย์ของประเทศ ถ้าเราเน้นด้านเศรษฐกิจ ต้องให้ภาคการผลิตหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดจนขายได้จริง   แหล่งผลิตสินค้าและบริการของประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของโลก ทั้งรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เกือบทั้งหมดต้องอาศัยเทคโนโลยีและความรู้จากต่างประเทศ เราต้องเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งผลิตที่ใช้ความรู้ของไทยมากขึ้น สร้างนวัตกรรม  สร้างการวิจัยที่ตอบโจทย์ตลอดห่วงโซ่การผลิตให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ เราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีต้นทุนที่ดีด้านวัตถุดิบ  อาจมาเชื่อมต่อกับการวิจัยที่สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์  (zero waste)  และ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (บีซีจี) ด้วยเหตุนี้ กสว.จึงตัดสินใจมุ่งเน้นเรื่องอาหาร เครื่องมืออุปกรณ์ ชีวภัณฑ์เพื่อสุขภาพและการแพทย์ เนื่องจากเล็งเห็นว่า ประชากรของเราจำนวนมหาศาลที่เป็นกลุ่มเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเพื่อเป็นฐานเป็นเรื่องสำคัญ  ต้องมีการพัฒนาทั้ง "องค์ความรู้ คน นักวิจัย สถาบันวิจัย และระบบ" ที่จะพัฒนาพวกเรากันเอง กับระบบพัฒนาสินค้าและบริการ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย ระบบการสอบเทียบ เทียบวัด ระบบรับรองมาตรฐาน ทั้งหมดนี้ต้องร้อยเรียงเข้าด้วยกัน      สกสว. จับมือ 7 พีเอ็มยู หน่วยงาน ววน. ชูผลงานเด่น รมว.อว. ชูนโยบาย ไทยพ้นกับดักความยากจนได้ด้วยวิจัย

ในขณะที่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (กระทรวง อว.)  ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า  ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มงบประมาณที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาของประเทศให้ขึ้นไปเรื่อย ๆ มุ่งมั่นว่าในปี 2030 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 2.0 ของจีดีพี เป็นหมุดหมายที่สำคัญประการหนึ่งว่าเราจะขยับตนเองขึ้นไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว  สิ่งที่สำคัญ คือเรื่องการจัดสรรงบประมาณจะต้องบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมของเรา โดยเอาเงินปริมาณหมื่นกว่าล้านบาท เป็นเงินลงทุนผลิตผลงาน เพื่อให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนที่เป้าหมายระดับแสนล้านบาท ข้อสำคัญคือเราจะต้องทำให้ภาคเอกชนเกิดความไว้วางใจ ภาควิจัยต้องมีสร้างความรู้ที่ไกลออกไปกว่างานวิจัยพื้นฐาน ต้องออกจากห้องทดลอง ห้องวิจัย ออกจากหน่วยงาน ไปรับฟัง แลกเปลี่ยนกับภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของเงินลงทุนแสนกว่าล้านบาท  เพื่อให้ทราบว่าแท้จริงแล้วภาคเอกชนต้องการอะไร  แล้วจึงปรับให้การลงทุนของภาครัฐสอดคล้องกับภาคเอกชน   

ประการสุดท้ายระบบวิจัย ต้องมีจุดเน้นที่ชัดเจน และต้องสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับบรรดานักวิทยาศาสตร์ว่า งานวิจัยควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำ ประเทศเราต้องออกจากกับดักของความยากจน ออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง หมายความว่าจะต้องทำให้วิทยาศาสตร์ของเราและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เกิดผลิตภัณฑ์ ผลิตผลและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ โดยผมมีความเชื่อมั่นว่านักวิจัยไทยมีความสามารถสูง และเป็นพลังสำคัญที่นำพาประเทศไปถึงเป้าหมายนี้ได้


ข่าวปัทมาวดี โพชนุกูล+วิจัยและนวัตกรรมวันนี้

เปิดมุมมอง "ข้าวไทย" ต้องปรับอย่างไร?...เมื่อโลกเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ใหม่ควรมุ่งสร้างคุณค่า มากกว่าเน้นแข่งขันเพื่อเป็นเบอร์หนึ่ง

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ "ข้าวไทย" ที่เคยอุ้มชูเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ต้องปรับตัวรับมืออย่างไร? งาน Thailand Rice Fest 2024 เปิดเวทีเสวนา "นโยบายข้าวไทย กับเมื่อโลกเปลี่ยนข้าวต้องปรับ" สะท้อนมุมมองการสร้างคุณค่าให้ข้าวไทย เพื่อคว้าโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน โดย รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ ดร

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (คนที่ 5 จากซ้าย) ... "อว. - เอ็นไอเอ - TED Fund" เพิ่มกลไกการเงินหนุนธุรกิจนวัตกรรม — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (คนที่ 5 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ว...

ผู้อำนวยการ สกสว. นำคณะผู้บริหาร เยี่ยมชม... สกสว. ร่วม "กลาโหม" ขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมป้องกันประเทศ — ผู้อำนวยการ สกสว. นำคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองท...

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนัก... สกสว.ติดอาวุธให้บุคลากรกรมชลประทาน สานพลังกับทุกภาคส่วน-พร้อมรับมือภัยแล้ง — รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจ...

สกสว. ลงนามความร่วมมือกับ คณะกรรมการวิทยา... สกสว. ประสานความร่วมมือ "STCSM จีน" ยกระดับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — สกสว. ลงนามความร่วมมือกับ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทศบาลนครเ...

ผอ.สกสว. เสนอแนวคิด "จัดลำดับความสำคัญงาน... ชู วิจัย ยกระดับ "ข้าวไทย" เป็นอุตสาหกรรมมูลค่าสูง ชิงตลาดโลก — ผอ.สกสว. เสนอแนวคิด "จัดลำดับความสำคัญงานวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทยสู่อุตสาหกรรมมูล...

สกสว.จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลาก... สกสว.เปิดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรระดับปฏิบัติการ ฟันเฟืองเสริมแกร่งหน่วยรับงบประมาณระบบววน. — สกสว.จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรระดับปฏิบัติการด้านการ...