- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) โลกปี 2564 เติบโต +6% จากปีก่อน (คงเดิมจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน เม.ย. 64) และ ปี 2565 เติบโต +4.9% จากปีก่อน (เพิ่มขึ้น 0.5% จากการคาดการณ์ครั้งก่อน)
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ที่ 0-0.25% ตามความคาดหมาย โดยนาย Jerome Powell ประธาน Fed แถลงว่า จะยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จำนวน 120,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนเช่นเดิม และ Fed ยังกล่าวด้วยว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในตอนนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
- Bank of America คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI เฉลี่ยปี 2564 อยู่ที่ 68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากตลาดน้ำมันจะยังคงเผชิญกับภาวะอุปทานตึงตัว แม้ OPEC+ มีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน โดยในปี 2564 Bank of America คาดว่าตลาดจะมีอุปสงค์มากกว่าอุปทาน (Deficit) อยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta โดยหลายประเทศรายงานยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและขยายมาตรการ Lockdown ที่อาจทำให้อุปสงค์น้ำมันลดลง
- Reuters รายงาน OPEC ทำสถิติผลิตน้ำมันดิบมากสุดในรอบ 15 เดือน โดยในเดือน ก.ค. 64 ผลิตเพิ่มขึ้น 0.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 26.72 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- บริษัท Royal Dutch Shell ประกาศแผนพัฒนาแหล่งผลิตน้ำมัน Whale ในอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ นับเป็นโครงการผลิตน้ำมันดิบโครงการแรกของ Shell หลังศาลของเนเธอร์แลนด์มีคำสั่งให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2573 โดยตั้งเป้าแหล่งดังกล่าวเริ่มดำเนินการผลิตในปี 2567 กำลังการผลิตอยู่ที่ 100,000 บาร์เรลต่อวัน
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์ทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้อยู่ระหว่าง 72 - 77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อเศรษฐกิจจีน หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Manager's Index - PMI) ในเดือน ก.ค. 64 ลดลง 0.5 จุด MoM มาอยู่ที่ 50.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 17 เดือน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ประกอบกับฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในหลายบริเวณทางตอนกลางของประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอน
สำหรับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ล่าสุด ดร. Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้าน COVID-19 ของสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ จะไม่กลับมา Lockdown อีกครั้ง เพราะมีสัดส่วนประชาชนสหรัฐฯได้รับวัคซีนในระดับพอสมควรแล้ว แต่ก็ยอมรับว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะทวีความรุนแรงขึ้น อนึ่ง ขณะนี้ชาวสหรัฐฯ 58% ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส