นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดบริการรักษาพยาบาลนอกโรงพยาบาล เช่น จัดตั้งโรงพยาบาลภาคสนาม ทำให้ความต้องการใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพาประกอบการดำเนินการเพิ่มมากขึ้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐานของเครื่องเอกซเรย์ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพาที่นำมาใช้วินิจฉัยผู้ป่วยนั้น ต้องคำนึงถึงลำรังสีและระยะโฟกัสถึงผิวผู้ป่วยจะมีผลกับคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสี ซึ่งเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพาอาจจะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถกำหนดขอบเขตอวัยวะที่ต้องการถ่ายภาพรังสีและขนาดลำรังสีได้ นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวจากการถ่ายภาพของเจ้าหน้าที่ อาจส่งผลให้ภาพถ่ายทางรังสีไม่ชัดเจน เกิดการถ่ายภาพซ้ำ ทำให้ส่วนอื่นของร่างกายอาจได้รับรังสี หรือปริมาณรังสี ที่ผู้ป่วยได้รับเกินความจำเป็น รวมถึงผู้ปฏิบัติงานและบุคคลอื่นที่อยู่ในระยะใกล้ ขณะที่ทำการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้เช่นกัน และไม่เป็นไปตามหลักการป้องการอันตรายจากรังสี (ALARA "As low as reasonably achievable") ที่ว่าด้วยเรื่องการได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุดอย่างสมเหตุสมผล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำและเผยแพร่มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ ปี พ.ศ.2562 เพื่อใช้เป็นแนวทางกำกับดูแลมาตรฐานเครื่องเอกซเรย์
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพา ควรดำเนินการเฉพาะสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ออกพื้นที่ภาคสนาม หรือในโรงพยาบาลสนามที่เครื่องเอกซเรย์ที่มีอยู่ในสถานพยาบาลไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ และต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างรัดกุม พิจารณาอย่างรอบคอบในเรื่องระยะจากหลอดเอกซเรย์ถึงผิว เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและบุคคลอื่นที่อยู่โดยรอบ ในการปฏิบัติการต้องมีขาตั้งตัวเครื่อง สวิตซ์ควบคุมเครื่องเอกซเรย์ระยะไกล (remote control) มีอุปกรณ์ป้องกัน การสะท้อนของรังสี ควรใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพาในห้องที่สามารถป้องกันรังสีได้ เพื่อความปลอดภัยแก่ บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉายรังส
วิธีการปฏิบัติในกรณีติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพา เพื่อใช้งานในโรงพยาบาลสนาม ดังนี้