วชิรพยาบาล เปิดตัวแอปฯ "Vajira @ Home" นวัตกรรมที่ให้ผู้ป่วยพบหมอได้จากที่บ้าน สะดวกสบาย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ผู้ติดเชื้อคณะแพทยศาสตร์แอปพลิเคชั่น9 (COVID-แอปพลิเคชั่น9) ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ป่วยยังต้องการมาพบแพทย์ปกติตามนัดหมาย และเพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทางมาโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เปิดตัวแอปพลิเคชั่น "Vajira @ Home" ไกลเหมือนใกล้ พร้อมให้บริการ จากโรงพยาบาลสู่บ้านคุณ เป็นนวัตกรรมการให้บริการที่ให้ผู้ป่วยนัดหมายพบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ง่ายด้วยปลายนิ้ว สะดวกสบาย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง

วชิรพยาบาล เปิดตัวแอปฯ "Vajira @ Home"  นวัตกรรมที่ให้ผู้ป่วยพบหมอได้จากที่บ้าน สะดวกสบาย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

ผศ.นพ.จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ประธานในพิธีกล่าวถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์การจัดทำแอปพลิเคชั่น "Vajira @ Home" ว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีความกังวล หากต้องมาพบแพทย์ ทางวชิร พยาบาล จึงมีนโยบายเพิ่มช่องทางการรักษาจากที่บ้านโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นการรักษาแบบแพทย์ทางไกล ในการรับส่งข้อมูลเชิงสุขภาพกับผู้ป่วยผ่านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเปิดตัวแอปพลิเคชั่นอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ วชิรพยาบาล เปิดตัวแอปฯ "Vajira @ Home"  นวัตกรรมที่ให้ผู้ป่วยพบหมอได้จากที่บ้าน สะดวกสบาย ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

ทั้งนี้ การออกแบบของแอปพลิเคชั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลางของแผนแบบ (Patient centric design) ที่นำบริการทางการแพทย์ถึงมือผู้ป่วย เพิ่มความสะดวกสบาย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังใช้ติดตามการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยกระดูกและข้อ (ออร์โธปิดิกส์) การติดตามผลการรักษาก่อนและหลังผ่าตัด การสอนทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยสามารถนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับคำปรึกษา วินิจฉัยโรค รักษา เสมือนกับการเดินทางมาโรงพยาบาล

รวมทั้ง ยังเปิดให้ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลการนัดหมายทั้งก่อนวันนัด คิวการรับบริการ ผู้ป่วยสามารถเปิด "ประวัติสุขภาพ" ที่มีผลการวินิจฉัย การรักษา ยาที่ได้รับ รวมทั้งผลการตรวจเลือด ในส่วน "สมุดบันทึก" ผู้ป่วยสามารถบันทึกค่าต่างๆ เช่น ข้อมูลน้ำตาล ค่าความดันโลหิต โดยสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น นาฬิกาดิจิทัล (สมาร์ทวอทช์) สามารถถาม-ตอบแบบอัตโนมัติด้วยระบบ Chat Bot นอกจากนี้สามารถแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินพร้อมระบุตำแหน่ง GPS เพื่อเรียกรถพยาบาล ให้ไปถึงตำแหน่งที่หมายอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

โดยทุกฟังก์ชั่นการทำงาน การให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน "Vajira @ Home" ไกลเหมือนใกล้ พร้อมให้บริการ จากโรงพยาบาลสู่บ้านคุณ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึงและปลอดภัย ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐานและประสิทธิภาพแบบครบวงจร พร้อมประสานเครือข่ายสาธารณสุขทั่วกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ครบประโยชน์ในแอปฯ เดียว

ผศ.นพ.จักราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้เริ่มโปรโมทแอปฯ ให้คนไข้ได้รับทราบแล้ว ในช่วงที่คนไข้นั่งรอรับยาหรือรอพบหมอจะแนะนำให้คนไข้ดาวโหลดแอปฯ ไว้บนมือถือ โดยในช่วงแรกตั้งเป้าจะมีคนไข้ดาวโหลดแอปฯ ไปใช้ประมาณ 10% ของคนไข้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาล 3,000 คน/วันในปีแรก

รศ.พญ.สว่างจิต สุรอมรกูล ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า การดาวโหลดแอปพลิเคชั่น "Vajira @ Home" ไว้บนมือถือจะเป็นประโยชน์มากทั้งคนไข้และหมอ เพียงคนไข้ลงทะเบียนสมัครใช้งาน ยืนยันตัวตน จากนั้นทางโรงพยาบาลจะทำการตรวจสอบ เมื่อคนไข้ได้รับการอนุมัติแล้วจะสามารถเข้าใช้งานในฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้ คนไข้สามารถนำข้อมูลประวัติการรักษาแชร์ให้หมอท่านอื่น ๆ ได้ กรณีคนไข้ต้องไปพบหมอหลายโรงพยาบาล

รศ.ดร.นพ.เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า นอกเหนือจากความโดดเด่นของแอปพลิเคชั่นแล้ว ทางโรงพยาบาลฯ ยังได้ร่วมกับ บริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด จัดทำโครงการบริการฉีดยาโรคกระดูกพรุนให้ผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งนับเป็นโครงการแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้คนไข้โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกมารับการฉีดยาที่โรงพยาบาล สามารถได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สามารถรับชมวีดีโอได้ที่ Link https://www.youtube.com/watch?v=qzvBH3JfJG8


ข่าวจักราวุธ มณีฤทธิ์+คณะแพทยศาสตร์วันนี้

กรมโยธาธิการและผังเมือง จับมือ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ลงนามความร่วมมือ (MOU) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการบริจาคโลหิต

วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมี นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นผู้ลงนาม นายพรรณรบ เตชะมงคลาภิวัฒน์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดีคณะ

16 ตุลาคม 2566 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มห... วชิรพยาบาล จัดกิจกรรมโครงการ Vajira Hand Washing Day "Six steps Five Moments" เนื่องในวันล้างมือโลก — 16 ตุลาคม 2566 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนว...

วชิรพยาบาล ลงนามความร่วมมือทางวิจัยวิชาการ กับมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ผศ.นพ.จักราวุธ มณีฤทธิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นประธานในพิธีลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (MOU) ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กับ มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในสหพันธ์สาธารณรัฐ...

นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล กรรมการและเหรัญญิ... มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนการปรับปรุงหอผู้ป่วย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล — นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไท...

คุณกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม (ที่ 4 จากขวา)... PROEN ร่วมใจสู้ภัยวิกฤตโควิด-19 บริจาคเงิน เพื่อซื้อเครื่องช่วยหายใจให้แก่ รพ.วชิรพยาบาล — คุณกิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม (ที่ 4 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริห...

นางสาวพรพิมล ปฐมศักดิ์ (กลาง) นายกสมาคมศิ... สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตัน บริจาคสู้โควิดให้คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล — นางสาวพรพิมล ปฐมศักดิ์ (กลาง) นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตัน ในประเทศไทย ...