เกษตรฯ ปลื้ม!! จีนชมระบบจัดการป้องกันปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ในสินค้าผักและผลไม้สดจากไทย เชื่อมั่นมีความปลอดภัยสูง ขอให้รักษามาตรฐานต่อไป
นายนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้มอบหมายนางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ร่วมหารือกับผู้แทนกรมการกักกันพืชและสัตว์ สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ในประเด็นการเปิดตลาดผลไม้จากไทยไปจีน และสร้างความมั่นใจกับภาครัฐของจีนในมาตรการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ในสินค้าผลไม้ของไทย รวมทั้งหารือเกี่ยวกับมาตรการตรวจสอบกักกันที่ด่านนำเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกผลไม้ในฤดูกาลที่จะมาถึงของปี 2564 โดยมี ดร.เสริมสุข สลักเพ็ชร์ ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและมาตรการระหว่างประเทศ และผู้แทนกรมวิชาการเกษตรเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
โดยฝ่ายจีนแจ้งว่า รัฐบาลได้ยกระดับมาตรการควบคุมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ปนเปื้อนในสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยจะมีการสุ่มตรวจสินค้าอย่างเข้มงวดและต้องดำเนินมาตรการการฆ่าเชื้อสำหรับอาหารที่ขนส่งโดยควบคุมอุณภูมิ (Cold Chain) ตั้งแต่ด่านศุลกากร การขนส่ง การกระจายสินค้า และการจำหน่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ฝ่ายจีนดำเนินการกับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ
ทั้งนี้ จีนชื่นชมระบบการจัดการส่งออกผลไม้ของไทยว่า มีประสิทธิภาพมาก และมีความปลอดภัยสูง โดยตลอดระยะเวลาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาไม่เคยตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในบรรจุภัณฑ์และสินค้าผลไม้จากไทย ฝ่ายไทยเน้นย้ำว่า ภาครัฐ และภาคเอกชนของไทยได้ร่วมผนึกกำลังที่จะดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมเพื่อให้สินค้าไทยมีความปลอดภัยควบคู่ไปกับคุณภาพที่ดี
ในโอกาสนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมกอช. และกรมวิชาการเกษตร ได้นำเสนอมาตรการการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตและคัดบรรจุผลไม้เพื่อการส่งออก ตามแนวทางในการจัดการความปลอดภัยอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ FAO และ WHO ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติให้กับหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการผลิตอาหารในการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาหารและป้องกันการปนเปื้อนอาหาร เช่น การควบคุมกระบวนการผลิต วิธีการฆ่าเชื้อ และการสร้างความตระหนักให้พนักงานเพื่อป้องกันโรค เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของจีน และจีนขอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนาในสินค้าผลไม้ต่อไป
"ไทยเป็นผู้ส่งออกผลไม้รายใหญ่ไปยังจีน และจากสถิติปี 2020 จีนนำเข้าผลไม้จากทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลไม้ไทยถึง 20 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณการนำเข้าผลไม้ทั่วโลกของจีน ซึ่งไทยส่งส่งออกผลไม้ไปจีนปริมาณกว่า 1.6 ล้านตัน มูลค่ากว่า 103,000 ล้านบาท โดยผลไม้ที่ไทยส่งออกปริมาณมากที่สุด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย มังคุด และมะพร้าว ซึ่งจีนเน้นย้ำว่าผลไม้ไทยมีคุณภาพ ประกอบกับไทยมีมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวไรโคโรนา 2019 ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลไม้ไทยเป็นที่ต้องการ และได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคชาวจีน จึงขอให้ไทยคงมาตรฐานการผลิต และการควบคุมความปลอดภัยที่ดีนี้ต่อไป"เลขาธิการ มกอช. กล่าว
อาร์ทีบีฯ จับมือ ไมโครซอฟท์ จัดทำเวิร์กชอปนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของ Microsoft Teams Rooms ผู้นำเทรนด์การทำงานแบบ Digital Workplace เพื่อช่วยให้การทำวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ระดับโปรเฟสชันแนลมีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำในการออกแบบและติดตั้งวิดีโอคอนเฟอเรนซ์โซลูชั่นสำหรับองค์กร จับมือไมโครซอฟท์ จัดทำเวิร์กชอปเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของ Microsoft Teams Rooms เพื่อช่วยให้การทำวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มีประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการประชุมอย่างทั่วถึง แม้ว่าจะไม่
"จาบร้า" นำสุดยอดโซลูชั่นวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ PanaCast 50 อวดโฉมในงาน InfoComm Southeast Asia 2022
—
"จาบร้า" นำสุดยอดโซลูชั่นวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ PanaCast ...
อาร์ทีบีฯ เขย่าตลาดวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ส่งวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์บาร์ รุ่นใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ "Jabra" "PanaCast 50" รุกตลาดเต็มสูบ
—
บริษัท อาร์ทีบี เทคโนโลย...
เกษตรฯ ปลื้ม!! จีนชมระบบจัดการป้องกันปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ในสินค้าผักและผลไม้สดจากไทย
—
เกษตรฯ ปลื้ม!! จีนชมระบบจัดการป้องกันปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโร...
"พลเอก ประวิตร" หารือคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย เตรียมท่าทีเจรจาประชุมคณะมนตรี MRC ครั้งที่ 27
—
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหล...
กอนช.ผุดแผนรับมือ ช่วงแล้งต่อฝน
—
กอนช. ถกหน่วยเกี่ยวข้องประเมินสภาพอากาศช่วงแล้งต่อฝน เร่งหนุนแหล่งน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังขาดน้ำอุปโภค- บริโภคแล้วเสร็จ พ...