นายสุธีร์ โล้วโสภณกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่ยังมิได้ตรวจสอบ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สินเชื่อซีไอเอ็มบี ธันวาคม กำไรสุทธิ56สินเชื่อ สรุปสาระสำคัญดังนี้
งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ที่นำมาเปรียบเทียบ กลุ่มธนาคารได้มีการปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังเกี่ยวกับวิธีการบัญชีของการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9
ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 14,927.1 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 167.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2562 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้อื่นร้อยละ 153.6 ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงร้อยละ 5.6 และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 39.9 กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็นจำนวน 6,027.8 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 1.1 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 5.1 อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิลดลงจำนวน 727.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 36 เป็นจำนวน 1,290.6 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีเดียวกันสาเหตุหลักเกิดจากสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ซึ่งสะท้อนถึงการตั้งสำรองที่สูงขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและโอกาสที่คุณภาพสินเชื่อของลูกค้าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในจำนวนนี้ธนาคารได้คำนึงถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าของโมเดลการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) และการตั้งสำรองเพื่อรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคที่ถดถอยผ่านกระบวนการ management overlay ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9
รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีจำนวน 14,927.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 167.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2562 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานอื่นจำนวน 1,654.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 153.6 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนจำนวน 1,117 ล้านบาท สุทธิกับการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจำนวน 834.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.9 ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมจากการชำระค่าสินค้าและบริการและรายได้จากการเป็นนายหน้าขายประกัน และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 652.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2562 ลดลงจำนวน 478.6 ล้านบาทหรือร้อยละ 5.1 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 59.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2562 อยู่ที่ ร้อยละ 63.5
อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin - NIM) สำหรับปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน
วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 227.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 251.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากสิ้นปี 2562 ซึ่งมีจำนวน 241.5 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็นร้อยละ 90.3 จากร้อยละ 100.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 10.5 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 สาเหตุหลักจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2563 ประกอบกับธนาคารมีมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลลูกหนี้และการติดตามหนี้
อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 93.3 ลดลงจากสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 99.0 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 2.1 พันล้านบาท
เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีจำนวน 54.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21.4 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.6
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งให้ นายพอล วอง ชี คิน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายพอล วอง ชี คิน จะเข้าสืบทอดตำแหน่งต่อจากนายสุธีร์ โล้วโสภณกุล ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งรักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 หลังจากที่นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยนายสุธีร์ ซึ่งครบวาระเกษียณอายุ
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ประจำปี 2563 จำนวน 1,290.6 ล้านบาท
—
รายได้จากการดำเนินงานจำนวน 14,927.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 167.6 ล้านบาท กำไรจากการด...
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย รวมพลังวิ่งภายใน ระดมทุนสมทบ Run for Blood ให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
—
สุธีร์ โล้วโสภณกุล รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้...
ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดกลยุทธ์ธุรกิจ ปักธง 4 ปีสร้างกำไรจากธุรกิจที่มีจุดแข็ง
—
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดกลยุทธ์ธุรกิจ ตั้งเป้า 4 ปี ลงแข่งในสนามที่ถนัดและมี...
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ชวนคนแบงก์สมัครวิ่ง Virtual Run ในโครงการ 'RUN FOR BLOOD 2020 วิ่งหาเลือดเพื่อผู้ป่วย’ ระดมทุนช่วยสภากาชาดไทย
—
สุธีร์ โล้วโสภณกุล ร...
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ชวนมาสัมผัสความสุขจากธรรมชาติแบบเรียบง่าย ด้วยแนวคิด 'เรือนเพาะชำความสุข’ ในมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 20 กรุงเทพฯ
—
สุธีร์ โล้วโสภณกุล...
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดบูธในมหกรรมการเงินอุดรธานี ครั้งที่ 8 อย่างเป็นทางการ
—
คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดห...