วิกฤติ COVID-19 ได้ให้บทเรียนไว้คอยกระตุ้นเตือนให้ทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างมีสติ โดย COVID-19 ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนบนโลกใบนี้
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา กล่าวว่า โรคระบาดไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ในอดีตก็มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ดีไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับโรคใดโรคหนึ่ง เนื่องจากแต่ละโรคมีการแพร่กระจายไม่เหมือนกัน วิกฤติจะเป็นแรงผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ไว้ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดร่วมกัน
เมื่อกล่าวถึงงานวิจัย หรือนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน ต้องประกอบด้วยความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เงินทุนวิจัย เครื่องมือวิจัย และการสร้างเครือข่ายวิจัย จากการทุ่มเททำงานด้านการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลตลอดเวลาที่ผ่านมาจนได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชนชาวไทย และอยู่ในอันดับโลก ทำให้ภารกิจและบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ได้ทำเพียงเพื่อคนไทย แต่เพื่อมวลมนุษยชาติ ตามพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าวต่อไปว่า สถาบันiNT เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีภารกิจในระดับประเทศโดยทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือวิจัย และสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันการดำเนินงานวิจัยให้ตอบสนองต่อภาวะ COVID-19 ได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที
ซึ่งงานวิจัยที่ตอบสนองต่อภาวะ COVID-19 ตามความคาดหวังของสังคมที่ดำเนินการโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรค อาทิ งานวิจัยเกี่ยวกับวัคซีน งานวิจัยเพื่อการพัฒนาหน้ากากที่มีคุณภาพสูง ชุดตรวจหาเชื้อ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทางการแพทย์ และสำหรับประชาชนทั่วไปตลอดจนการวิจัยเชิงสังคมที่ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ
"ในฐานะมหาวิทยาลัยมหิดล บทบาทใหญ่ของเราก็คือเรื่องของการวิจัย การศึกษา และการสร้างนวัตกรรม โดยเราจะทำหน้าที่ของเราตรงนี้ให้ดีที่สุด และพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่าย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องจับมือกันเชื่อว่ามหาวิทยาลัยมหิดลและประเทศไทยจะช่วยกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ดีที่สุด" ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าวให้ความเชื่อมั่นทิ้งท้าย
บทบาทของนักวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยท่ามกลางสังคมและเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง การทำงานวิจัยต้องตอบโจทย์และแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงรวมถึงสามารถต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงบทเรียนที่ผ่านมาซึ่งพบว่าการเตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ด้วยการทำวิจัยที่เป็น "พื้นฐาน" แม้จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริง อย่างเช่นในวิกฤติที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาด
เคพีไอ คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2025 ด้านนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์
—
เคพีไอ คว้ารางวัล BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION ...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
ม.มหิดลชี้วิจัยเชื้อดื้อยาแบบสหสาขาวิชา เสริมความมั่นคงสาธารณสุขโลก
—
"เชื้อแบคทีเรียดื้อยา" ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่คอยคุกคามความมั่นคงของโลกอย่างต่...
ม.มหิดลไม่ทอดทิ้งคนไทย พัฒนาชุดตรวจ COVID-19 แบบรู้ผลเร็วมาตรฐานสากลเพื่อคนไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมเตรียมขยายผลสู่ระดับภูมิภาค
—
ด้วยบทพิสูจน...
ม.มหิดล ถอดบทเรียนนวัตกรสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์จากข้าวไทย ผ่านระบบออนไลน์ 23 มี.ค.นี้
—
จากความสำเร็จในการวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์จากข้า...
ม.มหิดล พร้อมร่วมวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมสู้วิกฤติ COVID-19
—
วิกฤติ COVID-19 ได้ให้บทเรียนไว้คอยกระตุ้นเตือนให้ทุกคนใช้ชีวิตกันอย่างมีสติ โดย COVID-19 ไม่...
ม.มหิดล สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต
—
นักวิจัยในโลกยุคดิสรัปชันเช่นปัจจุบัน สร้างสรรค์นวัตกรรมโดยมองถึงผลกระทบ (impact) ที่จะเกิดขึ้นในอน...
ม.มหิดล เปิด “ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม" (MICC) เชื่อมต่อนักวิจัยสู่โลกธุรกิจ
—
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) กำหนดเ...