สยามคูโบต้าสานต่อโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ชูกิจกรรมวิ่งในรูปแบบ Virtual Run จับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 2สถาบันโรคทรวงอก องค์กร เชิญชวนนักวิ่งร่วมรณรงค์ให้ตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ เป็นจำนวนเท่ากับระยะวิ่งสะสมของผู้สมัคร รายได้ส่วนหนึ่งจากกิจกรรมสมทบทุนให้แก่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสถาบันโรคทรวงอก พร้อมร่วมกิจกรรมประกวดถ่ายภาพ ลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษ เริ่มสมัครตั้งแต่วันที่ สถาบันโรคทรวงอก5 กุมภาพันธ์ 2564
ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยกว่า 50% เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน สยามคูโบต้าดำเนินธุรกิจในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จึงริเริ่มโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการจัดการและสามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อทำการเกษตรในรูปแบบปลอดการเผา สอดคล้องกับเป้าหมายภาครัฐในการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้เป็นศูนย์ ภายในปีพ.ศ. 2565
ในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ส่งเสริมการสร้างเมืองต้นแบบปลอดการเผาใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ มหาสารคาม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฯ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในจังหวัดดังกล่าว รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์และส่งเสริมเกษตรปลอดการเผา เพื่อผลักดันโครงการให้ประสบความสำเร็จและเป็นรูปธรรม
สยามคูโบต้าจึงได้สานต่อโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและมุ่งสร้างความตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมรณรงค์ในการลดปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดกิจกรรมวิ่งในรูปแบบ Virtual Run ภายใต้ชื่องาน "KUBOTA RUN เกษตรปลอดเผา เราปลอดฝุ่น" ผนึกความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย 21 องค์กร โดยแบ่งออกเป็นหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัดนำร่องทั้ง 4 จังหวัด รวมไปถึงภาคีเครือข่าย ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (ซีแพค) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากกิจกรรมวิ่งเพื่อรณรงค์ลดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วนั้น ภายใต้กิจกรรม "KUBOTA RUN เกษตรปลอดเผา เราปลอดฝุ่น" สยามคูโบต้ายังตั้งเป้าปลูกต้นกล้าไม้ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ทั่วประเทศ รวมถึงบริจาคต้นกล้าผัก หรือเมล็ดพันธุ์ ให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ เป็นจำนวนเท่ากับระยะวิ่งสะสมของผู้สมัคร โดยทุก 1 กิโลเมตร บริษัทฯ ร่วมปลูกต้นกล้าไม้ หรือ ต้นกล้าผัก 1 ต้น หรือมอบเมล็ดพันธุ์ 1 ถุง ให้แก่เกษตรกร (สูงสุดจำนวน 5,000 ต้น) ในระหว่างการวิ่งเก็บระยะสะสม ผู้สมัครยังสามารถร่วมสนุกกับกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ "วิ่งปลอดเผา สูดอากาศบริสุทธิ์" โดยถ่ายภาพก่อน หลัง หรือขณะวิ่ง ในพื้นที่ธรรมชาติ หรือพื้นที่การเกษตร เพื่อรับของที่ระลึกสุดพิเศษจากสยามคูโบต้าทุกสัปดาห์
สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรม "KUBOTA RUN เกษตรปลอดเผา เราปลอดฝุ่น" สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 18 เมษายน 2564 ในรูปแบบเก็บสะสมระยะ (Virtual Run) 3 ระยะวิ่ง ได้แก่ มินิมาราธอน (10.5 กิโลเมตร) ฮาล์ฟมาราธอน (21 กิโลเมตร) และ มาราธอน (42 กิโลเมตร) ทั้งนี้ บริษัทฯ จะมอบรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมให้แก่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสถาบันโรคทรวงอก โดยสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ https://race.thai.run/kubotarun เฟซบุ๊ค กรุ๊ป www.facebook.com/groups/kubotarun หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 09-2599-5632 และ 08-4644-5711
สยามคูโบต้ามุ่งมั่นที่จะผลักดันให้แนวคิดการทำเกษตรปลอดการเผาเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร พร้อมขยายองค์ความรู้ "เกษตรปลอดการเผา" ไปยังทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการตรวจสอบวิเคราะห์และรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี โอกาสนี้ ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. นางสาวฉัตรตรี ภูรัต ผอ.ฝ่ายฉลากเขียวและฉลากสิ่ง
วว. ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์มาตรฐาน ISO/IEC 17065 ภายใต้โครงการ SCP Outreach
—
ดร.จิตตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ...
เชลล์ฮัทฯ ร่วมมือ ม.เกษตรฯ และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดพิธีลงนาม MOU โครงการ Shelldon Circularity
—
บริษัท เชลล์ฮัท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด มหาวิท...
สยามคูโบต้าชวนวิ่ง-ลด-ฝุ่น ในรูปแบบ Virtual Run กับกิจกรรม "KUBOTA RUN เกษตรปลอดเผา เราปลอดฝุ่น"
—
สยามคูโบต้าสานต่อโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ช...
PPS คว้า 8 รางวัล Sustainable Business Award (SBA) 2019 Thailand
—
ดร.พงศ์ธร ธาราไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)...
วว. เปิดตัวเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ สร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการไทย
—
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวง...
ภาพข่าว: ดาวจับมือภาครัฐ เปิดตัวโครงการ ดาว เคมิคอล เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ระยะที่ 4 ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน ในยุคอุตสาหกรรม 4.0
—
นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจร...
ภาพข่าว: เบเยอร์รับรางวัลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
—
สรินทร์ทิพย์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานสนับสนุน กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนรับมอบใบรับร...
ภาพข่าว: กลุ่มบริษัทแคนนอน ประเทศไทย รับใบรับรอง Green Meetings และ Green Meetings Plus ประจำปี 2561
—
กลุ่มบริษัทแคนนอน ประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ...
ภาพข่าว: “QTC” รับเกียรติบัตรการใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียว
—
นายเรืองชัย กฤษณเกรียงไกร(ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ห...