สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะยืนยันการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ของกระทรวงการคลังเป็นไปตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ

ตามที่เพจ "ไทยพับลิก้า" ได้มีการเผยแพร่ข่าวว่า "ปิดงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังกู้ 784,115 ล้านบาท เกินพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะหรือไม่" นั้น

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะยืนยันการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ของกระทรวงการคลังเป็นไปตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ยืนยันว่าในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไปจำนวน 784,115 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย

(1) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณภายใต้กรอบวงเงินของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการขยายเวลาในการกู้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี (Carry Over) จำนวน 101,022 ล้านบาท โดยเป็นดำเนินการตามมาตรา 21 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(2) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและกู้เงินเพื่อรองรับกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ รวมทั้งสิ้น 683,093 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามกรอบเพดานของกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยแบ่งเป็น การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 469,000 ล้านบาท และการกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน 214,093 ล้านบาท โดยเป็นดำเนินการตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีวงเงินทั้งสิ้น 3,200,000 ล้านบาท โดยรวมวงเงินชำระคืนเงินต้นจำนวน 89,170.40 ล้านบาท ดังนั้น กรอบวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2563 ตามกฎหมายมีจำนวน 711,336 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ได้มีการตรา พระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 โดยให้กระทรวงการคลังโอนงบชำระคืนเงินต้นจำนวน 35,303 ล้านบาท เพื่อนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลให้งบชำระคืนเงินต้นคงเหลือ จำนวน 53,867.40 ล้านบาท ดังนั้น กรอบวงเงินกู้ เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2563 จึงคงเหลือจำนวน 683,093.92 ล้านบาท

ดังนั้น การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 784,115 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินภายใต้กรอบวงเงินปีงบประมาณ 2562 (เหลื่อมปี) จำนวน 101,022 ล้านบาท และการกู้เงินภายใต้กรอบวงเงินปีงบประมาณ 2563 จำนวน 683,093 ล้านบาท และกระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐทุกประการ


ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+แพตริเซีย มงคลวนิชวันนี้

SME D Bank เข้าพบผู้บริหารกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 66

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารธนาคาร เข้าพบผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2566 โดยมี นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ให้การต้อนรับ พร้อมมอบคำอวยพร เพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำงานของ SME D Bank

"ออมเพิ่มสุข" บนวอลเล็ต สบม. เต็มวงเงิน 10,000 ล้านบาทแล้ว พบกันอีกครั้ง 15 มิถุนายน 2565 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมเพิ่มสุขบนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท จำหน่ายได้ครบวงเงินเรียบร้อยแล้ว...

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงาน... พร้อมออมกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "ยิ่งออมยิ่งได้" — นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจะเริ่...

Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ ...

8,000 ล้านบาทสุดท้ายกับพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ "เราชนะ"

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ขณะนี้วงเงินจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น "เราชนะ" คงเหลือเพียง 8,000 ล้านบาทสุดท้าย จากวงเงินรวม 55,000 ล้านบาท จึงขอให้ผู้สนใจรีบติดต่อสอบถามไปยังธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง...

หมดแล้ว !!!! "เราชนะบนวอลเล็ต สบม." รอพบ "เราชนะ" ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นี้

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การจำหน่ายในรอบนี้ได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจากผลตอบแทนน่าสนใจ ประชาชนคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันเป๋าตังมากขึ้น ...

พันธบัตรออมทรัพย์วอลเล็ต สบม. เปิดตัวแรง สามารถจำหน่ายได้สูงถึง 3,500 ล้านบาท ในครึ่งวันแรก

พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น "เราชนะบนวอลเล็ต สบม." จำหน่ายแล้ว 3,500 ล้านบาท จากวงเงิน 5,000 ล้านบาท ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าตัง เปิดใช้งานและโอนเงินเข้าวอลเล็ต สบม. ได้ตั้งแต่บัดนี้ นางแพตริเซีย...

พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นวอลเล็ต สบม. พร้อมแล้ว!! กับการโอนดอกเบี้ยงวดแรกและการซื้อขายในตลาดรองบนแอปเป๋าตัง

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่าผู้ลงทุนวอลเล็ต สบม. จะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) ดอกเบี้ยจ่ายงวดแรกของวอลเล็ต สบม. โอนเข้าวอล...

สบน. เดินหน้าออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ครั้งที่ 2 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การสำรวจความต้องการลงทุน (Bookbuild) ในพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) รุ่นอายุ...