อพท. เตรียมศึกษาเพื่อผลักดันช่องทาง อี-คอมเมิร์ชระบายสินค้าชุมชน

ผู้อำนวยการ อพท. มอบทุกสำนัก ปรับแผนเน้นสร้างโครงการที่ช่วยเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โควิด-19 รอบที่ 2 ล่าสุดเตรียมศึกษาโครงการพัฒนาช่องทางส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในพื้นที่พิเศษในรูปแบบของ อี-คอมเมิร์ช นำเสนอสินค้าและเรื่องราวของชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ พร้อมวางแผนหลังจบโควิดผลักดันชุมชนผนึกผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ นำเสนอขายแพคเกจที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

อพท. เตรียมศึกษาเพื่อผลักดันช่องทาง อี-คอมเมิร์ชระบายสินค้าชุมชน

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้มอบให้ทุกสำนักของ อพท. ทั้งส่วนกลาง และพื้นที่พิเศษในต่างจังหวัด ให้หาวิธีเยียวยาให้แก่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น กรณีไม่สามารถเปิดพื้นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ในช่วงเวลานี้ เบื้องต้นให้ศึกษาความเป็นไปได้ของการปรับแผนดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานยังคงต้องตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและยุทธศาสตร์ชาติเช่นเดิม อพท. เตรียมศึกษาเพื่อผลักดันช่องทาง อี-คอมเมิร์ชระบายสินค้าชุมชน

"การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่ 2 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางท่องเที่ยว หลายพื้นที่ท่องเที่ยวประกาศปิดให้บริการเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในพื้นที่พิเศษและในชุมชนที่ อพท. เข้าไปพัฒนาให้เป็แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก็จำเป็นต้องงดให้บริการนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในชุมชน"

ผุดโครงการอีคอมเมิร์ชขายสินค้าและเรื่องราวชุมชน

เบื้องต้นได้รับรายงานว่า สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.) ได้ร่วมกับพื้นที่พิเศษ เตรียมพัฒนาช่องทางส่งเสริมการขยายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในพื้นที่พิเศษในรูปแบบของ อี-คอมเมิร์ช ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ให้บริการชอปปิ้งออนไลน์ โดยมีความพิเศษที่ว่า นอกจากนำเสนอขายสินค้าของชุมชนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อฝากเป็นของที่ระลึก จะมีข้อความเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชน และที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ (Storytelling) เพื่อให้กลุ่มลูกค้าได้อ่านและตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวยังชุมชนเหล่านั้นเมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายเข้าสู่ปกติ นอกจากนั้นยังได้เตรียมร่วมมือกับโรงแรมในพื้นที่ จัดทำแพคเกจห้องพักพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง นำเสนอขายต่อนักท่องเที่ยวที่สนใจ

"ยกตัวอย่างพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ชุมชนงดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรก ชุมชนนำเสนอขายสินค้าออนไลน์ผ่านเพจของชุมชน เป็นสินค้าประเภทผลไม้แปรรูป ในครั้งนี้มีเพิ่มสินค้าใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น บ้านตะเคียนเตี้ย กะปิ และอาหารทะเลแปรรูป จากชุมชนอื่นๆ เป็นต้น "

ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาได้พัฒนาทักษะความรู้เรื่องการทำการตลาดออนไลน์ให้แก่ชุมชนในพื้นที่พิเศษของ อพท. ไประดับหนึ่งแล้วทำให้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในครั้งแรก ชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับใช้ด้วยการนำเสนอขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพจ หรือเฟสบุ๊ค ของชมรม/วิสาหกิจชุมชน ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในช่วงที่หยุดรับนักท่องเที่ยวได้ และในการระบาดรอบที่ 2 ครั้งนี้ ชุมชนเหล่านั้นซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว จึงสามารถสร้างรายได้จากการขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นเดิม พร้อมกับเพิ่มสินค้าที่นำมาจัดจำหน่าย ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ

ความรู้ออนไลน์สร้างรายได้เดือนละ 5 หมื่นบาท

นางวัลลภา อินผ่อง รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านซาวหลวง ตำบลบ่อสวก จังหวัดน่าน กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับการอบรมเรื่องการทำการตลาดออนไลน์จาก อพท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการนำเสนอขายผ้าทอในเพจ "กลุ่มวิสาหกิจทอผ้าบ้านซาวหลวง" ได้ผลตอบรับดี มีลูกค้าที่เคยเดินทางมาเที่ยวยังวิสาหกิจชุมชนของเราสั่งซื้อสินค้าจำนวนมาก และจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบที่ 2 นี้ก็เช่นกัน ทางวิสาหกิจชุมชนฯ งดรับนักท่องเที่ยวเพราะในชุมชนเรามีแต่แม่บ้านและผู้สูงวัยซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง แต่ทุกคนก็ยังมีรายได้จากการขายผ้าทอผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มวิสาหกิจเรา ทำให้กลุ่มเรามีรายได้รวมต่อเดือนเฉลี่ย 4-5 หมื่นบาท และยังสามารถช่วยนำสินค้าจากชุมชนใกล้เคียงมาเสนอขายให้กับผู้ติดตามเพจได้อีกด้วย ได้แก่เครื่องจักรสาน และผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ ทำให้ชุมชนใกล้เคียงได้มีรายได้เพิ่มไปด้วยกัน ซึ่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามรูปแบบของ อพท. คือทำท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมนั้น เมื่อเกิดวิกฤตเช่นนี้ชาวบ้านก็ยังคงมีอาชีพหลักคือเกษตรกร จึงทำให้สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข


ข่าวองค์การบริหารการพัฒนาพื้น+องค์การบริหารการพัฒนาวันนี้

บางจากฯ ร่วมยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ปรับปรุงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ส่งเสริมปฏิบัติการด้านความปลอดภัย

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นาวาเอก (พิเศษ) นพ.พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมพิธีเปิดการซ้อมแผนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุก

อพท. เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่... อพท. เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากท้องถิ่นสู่สากล — อพท. เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากท้องถิ่นสู่สากล จัดกิจกรรมมอบประกาศนียบั...

อพท. คว้า 2 รางวัล "ดีเด่น และ ดี" ในฐานะ... "อพท. สร้างต้นแบบการพัฒนาพื้นที่พิเศษอย่างยั่งยืน เข้าตา ก.พ.ร. คว้า 2 รางวัลเลิศรัฐ 2567" — อพท. คว้า 2 รางวัล "ดีเด่น และ ดี" ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มุ่...

อพท.มอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการจัดกา... อพท. ยกระดับท่องเที่ยวยั่งยืนของท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล — อพท.มอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ อปท.ที่ผ่านการปฏิบัติและขั...