สภานโยบาย เดินหน้าส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม ดันการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชนโดยกลไก Holding Company ปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะเลขานุการและดูแลงานวิชาการสภานโยบาย จัดการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ดอน ปรมัตถ์วินัย/ดอน ปรมัตถ์วินัย56วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องประชุม วิจัยและนวัตกรรมเอนก เหล่าธรรมทัศน์กระทรวงการอุดมศึกษา ตึกบัญชาการ กระทรวงการอุดมศึกษา ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม พร้อมด้วย ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำหน้าที่รองประธานที่ประชุม

สภานโยบาย เดินหน้าส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม ดันการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชนโดยกลไก Holding Company ปลดล็อกการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกของตนที่มาทำหน้าที่ประธานสภานโยบาย ซึ่งถือเป็นเวทีสำคัญในการนำการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศ หลากหลายประเด็นที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาในครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปลดล็อกอุปสรรคด้านการสร้างนวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งจะมีการเร่งขับเคลื่อนต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการฝากให้ที่ประชุมร่วมกันค้นหาโอกาสทองของประเทศในวิกฤติโควิด-19 ที่อยากได้ไอเดียของทุกฝ่ายมาช่วยเป็นสปริงบอร์ดให้กับประเทศ โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยรวบรวมมาเสนอสภานโยบาย และอีกหนึ่งประเด็นที่อยากให้ช่วยกันคิดคือ การวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน ทำอย่างไรที่จะฟูมฟักให้เด็กไทยมีทั้งความรู้ควบคู่ไปกับการปลูกฝังจิตสำนึก ให้เขามีภูมิคุ้มกันทางสังคม มีความฉลาดทางอารมณ์ ไม่ใช่แค่เก่งความรู้ แต่ต้องเก่งรอบ 360 องศา

ด้าน ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยในฐานะผู้ช่วยเลขานุการสภานโยบายว่า ที่ประชุมได้มีการหารือและมีมติเห็นชอบในหลักการของหลายประเด็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ การส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนในธุรกิจนวัตกรรม โดยกลไก Holding Company เพื่อต่อยอดงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างรายได้และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในระบบวิจัยและนวัตกรรม ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม อีกทั้งมหาวิทยาลัยผู้สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมจะได้รับรายได้กลับคืนมาเข้าสู่หน่วยงานสำหรับสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมได้ต่อไป รวมถึงนักวิจัยจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้น โดยการร่วมลงทุนระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยและภาคเอกชนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก Holding Company เป็นรูปแบบที่หน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศนำมาใช้เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง โดยการจัดตั้งและการดำเนินงานของ Holding Company มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกมาจากหน่วยงานวิจัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยโดยมีการบริหารงานแบบมืออาชีพ เป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของหน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัย และมีความคล่องตัวสูงเหมาะกับการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างให้เกิดแรงจูงใจแก่นักวิจัยให้เห็นถึงช่องทางในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมจากผลงานวิจัยที่คิดค้นทำให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับประเทศได้

“ข้อจำกัดของการร่วมลงทุนของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยกับภาคเอกชน ผ่านกลไก Holding Company ของไทยคือ ยังขาดความเข้าใจเรื่องการจัดตั้งและสถานภาพของ Holding Company ขาดความชำนาญและความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของบุคลากรมืออาชีพ ขาดแรงจูงใจของนักวิจัยในการ Spin-off รวมถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มีจำกัดในการลงทุน หรือมีงบประมาณแต่ยังขาดกลไกหรือมีข้อจำกัดทางกฎระเบียบภายในในการร่วมลงทุน สอวช. จึงได้มีการหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งและได้จัดทำหลักการของชุดมาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนโดยกลไก Holding Company ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงอำนาจหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการร่วมลงทุน การส่งเสริมการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจนวัตกรรมมืออาชีพ ตลอดจนมาตรการสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยออกไปดำเนินธุรกิจนวัตกรรม เช่น ให้สิทธิกลับมาดำรงตำแหน่งในหน่วยงานเดิมได้หากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ และการส่งเสริมด้านเงินทุนเพื่อไปร่วมลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอมาตรการข้างต้นนี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างคล่องตัว ผู้บริหารหน่วยงานสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ซึ่งจะส่งผลให้การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเกิดประสิทธิผล และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่มหาวิทยาลัย บริษัทเอกชนที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่า และเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้” ดร. กิติพงค์ กล่าว

ดร. กิติพงค์ ยังกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งทางคณะกรรมการพัฒนาและออกแบบระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งมีศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธาน จัดทำขึ้น เพื่อปลดล็อกกระบวนการจัดหาพัสดุเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการ และการสร้างนวัตกรรมที่มีความซับซ้อนในการจัดหามากกว่าการจัดหาพัสดุปกติ ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับกับทุกหน่วยงานของรัฐ รวมถึงหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม มีหลักการและกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่บางประเด็นไม่สอดคล้องกับการจัดหาพัสดุเพื่อการวิจัยพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุชีวภาพ หรือพัสดุท้องถิ่นที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อกำหนดของงานวิจัย ข้อกำหนดให้จ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับการซื้อการจ้าง การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุต่างประเทศ การโอนพัสดุ และการแปรสภาพพัสดุ เป็นต้น

การเสนอหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาครั้งนี้ จะเป็นการปลดล็อกอุปสรรคและส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมให้เกิดความคล่องตัวและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม โดยมีประเด็นปลดล็อกและสาระสำคัญของหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนาและเพื่อการให้บริการทางวิชาการของสถาบัน คือ 1. ให้สภานโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย พิจารณาวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง 2. เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างสามารถทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอำนาจการสั่งซื้อสั่งจ้าง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100 ล้านบาท หากเกินวงเงินให้ถือเป็นอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารหน่วยงาน 4. ลดขั้นตอนการซื้อหรือจ้างเหลือ 2 วิธี ได้แก่ วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง และกำหนดวิธีการให้ง่ายขึ้น 5. โอนหรือบริจาคพัสดุให้หน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมดำเนินโครงการหรือองค์กรสาธารณะได้ 6. สามารถเลือกใช้แบบสัญญาของหน่วยงานของรัฐแบบสัญญามาตรฐานที่ผ่านอัยการสูงสุด 7. การจัดซื้อพัสดุต่างประเทศไม่จำกัดวงเงินจ่ายล่วงหน้าและหลักประกันสัญญา ยืดหยุ่นได้ตามข้อตกลงประเพณีปฏิบัติทางการค้า และ 8. เพิ่มวงเงินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงเป็น 1 ล้านบาท โดยให้หัวหน้าโครงการเป็นผู้เจรจาต่อรองและไม่ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือได้ ทั้งนี้ หลังจากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม สอวช. จะดำเนินการส่งร่างประกาศดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่จะช่วยกำกับการทำงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของหน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้เป็นไปตามโจทย์ความต้องการของประเทศ ผ่านระบบการจัดสรรทุน ซึ่งปัจจุบันการจัดสรรทุนของหน่วยงานของรัฐมีความหลากหลาย และมีรูปแบบขั้นตอนที่ต่างกัน การกำหนดระเบียบนี้จะเป็นหลักเกณฑ์กลางสำหรับหน่วยงานใช้อ้างอิงในการจัดสรรทุนได้อย่างมีมาตรฐานเดียวกัน และช่วยให้หน่วยงานของรัฐกล้าตัดสินใจลงทุนวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

“หลักการสำคัญของการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม คือ ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน เช่น เอสเอ็มอี, สตาร์ทอัพ ได้ เปลี่ยนการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนและประชาสัมคมจาก Supply Side เป็น Demand Side ภาครัฐสามารถให้ทุนแก่ภาคเอกชนและประชาสังคมได้โดยตรงซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมในภาคเอกชนและประชาสังคมรวมทั้งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม แก้ปัญหาความหลากหลายของการให้ทุนที่มีรูปแบบขั้นตอนที่ต่างกัน และเป็นหลักเกณฑ์กลางใช้อ้างอิงการให้ทุนให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐลงทุนวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมภาคเอกชนและภาคประชาสังคมให้เป็นไปตามโจทย์ความต้องการของประเทศผ่านระบบการจัดสรรทุน” ดร. กิติพงค์ กล่าว

และเพื่อเป็นการเน้นย้ำการให้ความสำคัญกับการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ที่ประชุมยังมีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรจุประเด็นวิจัยเรื่อง “สุวรรณภูมิ-ทวารวดี- ศรีวิชัย” เพิ่มเติมในแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2564 และจัดงบประมาณสนับสนุนที่เหมาะสม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เสนอ โดยเน้นประเด็นวิจัยประวัติศาสตร์ "สุวรรณภูมิ-ทวารวดี- ศรีวิชัย" เพื่อสร้างคุณค่าทาง ศิลปวัฒนธรรม และประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป


ข่าวเอนก เหล่าธรรมทัศน์+กระทรวงการอุดมศึกษาวันนี้

บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) รับรางวัล "นวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2566"

กำพล ปุญโสณี (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วย วุฒิชัย เจริญพงษ์สุข (ขวา)ผู้อำนวยการสายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) รับรางวัล "นวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2566" (Thailand HR Innovation Award 2023) ระดับ Silver Award โดยเป็นความสำเร็จของโครงการ "Beyond Your Limit Showcase" จาก ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (ซ้าย) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงาน Thailand HR Day 2023 ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบั... วว. ร่วมพิธีอำลาตำแหน่ง "ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. — ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ...

นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์... วว. ร่วมวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" — นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีวา...

งานสัมมนาพหุภาคี "สู้ชนะความจน บนฐานพลังค... บพท. จัดสัมมนาพหุภาคี "สู้ชนะความจนบนฐานพลังความรู้" ณ เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว — งานสัมมนาพหุภาคี "สู้ชนะความจน บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี" จัดโดยหน่วยบริห...

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมพรมหาเถร) สมเด็... วว. ร่วมเฝ้าถวายสักการะและรับประทานพระดำริเกี่ยวกับทุนการศึกษาจากสมเด็จพระสังฆราช — สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก...