“อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมเสวนาการดำเนินงานโครงการชีววิถี
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สอศ. กับ กฟผ.ในวันที่ 17 กันยายน 2563 ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี

“อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการดำเนินโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ การทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานโดยรอบสถานศึกษา และตามแนวสายส่งของ กฟผ. มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง โดยได้มอบนโยบายให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีและวิทยาลัยประมง ทั่วประเทศดำเนินการ ต่อมาได้ขยายผลไปยังวิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ ปัจจุบันมีวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวน 92 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง 4 เรื่อง ได้แก่ การเพาะปลูก การปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแทนการใช้สารเคมี ทำให้สามารถลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี สามารถดำรงชีวิตร่วมกับธรรมชาติ เพื่อที่จะได้รับผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนกับสังคม โดยมีศูนย์ประสานงานภาค 4 แห่ง สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค คือ “อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  1. ศูนย์ภาคเหนือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา
  2. ศูนย์ภาคกลาง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี
  3. ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม และ
  4. ศูนย์ภาคใต้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา รวมทั้งจัดให้มีประเมินผลการดำเนินงานดีเด่น ทั้งในระดับภาค และระดับชาติ เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดกิจกรรมที่ใช้ในการประเมิน 8 ประเภทได้แก่ ประเภทที่ 1 การดำเนินงานภายในวิทยาลัยดีเด่น ประเภทที่ 2 ครู บุคลากรทางการศึกษา นำไปใช้และขยายผลดีเด่น ประเภทที่ 3 นักเรียน นักศึกษาปัจจุบันนำไปใช้และขยายผลดีเด่น ประเภทที่ 4 ราษฎรที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัย และใช้ได้ผลดีเด่น ประเภทที่ 5 ชุมชนที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัย และใช้ได้ผลดีเด่น ประเภทที่ 6 โรงเรียนที่ได้รับความรู้จากวิทยาลัย และใช้ได้ผลดีเด่น ประเภทที่ 7 การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ในโครงการชีววิถีฯ ดีเด่น และประเภทที่ 8 งานวิจัยและนวัตกรรมในโครงการชีววิถีฯ ดีเด่น ซึ่งมีผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบโครงการ ของสถานศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุมและรับมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงาน

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่าต่อไป ในการดำเนินโครงการในปี 2564 ซึ่งนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาในวิทยาลัยเกษตรและวิทยาลัยประมง สังกัด สอศ. เพื่อการมีงานทำ พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นผู้นำด้านการเกษตรและประมง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรให้กับเยาวชน เกษตรกรและชุมชน ยกระดับและพัฒนาการเรียนการสอนไปสู่ Digital Farming โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเกษตรให้มากขึ้น การบริหารจัดการน้ำ ดิน ปุ๋ยและป่าไม้ การใช้เทคโนโลยี เพื่อศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ การสร้างการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผน ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรและประมง สร้างนวัตกรรมตามความต้องการของพื้นที่ชุมชน ภูมิภาคหรือประเทศ รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สถานประกอบการและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ดังนั้น การทำงานในทุกมิติก็สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกันได้โดยมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน “อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวปิดท้ายว่า โครงการชีววิถีฯ ที่ กฟผ. ร่วมมือกับ สอศ. มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 17 ปี จึงไม่ใช่เป็นเพียงโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เท่านั้น แต่เป็นความร่วมมือร่วมใจที่ลงลึกถึง ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา กับ ผู้ประสานงานโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ของ กฟผ. ระยะเวลาที่ผ่านมาถือได้ว่า ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันในการจัดการอาชีวศึกษา ที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจะร่วมมือกันดำเนินโครงการชีววิถีฯให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อประโยชน์สูงสุด ของทั้ง 2 หน่วยงาน ต่อไป “อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


ข่าวสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา+การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยวันนี้

PEA นำทัพภาคีเครือข่ายฟื้นฟูระบบไฟฟ้าให้ผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ

วันที่ 26 กันยายน 2567 นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประธานในพิธีแถลงข่าวโครงการ PEA ฟื้นฟู ห่วงใย ความปลอดภัยของประชาชน โดยมี ภาคีเครือข่ายจาก มูลนิธินายช่างไทยใจอาสา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มูลนิธิสายใยไฟฟ้า มูลนิธิฮอทไลน์และเพื่อนพนักงาน กฟภ. สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และผู้ประกอบการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่... “อาชีวะ” มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน — สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมเสวนาการดำเนินงานโครงการชีววิถีเพ...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. จับมือ สอศ. ดันสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา พลิกโฉมการศึกษาไทย ด้วยกิจกรรม TVET Smart Idea2Innovation — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา ว...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับ สำนักง... กปภ. ผนึกกำลัง สอศ. อบรมช่างประปาฟรี สร้างอาชีพให้ประชาชน — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีเปิดโครงการฝึ...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมลงนามบันทึ... กปภ. MOU สอศ. บูรณาการฝึกอาชีพช่างประปา สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ประชาชน — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการ...