เอไอเอส ผนึก นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเฟ้นหาคลื่นลูกใหม่ในวงการบันเทิง นำร่องทดสอบแอปฯ StarBooster ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ให้ปล่อยของได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
เอไอเอส โดย นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดี ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาโซลูชัน และสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลให้กับวงการบันเทิงไทย เพื่อส่งเสริมให้นิสิตและบุคลากรคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรเอไอเอส ได้มีความเชี่ยวชาญในสายงานทางนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล สามารถร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับเทรนด์ผู้บริโภคและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยมีโครงการนำร่อง คือ ทดลอง ทดสอบ แพลตฟอร์ม StarBooster ในรูปแบบการสนับสนุนศิลปิน ผ่านช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการเฟ้นหาศิลปินคลื่นลูกใหม่ ที่เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ทุกวงการปลดปล่อยพลังความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการแสดงกับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงได้รับโอกาสร่วมงานในฐานะนักแสดงให้กับทาง AIS PLAY’s Original Series อีกด้วย อันจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพของเด็กไทย พร้อมยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยเฉพาะ Local VDO Platform ให้ทัดเทียมนานาประเทศ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการนำเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลยกระดับอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน
เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วย นางสุภาพร บัญชาจารรัตน์ ผู้อำนวยการสายทรัพยากรบุคคล ดร.นิรุธ ศรีพวาทกุล ผู้อำนวยการสายพัฒนาคุณค่าธุรกิจและเพิ่มพูนการเรียนรู้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย ผู้รักษาการรองอธิการบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดนุพล หุ่นโสภณ
วว. ผนึกกำลัง จุฬาฯ ร่วมมือวิชาการสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
—
วันนี้ (15 ม.ค. 2567 ณ ห้องประชุม กวท. อาคาร RD 1 ชั้น 8 วว. เทคโนธานี คลองห้า...
จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ "ไฮยีนา" ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
—
รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจาร...
SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน"
—
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และนักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
—
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาว...