โปรแกรม ITAP เครือข่าย ม.พะเยา ได้ให้ความช่วยเหลือ ในด้านการออกแบบและการจัดทำระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีมาตรฐาน ศึกษาต้นแบบจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะการปฏิบัติงานในพื้นที่ของผู้ประกอบการ และมีความเหมาะสมสำหรับกระบวนการแปรรูปเส้นข้าวโพดอบแห้งที่มีส่วนผสมของพืชผลทางการเกษตรท้องถิ่น เช่น ข้าวหอมมะลิพะเยา ข้าวโพด มันม่วง ขมิ้น เป็นต้น โดยเฉพาะระบบการระบายความชื้นได้ทาการติดตั้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และควบคุมการระบายความชื้น เพื่อให้มีความเหมาะสมกับปริมาณวัตถุดิบที่นามาอบแห้ง โดยมี นายศุภฤกษ์ ขาวแดง ที่ปรึกษาเทคโนโลยี หรือ ITA เป็นตัวกลางที่สำคัญในการประสานงานระหว่าง สวทช. ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับกลไกการให้ความช่วยเหลือจาก สวทช. ผ่านโปรแกรม ITAP
นอกจากนี้ ยังมีบทบาทที่สำคัญในการลดความยุ่งยากและความซับซ้อนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออันดีระว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดาเนินโครงการ” ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP สวทช. ดร.สุรัตน์ เศษโพธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพลังงานทดแทน และนายสุรศักดิ์ ใจหลัก นักวิจัย คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม และ ผู้จัดการเครือข่าย ITAP-UP มหาวิทยาลัยพะเยา รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ พร้อมด้วย ดร.สุรัตน์ เศษโพธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพลังงานทดแทน และนายสุรศักดิ์ ใจหลัก นักวิจัย คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา นำคณะสื่อมวลชน หลากหลายสำนัก เข้าเยี่ยมชม ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนอบแห้ง โดยมี คุณวารัทชญา อรรถอนุกูล ผู้ประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ จังหวัดพะเยา ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม
“การประยุกต์ดัดแปลง พัฒนาเส้นข้าวโพดอบแห้ง ที่ผลิตจากแป้งข้าวโพด ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งอาหารคาวและของหวาน หลังจากได้เข้าร่วมโครงการกับโปรแกรม ITAP ม.พะเยา และทำการติดตั้งระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยให้กิจการสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเส้นข้าวโพดได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเส้นข้าวโพดแบบเดิมที่ต้องตากเส้นไว้กลางแจ้ง หากเป็นวันที่มีฝนตกจาเป็นต้องหยุดการผลิต การตากเส้นข้าวโพดแบบเดิมจะใช้เวลา 1 – 2 วัน แต่เมื่อนำเส้นข้าวโพดไปอบในระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จะใช้เวลาเพียง 3 – 4 ชั่วโมง ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ยังช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีความสะอาด ไม่ปนเปื้อนจากฝุ่นหรือแมลงวัน นอกจากนี้ ยังใช้ประโยชน์ในการแปรรูปวัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าของกิจการได้อีกด้วย เช่น พริก ดอกอัญชัน ดอกงิ้ว ขมิ้น” ผู้ประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไฮ โซ แซ่บ กล่าว
ทั้งนี้ รศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ ได้กล่าวว่า ประเทศไทยนับเป็นประเทศส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรายสำคัญของโลก ทั้งในรูปผลผลิตและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ซึ่งอย่างหลังพบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการรายเล็กในขนาด small และ very small ทั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดพะเยา มีจำนวนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เกษตรและแปรรูปรายเล็กเป็นจำนวนมากเกิดขึ้น ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ต่างประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โจทย์ความต้องการในการแก้ไขปัญหากระบวนการผลิตและแปรรูปที่คล้ายคลึงกันคือ ต้องการนำเทคโนโลยีที่มีฟังก์ชั่นการทำงานไม่ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบรายปีไม่สูง เข้ามาใช้ปรับใช้ในกิจการ ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับธุรกิจท้องถิ่นรายเล็ก โดยผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันสามารถพัฒนาระบบ IoT เพื่อเพิ่มฟังก์ชั่นในการใช้งาน และสามารถควบคุมกระบวนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ถือเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามปณิธานของมหาวิทยาลัยพะเยา “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน (Wisdom for Community Empowerment)” อย่างแท้จริง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit