จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น ศูนย์เต้านม รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ มุ่งหวังให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการแสดง เพื่อเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการรักษา เมื่อตรวจพบก้อนเนื้อ หรือหินปูนที่ต้องสงสัย โดยการใช้เครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยระบบสุญญากาศ (Vacuum Assisted Biopsy)
นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ แพทย์ศัลยกรรมมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ กล่าวว่า มะเร็งเต้านมเกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนม การค้นพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็กและยังไม่แพร่กระจายจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเพิ่มโอกาสการรักษาโรคให้หายขาดได้มากขึ้น
เครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อ Vacuum เหมาะผู้ป่วยที่มีปัญหา เกิดหินปูนต้องสงสัย คือ เป็นลักษณะของกลุ่มหินปูนที่ขึ้นอยู่ในบริเวณเนื้อเต้านม มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยหลักๆ แล้วหินปูนจะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ หินปูนธรรมดากับหินปูนที่ต้องสงสัยว่ามีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ หินปูนธรรมดาเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการให้นมบุตร หรือเกิดจากการอักเสบ จากอุบัติเหตุกระทบกระแทกก็ได้ หรืออาจเกิดจากก้อนเนื้อหรือซีสต์ที่ฝ่อตัวลงแล้วมีแคลเซียมมาเกาะ ซึ่งลักษณะของหินปูนธรรมดา แพทย์อาจนัดคนไข้ให้มาติดตามลักษณะของหินปูนอยู่เป็นระยะๆ ขณะที่หินปูนต้องสงสัยอาจมีสาเหตุเกิดได้จาก เนื้องอก หรือ มะเร็ง ทำให้เกิดมีเนื้อตายแล้วหินปูนมาเกาะ หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ลักษณะนี้แพทย์จะแนะนำให้เจาะเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ผลต่อไป
การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์เป็นการตรวจมาตรฐานเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเต้านม เมื่อตรวจพบก้อนเนื้อหรือหินปูน แพทย์จะเจาะชิ้นเนื้อบริเวณเต้านมเพื่อตรวจวินิจฉัย โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์เป็นตัวกำหนดทิศทางและตำแหน่ง และตรวจสอบว่าก้อนสามารถดูดออกได้หมด สำหรับกลุ่มหินปูนที่น่าสงสัยจะใช้แมมโมแกรมเป็นตัวช่วยบอกทิศทางและตำแหน่ง เมื่อทราบตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว แพทย์จะเปิดแผลเล็กประมาณ 3 - 5 มิลลิเมตร แล้วนำเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยระบบสูญญากาศ (Vacuum Assisted Biopsy) มีลักษณะเป็นเข็มลงไปเจาะเพื่อตัดและดูดชิ้นเนื้อเต้านมหรือหินปูนที่ผิดปกติออกมา ซึ่งเครื่องนี้มีตลับสำหรับเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อพร้อมไส้กรอง (Tissue Filter) ต่อในชุดเดียวกับเข็มเพื่อให้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องคีบตัวอย่างชิ้นเนื้อออกทีละชิ้นต่อการเจาะดูดชิ้นเนื้อ 1 ครั้ง ไปตรวจ โดยลักษณะของเข็มสามารถหมุนรอบได้ 360 องศา โดยเครื่องมือนี้สามารถดูดก้อนหรือชิ้นเนื้อในขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตรได้ทั้งหมด ช่วยให้คนไข้มีแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว
ข้อดีของการใช้เครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อ Vacuum เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านมคือ 1.ช่วยทั้งในเรื่องของการวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติของเต้านม 2.ได้การวินิจฉัยที่ตรงจุดมากขึ้น 3.ก้อนเนื้อหรือหินปูนที่ถูกเจาะดูดออกไป หากผลตรวจออกมาไม่ใช่ก้อนเนื้อร้ายหรือหินปูนที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งเต้านมได้ ก็เท่ากับเป็นการตัดก้อนหรือหินปูนออกไปในครั้งเดียว คนไข้ก็ไม่ต้องมาเจ็บตัวกับการผ่าตัดอีก 4.แผลที่เจาะมีขนาดเล็กเพียง 3-5 มิลลิเมตร เกิดแผลเล็กเพียงแผลเดียว 5.คนไข้ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เป็นการฉีดยาชาเฉพาะที่เท่านั้น 6.คนไข้สามารถกลับบ้านได้หลังทำหัตถการโดยไม่ต้องพักค้างคืนที่โรงพยาบาล และใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
ดังนั้น ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรม หรือในผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัว มีความเสี่ยงควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 35 ปี มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นไม่มีอาการแสดงใดๆ อาจอยู่ในร่างกายได้เป็นระยะเวลานานนับ 10 ปี หากมีอาการของเต้านม เช่น คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ มีการเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีของเหลวหรือเลือดออกจากหัวนม หัวนมผิดตำแหน่ง เช่น ยุบลงไป ควรรีบมาพบแพทย์ และหากตรวจพบความผิดปกติเร็วควรรีบจัดการ เพื่อเป็นการป้องกันโรคมะเร็งร้ายในอนาคต
จากข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น ศูนย์เต้านม รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ มุ่งหวังให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการแสดง เพื่อเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการรักษา เมื่อตรวจพบก้อนเนื้อ หรือหินปูนที่ต้องสงสัย โดยการใช้เครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อโดยระบบสุญญากาศ (Vacuum Assisted Biopsy) นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ
PRINC เปิด "ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา" แห่งแรกของศรีสะเกษ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็ง
—
บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารโรงพ...
ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอดผมจะรอดมั้ยครับ?
—
รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพ...
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส นำเสนอแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งในที่ทำงาน เพื่อให้การสนับสนุนพนักงานอย่างเท่าเทียม
—
ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ประชากรว...
รพ.ไทยนครินทร์ ทุ่มงบกว่า 400 ล้านบาท เดินหน้าเปิด 'ศูนย์มะเร็งมุ่งเป้าเฉพาะบุคคลไทยนครินทร์ : TPOC' ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบไร้รอยต่อ
—
โรงพยาบาลไท...
บราเดอร์ เดินหน้ากิจกรรม Brother Beat Cancer Run 2025 ต่อเนื่องปีที่ 11 ระดมทุนสนับสนุนมูลนิธิรามาธิบดี ผ่านการวิ่งพร้อมสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ
—
บริษัท บราเ...
WMC ลงนาม MOU ขยายสาขา 'ศูนย์รักษามะเร็งก้าวหน้า' ในประเทศพม่า
—
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Moe Tree Hospital เมืองย่างกุ้ง ป...
ภาพข่าว: เดือนรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านม Breast Cancer Awareness Month 2018
—
ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการ รพ.วัฒโนสถ เป็นประธานเปิดงาน เดือ...