มะเร็งปากมดลูก พบได้บ่อยสำหรับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อย่างไรก็ดี ยังมีสตรีชาวไทยเสียชีวิตจากมะเร็งของปากมดลูกเฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 1มะเร็งปากมดลูก คน เชื้อไวรัสที่เรียกว่า HPV (Human Papilloma Virus) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์เสี่ยงสูง จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือมีเพศสัมพันธ์ที่มีคู่หลายคนๆ และอาจมีการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย
ผศ.พญ.ดวงมณี ธนัพประภัศร์ ศัลยแพทย์มะเร็งสูตินรีเวช โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ให้รายละเอียดว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ที่ติดเชื้อ HPV คือ ไม่มีอาการแสดง ดังนั้น จะไม่รู้ตัวและสามารถกระจายเชื้อไวรัสไปสู่คนอื่นๆ ได้ และอาการแสดงของมะเร็งปากมดลูก ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะเริ่มต้นของโรคนี้ จะไม่มีอาการแสดงที่ผิดปกติ แต่ยกเว้นถ้าระยะของโรคมะเร็งเป็นมากพอสมควร อาจมีอาการประจำเดือนผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ (Abnormal vaginal bleeding) การมีระดูขาวที่ผิดปกติมีกลิ่นเหม็น หากกระจายไปยังอวัยวะอื่น อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือดได้ ดังที่กล่าวมาแล้วว่าระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งที่เพิ่งเริ่มเป็นอาจจะไม่มีอาการและการรักษาทำได้ มีโอกาสที่จะหายขาดได้
วิธีที่จะทราบได้คือ การมารับการตรวจภายใน เพื่อเอาเซลล์จากปากมดลูกมาตรวจที่เรียกกันว่า ตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) และถ้าตรวจร่วมกับการหาเชื้อไวรัส HPV(HPV DNA Test) จะทำให้ได้รับความชัดเจนเพิ่มขึ้น หากผลผิดปกติต้องตรวจด้วยการส่องกล้องขยายดูปากมดลูก (Colposcopic examination) เพื่อค้นหาบริเวณที่ผิดปกติ และจะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติ วางแผนการตรวจเพื่อบอกระยะของโรคและวางแผนการรักษาได้ถูกต้อง สำหรับการรักษาระยะเริ่มต้นอาจจะรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Therapeutic conization) การตัดมดลูกพร้อมๆ กับเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองออก (Radical hysterectomy with pelvic lymphadenectomy) ผู้ป่วยบางรายต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยรังสีรักษา การฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสี (Teletherapy) และการใส่แร่ (Brachy-therapy) บางรายพิจารณารักษาร่วมกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Concurrent Chemo-Radiation treatment) การรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างเดียวใช้ในกรณีที่มะเร็งกระจายไปมากพอควร ซึ่งไม่สามารถให้รังสีรักษาหรือทำการผ่าตัดได้
มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้หากสตรีทุกท่านใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี และสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ก็สามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้อย่างน้อย 70 % และถ้าร่วมกับการตรวจ Pap Smear และค้นหา High Risk HPV DNA เป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ จะสามารถป้องกันมะเร็งของปากมดลูกได้
มะเร็งปากมดลูก พบได้บ่อยสำหรับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อย่างไรก็ดี ยังมีสตรีชาวไทยเสียชีวิตจากมะเร็งของปากมดลูกเฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 10 คน เชื้อไวรัสที่เรียกว่า HPV (Human Papilloma Virus) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์เสี่ยงสูง จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือมีเพศสัมพันธ์ที่มีคู่หลายคนๆ และอาจมีการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย ผศ.พญ.ดวงมณี ธนัพประภัศร์ ศัลยแพทย์มะเร็งสูตินรีเวช โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ให้รายละเอียดว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ที่ติดเชื้อ
BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม
—
BDMS Wellness Clinic ผนึกโ...
BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ...
BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
—
แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพ...
BeDee ร่วมกับ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ เปิดตัวตู้ We Care Your Selfcare จากแนวคิด Health & Convenient
—
BeDee แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่ช่วยให้คุณ...
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ MOU สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมพัฒนางานวิจัยและยกระดับพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
—
โรงพยาบาลมะเร็งก...
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์ ราคา 3,500 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2565
—
เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ป้องก...
Be Well Medical Center จับมือ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ขยายความร่วมมือทางการแพทย์ ช่วยตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในกลุ่ม Expat
—
Be Well Med...
ตรวจสุขภาพปอด ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ (Low - dose Chest CT Scan) ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2565
—
เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก อย่ารอให...